สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วุฒิ กร สุริยะฉันทนานนท์ Integrated CSR Across Value Chain

จากประชาชาติธุรกิจ



จาก ปรัชญาของผู้ก่อตั้งโตโยต้า "ซากิชิ โตโยดะ" เมื่อ 72 ปีก่อน ซึ่งระบุไว้ว่า ไม่ว่าโตโยต้าจะไปทำธุรกิจในที่ใดในโลก ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ชุมชนเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน และปรัชญาดังกล่าวจึงทำให้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ดำเนินธุรกิจตามแนวนโยบายนี้มาตลอด 48 ปีที่ผ่านมา

ตลอดระยะเวลา ที่ผ่านมา โตโยต้าได้ดำเนินกิจกรรมซีเอสอาร์เพื่อส่งเสริมสังคมไทยมาโดยตลอด เริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิต บริษัทได้ใช้แนวทางในการจัดซื้อวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตแบบ "Green Purchasing" โดยส่งเสริม ให้บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน เข้ามาให้ความสำคัญกับการดูแลเอาใจใส่สิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยมลพิษ ร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม และดูแลเอาใจใส่พนักงาน

เมื่อเข้าสู่ขั้น ตอนการผลิตแบบโตโยต้า ภายใต้หลักการ TPS หรือ "Toyota Production System" ซึ่งเอาใจใส่ในเรื่องคุณภาพอย่างเข้มข้น ในทุกขั้นตอนการผลิต ใช้การควบคุมคุณภาพแบบ "Quality Built-in" รวมถึงกระบวนการผลิตที่ช่วยประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดของเสีย และไม่ปล่อยมลพิษ ตลอดจนบริหารงานและขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการดูแลเอาใจใส่คุณภาพชีวิตของพนักงาน มอบสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน เพื่อให้พนักงานรู้สึกมีความสุข สนุกกับงานที่ทำ และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพ

กระทั่งสิ้น สุดกระบวนการผลิต เข้าสู่ ขั้นตอนการตลาด การขายและการบริการหลังการขายซึ่งคำนึงถึงความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าเป็น สำคัญ ทั้งหมดนี้คือซีเอสอาร์ในแบบฉบับที่โตโยต้าดำเนินการอยู่

ก่อน จะก้าวเข้าสู่วาระครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งธุรกิจโตโยต้าในประเทศไทยในปี 2555 "วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส สายงานการบริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด วางหมากเดินเกมสร้างองค์กรรู้จักรับผิดชอบกับทุกกระบวนการผลิต ทุกขั้นตอนการบริหารกิจการและการรักษาสมดุลในผลประโยชน์ที่ทุกภาคส่วนจะได้ รับด้วยความระมัดระวังและใส่ใจในทุกรายละเอียด

Global Vision 2020

ในภาพใหญ่ระดับโลก โตโยต้าได้ประกาศ Global Vision 2020 โดยมี เป้าหมายเป็นผู้ผลักดันให้วัฏจักรสิ่งแวดล้อมและวัฏจักรอุตสาหกรรมอยู่ร่วม กันได้อย่างกลมกลืน ขณะที่การทำซีเอสอาร์ของโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยกำลังขึ้นสู่ความเข้มข้นในอีกระดับหนึ่ง โดยวุฒิกร เล่าว่า ต่อจากนี้เราจะทำให้พนักงานและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับได้เข้าใจร่วมกันว่า หน้าที่ บทบาทของแต่ละคนในการทำซีเอสอาร์นั้นเป็นอย่างไร



"ต่อ จากนี้ เราจะมีการบูรณาการ ซีเอสอาร์ในองค์กรของเรา โดยจะบูรณาการใน 2 มิติ คือในกระบวนธุรกิจของเรา ตั้งแต่การสรรหาวัตถุดิบ การจัดซื้อเข้ามาสู่การผลิต การส่งมอบสินค้า การตลาด การดูแลลูกค้า อันนี้จะทำเป็น ซีเอสอาร์ที่อยู่ในกระบวนการทั้งหมด ส่วนอีกมิติคือการขยายไปสู่หุ้นส่วนทางธุรกิจทั้งหมด ซึ่งได้แก่ ดีลเลอร์ ซัพพลายเออร์ ทั้งหมดนี้เป็นการทำเพื่อให้ทุกคนเข้าใจร่วมกันก่อนว่า ซีเอสอาร์ไม่ใช่งานดูแลชุมชน ไปบริจาคหรือการไปปลูกต้นไม้เท่านั้น"

