สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปลูกปะการัง บวชป่าชายเลน เพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

การบวชป่าชายเลนแห่ง เดียวในเมืองไทย
       แม้คนกลุ่มหนึ่งจะทำให้โลกร้อนขึ้นทุกวัน แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่งพยายามที่จะหาแนวทางลดภาวะโลกร้อนให้ได้มากที่สุด ดังความพยายามล่าสุดของ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน หรือ อพท.ที่พากลุ่มยุวชนไปท่องเที่ยวพร้อมทำ 2 กิจกรรมช่วยลดโลกร้อนกันที่ จ.ตราด
       
       สำหรับกิจกรรมแรก คือ การปลูกป่าชายเลนและการบวชป่าชายเลนที่ โรงเรียนคลองใหญ่วิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการรับน้องไม่เหมือนใคร คือเมื่อมีนักเรียนใหม่เข้ามาในระดับ ม.1 และ ม.4 ทางรุ่นพี่จะรับน้องด้วยการพาไปปลูกป่าชายเลน เก็บขยะในพื้นที่ป่าชายเลน และการบวชป่าชายเลนที่เป็นที่แรกและที่เดียวในเมืองไทย
       
       ทั้งนี้การปลูกป่าชายเลนเป็นการช่วยป้องกันรักษาชายฝั่งไม่ให้ถูกกัด เซาะ โดยต้นไม้ป่าชายเลนที่ปลูกลงไปจะใช้เวลาประมาณ 10 ปี จึงจะเติบใหญ่ได้ที่ หลังจากนั้นทางโรงเรียนก็จะจัดกิจกรรมบวชป่าชายเลนกับต้นไม้ใหญ่ที่มีอายุ ถึงเกณฑ์เหล่านี้ ด้วยการนำผ้าสีเหลืองแบบเดียวกับจีวรพระมาผูกไว้ที่โคนต้นไม้(คล้ายๆกับวิธี การบวชป่า(บก)ทั่วไป) เพื่อป้องกันชาวบ้านตัดโค่นทำลายเพราะเชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์

เด็กๆร่วมแรงร่วมใจ กันปลูกปะการัง
       ส่วนกิจกรรมต่อมาเป็นการปลูกปะการังในท่อพีวีซีที่ เกาะหวาย ทะเลหมู่เกาะช้าง บริเวณอ่าวหน้าเกาะหวาย ปะการัง รีสอร์ท ที่มีสภาพน้ำใส สะอาด อุณหภูมิเหมาะสม คลื่นลมไม่แรง เหมาะสำหรับเป็นพื้นที่เพาะพันธ์ปะการัง โดยปะการังที่นำมาปลูกคือปะการังเขากวาง ที่หลังปลูกจะเติบโตโตประมาณ 5-10 ซม.ต่อปี
       
       สำหรับวิธีการปลูกสามารถทำได้ง่ายๆ เริ่มจากการนำปะการังขึ้นมาจากแปลงอนุบาล แล้วตัดหรือหักกิ่งปะการัง(กิ่งเล็กๆ)ที่จะใช้ขยายพันธุ์ ทำรหัสประจำปะการัง(เพื่อใช้ในการสืบค้นในอนาคต) จากนั้นปักกิ่งปะการังในท่อพีวีซีแล้วยึดด้วยน้อต ก่อนนำไปยึดในแปลงพีวีซี แล้วจึงให้นักดำน้ำนำไปจัดเรียง ปลูกใต้ท้องทะเลต่อไป
       
       บุญทวี แก้วล่ามสัก หัวหน้าศูนย์การเรียนรู้เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กล่าวว่า “แนวปะการังที่ประกอบไปด้วยโครงสร้างหินปูน มีแคลเซียม ยิ่งเราปลูกมากเท่าไหร่ยิ่งช่วยลดภาวะโลกร้อนได้ อันนี้คือข้อสันนิษฐานเชิงวิชาการ แต่ด้วยที่ภาวะโลกร้อนขึ้น จึงทำให้ปะการังของเราบางส่วยตาย บางครั้งความเสียหายก็เกิดภัยธรรมชาติ จากนักดำน้ำ นักท่องเที่ยว และ ผู้ประกอบการที่มักง่ายไม่รักษาสิ่งแวดล้อม”
       
       ด้าน น้องนาย วรวิทย์ วรนันทวงศ์ ยุวชน อพท. ที่เข้าร่วมโครงการนี้ เล่าความรู้สึกว่า สิ่งที่ได้จากโครงการนี้คือการรู้จักวิธีแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบในการทำงาน รวมถึงการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และรู้ว่าสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์อันดับแรกสุดก็คือ “โลกของเรา” ถ้าโลกร้อนเราก็เดือดร้อนไปด้วย ดังนั้นจึงอยากให้ทุกคนตระหนักถึงสภาวะโลกร้อนและช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติให้ยั่งยืนสืบต่อไป

view