สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จี้ รัฐจัดระเบียบ-ปฏิรูปกฎหมาย ดัน โลจิสติกส์ไทย สู่แถวหน้าอาเซียน (จบ)

จากประชาชาติธุรกิจ



หมาย เหตุ : ผลศึกษาศักยภาพการ แข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์และขนส่งทางบกไทยของผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของ ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ฉบับนี้ต่อเนื่องจากฉบับที่ผ่านมา ซึ่งจะเป็นการเปรียบเทียบระหว่างไทย-มาเลเซีย-เวียดนาม ดังต่อไปนี้

ส่วน ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานนั้น ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันไทยมีความได้เปรียบค่อนข้างมาก จากประสิทธิภาพของถนน ระบบการขนถ่ายสินค้า และกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางบกอื่น ๆ เวียดนามยังมีข้อจำกัดในการขนส่งสินค้าทางบกโดยตรงระหว่างกัน เนื่องจากถนนในประเทศส่วนใหญ่ค่อนข้างแคบและยังไม่สามารถเชื่อมต่อไปยัง พื้นที่ต่าง ๆ ได้ทั่วถึง ทำให้ต้องมีการขนส่งทางเรือแทน แต่หากพิจารณาภูมิประเทศของเวียดนามแล้ว การมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวจากเหนือจดใต้ ทำให้มีระบบการขนส่งทางน้ำในประเทศที่มีประสิทธิภาพ และมีศักยภาพในการพัฒนาและสร้างท่าเรือ น้ำลึกเพื่อรองรับการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศได้ อีกทั้งเวียดนามยังสามารถเชื่อมต่อเส้นทางถนนไปยังลาว และจีนได้ง่าย

ขณะ นี้รัฐบาลเวียดนามมีนโยบายในการลงทุนพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ระบบขนส่งของเวียดนามสามารถเชื่อมต่อไปยังภาคต่าง ๆ ในประเทศ เชื่อมต่อไปยังลาวและจีน และเชื่อมต่อไปยังท่าเรือหรือสนามบินได้สะดวกขึ้น

ทางด้านเทคโนโลยี การขนส่งสินค้าทางบกของไทยกับเวียดนามนั้นใกล้เคียงกัน แต่จะมีความแตกต่างกันที่บุคลากรไทยสามารถใช้งานเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ดีกว่า

สำหรับ ประเด็นการแข่งขันและกลยุทธ์ของธุรกิจ ทางด้านประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งสินค้าทางบกของไทยกับเวียดนามมีความ ใกล้เคียงกัน เนื่องจากธุรกิจขนส่งในเวียดนามส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติ ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีและระบบการจัดการที่ทันสมัย

ทางด้านลักษณะและ บรรยากาศของการแข่งขันทางธุรกิจขนส่งทางบกของเวียดนามนั้น จะมีความสัมพันธ์กับการลงทุนอุตสาหกรรม นั่นคือ เมื่อต่างชาติเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในเวียดนาม ก็มักจะมีการนำธุรกิจด้านการขนส่งตามเข้าไปด้วย หรือใช้บริการบริษัทขนส่งที่น่าเชื่อถือจากต่างประเทศ ส่งผลให้บริษัทของเวียดนามต้องมีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงลูกค้า รวมทั้งการหาหุ้นส่วนทางธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

ส่วน ทัศนคติและรสนิยมของผู้รับบริการ หากเปรียบเทียบธุรกิจขนส่งสินค้าของไทยกับเวียดนามที่เชื่อมต่อไปยังจีน ลาว พบว่า ไทยเสียเปรียบเวียดนามในด้านของความสัมพันธ์ เนื่องจากเวียดนามมีความสัมพันธ์กับทั้ง 2 ประเทศดีกว่า จึงส่งผลให้การเชื่อมโยงและการอำนวยความสะดวกการขนส่งจากเวียดนามไปลาวและ จีนมีความสะดวกมากกว่าไทย

ทางด้านการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการไทยยังมีการรวมกลุ่มไม่ เข้มแข็ง เนื่องจากมีผู้ประกอบการรายเล็กมาก แม้จะมีความต้องการในการพัฒนาทางเดียวกัน แต่ในการปฏิบัติมีความขัดแย้งกันเอง เช่น ตัดราคาการให้บริการ เป็นต้น

ทาง ด้านนโยบาย กฎหมาย เวียดนาม มีการเมืองที่มั่นคง และมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ มีกฎหมายการลงทุน 2 ฉบับ ที่ประกาศใช้เมื่อปี 2548 ค่อนข้างชัดเจนและเอื้อประโยชน์แก่นักลงทุน เช่น การไม่ยึดทรัพย์หรือโอนกิจการมาเป็นของรัฐ ห้ามมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อนักลงทุน เช่น กฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลัง เป็นต้น

โดยสรุป ผู้ประกอบการไทยยังไม่มีความมั่นใจในยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ รวมถึงนโยบายต่าง ๆ ของรัฐ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยตามการเปลี่ยนรัฐบาล ด้านผลกระทบการเปิดเสรีธุรกิจโลจิสติกส์ของไทย คาดว่าการเข้ามาลงทุนของ ต่างชาติจะเพิ่มขึ้นไม่มาก เพราะก่อนหน้านี้ ต่างชาติได้เข้ามาลงทุนอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่เปิดเผย อย่างไรก็ตาม บริษัทคนไทยที่มีขนาดเล็กอาจต้องเลิกกิจการเพิ่มขึ้นประมาณ 20-30% ส่วนแนวโน้มการออกไปลงทุนต่างประเทศของผู้ประกอบการไทยในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า คาดว่ายังมีไม่มาก คิดเป็นประมาณ 10% ส่วนใหญ่สนใจไปลงทุนในพม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนามเพิ่มขึ้น เพราะมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อถึงกัน

สำหรับ รูปแบบการเข้าไปลงทุน ผู้ประกอบการคนไทยมีความเห็นว่าควรเป็นการลงทุนในลักษณะของพันธมิตรหรือร่วม ทุนระหว่างกัน เพื่อใช้ประโยชน์จากความแตกต่างของสิทธิประโยชน์ที่แต่ละประเทศมีให้กัน

view