โดย ขณะนี้ โตโยต้าได้เริ่มต้นทำเวิร์กช็อปกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัท เพื่อปรับจูนทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า ถ้าจะทำซีเอสอาร์ในองค์กรจะต้องทำอะไร และครอบคลุมอะไรบ้าง จากผู้บริหารระดับสูง ก็ไล่ลงมาที่ระดับกลาง ในกลุ่มผู้อำนวยการฝ่าย ที่ถือว่าเป็นผู้บริหารหลักที่กำกับดูแลในฝ่ายงานที่ทำอยู่ทั้งหมด แล้วสิ่งเหล่านี้ต้องนำไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายซีเอสอาร์ของฝ่าย ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและเขียนหัวข้อของแต่ละฝ่ายงานอยู่

สร้าง ความเข้าใจจากบนสู่ล่าง

นอกจากการสร้างความเข้าใจต่อการทำซีเอส อาร์ร่วมกันในระดับผู้บริหารและผู้อำนวยการฝ่ายแล้ว ขั้นต่อไปคือการสร้างซีเอสอาร์ข้ามสายงานเครือข่ายโตโยต้า ซึ่งได้แก่ ดีลเลอร์ และซัพพลายเออร์ของ บริษัท โดยวุฒิกรตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายใน 3 ปีข้างหน้า จะต้องเกิดสิ่งที่เขาเรียกว่า integrated CSR across value chain หรือการบูรณาการซีเอสอาร์ในเครือข่าย โตโยต้า ซึ่งเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา เขาได้เริ่มเดินสายออกไปพูดคุยกับผู้ผลิต ชิ้นส่วนกว่า 180 แห่ง และผู้แทนจำหน่ายของโตโยต้าเพื่อให้เข้าใจในเรื่องเหล่านี้

"เมื่อ ต้นปี 2553 เราเพิ่งประกาศโรดแมปนี้ไป โดยผมไปอธิบายผู้แทนจำหน่ายให้เข้าใจด้วยว่า เราจะทำอะไรกัน โดยปีนี้บริษัทแม่จะเริ่มบูรณาการให้เป็นต้นแบบก่อนแล้วปีหน้า เป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องเดินเองต่อไปได้ และต้องรับรู้แล้วว่า มันจะเกิดอะไรขึ้น โดยเราก็มีประชุมประจำปีให้เขาเข้าใจ ทั้งซัพพลายเออร์และดีลเลอร์"

เพื่อให้ในอีก 2 ปีข้างหน้าจะเกิดเป็นการบูรณาการซีเอสอาร์ across value chain และเพื่อให้มั่นใจว่า ในกระบวนการผลิต ในทุกหน่วยงานของบริษัทได้ดำเนินการซีเอสอาร์แล้ว ส่วนการประเมินนั้น ก็จะมีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ ในทุกขั้นตอน

4 ด้านงานซีเอสอาร์นอกการผลิต

จากการปรับจูนสร้างความเข้าใจและการ ทำซีเอสอาร์ในกระบวนการผลิตแล้ว กิจกรรมส่งเสริมสังคมของโตโยต้าตลอดเวลาที่เปิดกิจการในประเทศไทยยังมีครอบ คลุมใน 4 ด้านได้แก่ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยทางการจราจร การถ่ายทอดเทคโนโลยีการศึกษา และการพัฒนาชุมชนสังคม โดยทั้ง 4 ด้านมีกิจกรรมที่แตกต่างกันไป อาทิ ด้านสิ่งแวดล้อมมีการปลูกป่า มีโครงการลดโลกร้อนด้วยมือเรา มีการจัดตั้งโรงงานประกอบรถยนต์บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโรงงานต้นแบบ 1 ใน 5 ของโลกที่เป็นโรงงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ด้านความปลอดภัยทางการ จราจร มีโครงการถนนสีขาว มีการจัดตั้งเมืองจราจรจำลองให้แก่เด็ก ตั้งโรงเรียนพัฒนาทักษะ ผู้ขับขี่กับกรมขนส่งทางบก ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการศึกษา มีกิจกรรมร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กับมหาวิทยาลัย ด้านชุมชน มีกิจกรรมทั้งกับชุมชนใกล้โรงงานและชุมชนอื่น ๆ ที่อยู่ ห่างไกล นอกจากนี้ยังมีมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย ซึ่งเน้นใน 2 ด้านหลัก คือ การถ่ายทอดทางการศึกษาและการพัฒนาชุมชน โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ห่างไกล

โดยกิจกรรมส่งเสริมสังคมทั้ง 4 ด้านนี้อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานกลางที่เรียกว่า สำนักงานส่งเสริมกิจการสังคม มีเพียงด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้นที่แยกไปให้กับหน่วยงานด้านสายการผลิตดูแล แต่อย่างไรก็ตามการทำงานยังเป็นการทำร่วมกันทั้งหมด

สร้างความ ยั่งยืนในธุรกิจจากซีเอสอาร์

ในทรรศนะของผู้บริหารที่ต้องดูแล พนักงานหมื่นกว่าคนและมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในธุรกิจหลายฝ่าย การใช้หลักคิดของ ซีเอสอาร์เข้ามาในการดำเนินธุรกิจทำให้เขาสรุปความสำคัญของหลักการซีเอสอา ร์ได้ว่า หลักการซีเอสอาร์ที่เขียนกันขึ้นมาในระดับสากลนั้นครอบคลุมทุกด้านแล้ว หากพิจารณาในรายละเอียดทั้งหมด ในแต่ละหัวข้อซึ่งมีทั้งหมด 7 ด้านนั้น ทำให้เห็นว่าทำไปแล้วมีผลดีต่อใครอย่างไร และถ้าไม่ทำมีผลเสียอย่างไร

"สิ่ง สำคัญคือ เรื่องนี้น่าจะเป็นสิ่งที่คนในแวดวงธุรกิจทั้งหมดต้องมองในภาพที่เหมือนกัน ไม่ใช่มีเพียงแต่บริษัท A กับ B เห็นความสำคัญเท่านั้น แต่ คนอื่น ๆ กลับไม่เห็นความสำคัญ

แล้วยังมีการเอารัดเอาเปรียบกันอยู่ มันก็คงไม่เกิดประโยชน์"

ทำ พี.อาร์.กระตุ้นซีเอสอาร์

สำหรับ การสื่อสารซีเอสอาร์ของโตโยต้า นั้น วุฒิกรเล่าว่า ที่ผ่านมาโตโยต้าใช้สโลแกนว่า "โตโยต้าภูมิใจที่ได้เติบโตคู่กับสังคมไทย" เพื่อสะท้อนกิจกรรมที่บริษัททำมาตลอด แต่วันนี้โตโยต้ากำลังทบทวนบทบาทของตัวเองอีกครั้ง และพบว่าการทำเรื่องนี้นอกจากเพื่อภาพลักษณ์องค์กรแล้ว มันน่าจะได้เกิดผลดีอย่างยั่งยืน ด้วยการไปกระตุ้นเตือนหรือสร้างแรงบันดาลใจให้คนในแวดวงธุรกิจหรือผู้บริโภค ในสังคม ได้เห็นว่าการทำซีเอสอาร์มันเป็นประโยชน์ของการอยู่ร่วมกันมากกว่า

อีก ทั้งในวาระครบรอบ 50 ปีของ โตโยต้า โตโยต้าจึงเปลี่ยนสโลแกนเป็น "อนาคตสังคมไทย ความภูมิใจของเรา" เพื่อสะท้อนถึงกิจกรรมเพื่อสังคมที่โตโยต้าจะทำต่อไป ร่วมถึงนโยบายในการสื่อสารทั้งภายในองค์กรและเครือข่ายของบริษัท ร่วมถึงการสื่อสารต่อสาธารณชน ซึ่งอาจจะมีการทำโฆษณามากขึ้น และขณะนี้ก็มี รายการโทรทัศน์ที่สื่อถึงการส่งเสริมสังคมชุมชน ชื่อรายการ "คนไทยหัวกะทิ" เป็นรายการถาม-ตอบ เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นและสอดแทรกสิ่งที่โตโยต้าทำเพื่อสังคม ออกอากาศทางช่อง 9 ทุกวันเสาร์ เวลา 16.00 น.

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ วุฒิกรคาดหวังตามที่เขาระบุว่า "สิ่งที่เราต้องการเห็นคือการสร้างจิตสำนึก กระตุ้นให้ทุกคนเห็นความสำคัญของซีเอสอาร์ เราพยายามจะใช้เงินในการทำประชาสัมพันธ์นอกเหนือจากการทำแล้วได้ภาพลักษณ์ ที่ดีกับองค์กรแล้ว ในมุมกลับกัน เราไม่ได้ทำซีเอสอาร์เพื่อ พี.อาร์. แต่เราจะขอทำ พี.อาร์.เพื่อเป็น ซีเอสอาร์ไปในตัวด้วย"

view