สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ความ สุขของ ธาริษา วัฒนเกส ความเรียบง่ายไร้กาลเวลา...

จากประชาชาติธุรกิจ



ด้วย บุคลิกที่ตรงไปตรงมา ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับความไม่ถูกต้อง จึงดูเป็น "หญิงเหล็ก" แห่ง วังบางขุนพรหม และบางครั้งก็ถูกมองว่าเป็นผู้ที่มี "ดีเอ็นเอแบงก์ชาติ" อยู่ในสายเลือด ทำให้ติดอยู่ในกรอบของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติ ในฐานะผู้กำกับดูแลมากเกินไป จึงมีการวิพากษ์จากภาคเอกชนต่อมาตรการว่า บางครั้งจึงไม่สอดรับกับสถานการณ์

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าใครจะมองหรือวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร เชื่อว่า "คนทำงาน" ย่อมมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องปกติ แต่ "คนไม่ทำงาน" ต่างหาก ย่อมไม่มีเสียง วิพากษ์วิจารณ์

"ธาริษา วัฒนเกส" ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ คนนี้ เป็นลูกหม้อ เป็นคนเก่าคนแก่ที่อยู่แบงก์ชาติมานานกว่า 35 ปี ตั้งแต่ปี 2518 เป็นผู้หญิงแกร่งที่ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และปีนี้เธอจะเกษียณอายุ 60 ปีในเดือนกันยายน 2553 ซึ่งเป็นผู้ว่าฯคนสุดท้ายที่เกษียณตามกฎหมายเก่า เพราะกฎหมายใหม่ผู้ว่าการแบงก์ชาติมีวาระ 5 ปี

ด้วยภาระหน้าที่ทำให้ ต้องสวมบทบาทที่เข้มแข็ง แต่ "ธาริษา" บอกว่า ในชีวิตจริงเป็นคนที่มี "ความสุขง่าย ๆ" เธอหวังว่าหลังเกษียณอายุจะมีเวลาได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ไม่ว่าจะเป็นเวลาการออกกำลัง วาดสีน้ำมากขึ้น

"แต่ก็ยังนึกไม่ ออกว่าจะทำอะไร วันที่ 1 ตุลาคมจะนอนตื่นสายหรือจะทำอะไร ยังไม่ได้คิด ปกติเป็นคนที่มีความสุขได้ง่าย เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ วาดสีน้ำก็มีความสุขแล้ว"

เมื่อถามว่าไม่ต้องการความมั่งคั่งทางด้าน อื่น ๆ "ธาริษา" กล่าวว่า คงไม่แล้ว เพียงแต่ว่าจะทำตัวให้เป็นประโยชน์ได้บ้าง เช่นสอนหนังสือ เพราะไม่ได้คิดว่าจะเกษียณร้อยเปอร์เซ็นต์คือไม่ทำอะไร เพราะนั่นไม่ใช่ตัวตนของตัวเอง ส่วนจะทำอะไรยังนึกไม่ออก แต่ถ้าทำตัวให้เป็นประโยชน์ได้ก็จะทำ แต่ไม่ได้ดิ้นรนหาความสุข เพราะเป็นคนที่มีความสุขง่าย ๆ การทำสวนก็มีความสุข อ่านหนังสือก็มีความสุขดี

"ธาริษา" บอกว่า ความสุขมันมาจากข้างในตัวเอง ถ้าต้องไปวิ่งไล่ล่าความสุขเนี่ย...โดยส่วนตัวไม่คิดว่าจะหาได้ หรือหาได้ก็ประเดี๋ยวประด๋าว เช่น ความสุขจากการไปช็อปปิ้ง ซื้อ เครื่องเพชรสวย ๆ ซื้อของเยอะ ๆ หรือไปเที่ยวหรู ๆ มันก็ได้ความสุขในช่วงนั้น พอสักระยะหนึ่งความสุขก็หายไป ก็ต้องวิ่งหาความสุขอีก จริง ๆ แล้วความสุขมาจากไหน มาจากตัวเราเอง หากเรามีความสุขกับสิ่งที่เรามี อาทิ มีความสุขจากดู ดอกไม้ ดูต้นไม้ อ่านหนังสือ สิ่งเหล่านี้มันอยู่ที่ข้างใน ไม่ต้องไปวิ่งหาความสุขที่อื่นให้เหนื่อย

ถามว่า "ความสุข" มาจากไหนเธอบอกว่า มันเป็นเรื่อง มุมมอง "ธาริษา" กล่าวว่า อาจจะเป็นเพราะตัวเองโชคดีมีสิ่งแวดล้อมที่ไม่ต้องกระเสือกกระสน หรือรู้สึกว่ามีความทุกข์ หรือคนที่สิ่งแวดล้อมที่ไม่อำนวยตอนเด็ก แต่ "ความสุข" เป็นสิ่งสามารถสร้างได้ หากเราค่อย ๆ จูงใจ จูงแนวคิดของเราว่านี่คือ "ความสุข" เราพอใจแล้ว เรามีอย่างนี้ เรามีหนังสือเป็นเพื่อน ไปเดินเล่นชมไม้ชมสวน

การมีความสุขกับ ชีวิตประจำวัน กับสิ่งรอบข้างรอบเรามันเป็นสิ่งที่ฝึกได้ สมมติว่าวัน ๆ บอกกับตัวเองว่าไม่มีความสุขเลย ต้องไปหาเงิน ไปหาตำแหน่งสูงกว่านี้ มันคงเลยเถิดไปเรื่อย ๆ การฝึกฝนนี้คือฝึกจิต ฝึกมุมมอง ฝึกแนวคิดของตัวเราเอง ทั้งหมดคือให้มองโลกในแง่ดี มองบวกไว้ก่อน

"สิ่ง ที่สำคัญที่สุดสำหรับคนเราคืออยู่อย่างมีความสุข ทำอะไรก็มีแรงที่จะทำ ถ้าสมมติว่าทำงานแล้วมีความรู้สึกว่างานนี้น่าเบื่อ งานนี้ยาก งานนี้ไม่ได้เรื่องเลย ถามว่าทำแล้วมีความสุขไหม...ไม่มี แต่ถ้ารู้สึกว่างานนี้ท้าทายดี อาจจะยากหน่อย ทำไปแล้ว ถ้าได้เอาออกมาใช้ น่าจะเป็นประโยชน์ หากเรามองในแง่ดีก็จะไปได้เรื่อย ๆ ไม่ได้รู้สึกว่าชีวิตมีความลำบากลำบน นี่คือความสุขที่ไม่ได้พูดในเรื่องข้าวของเงินทอง อำนาจวาสนาอะไรทั้งสิ้น...มันอยู่ที่ใจ"

เมื่อถามว่าเริ่มฝึกฝน ตั้งแต่เมื่อไหร่ เธอบอกว่า...ตั้งแต่เด็ก ๆ ที่บ้านมีปัญหาทางการเงิน แต่ตัวเองไม่ได้เดือดร้อนอะไร เพราะเป็นคนเล็กสุดมีพี่ ๆ ช่วยดูแล และยุคหนึ่งแม่ต้องไปยืมเงินมาส่งเสียให้เรียน แต่ไม่ได้รู้สึกว่าลำบาก ด้วยความเป็นลูกคนเล็กไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องปัญหาการเงินของครอบครัว และชีวิตไม่ได้มี ข้าวของที่จะอำนวยความสุขอะไรมากมาย แต่มีหนังสือเป็นเพื่อน หนังสือที่อ่านมีทุกประเภท ทั้งการ์ตูน กำลังภายใน วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ระบบจักรวาล หลุมดำ นิยาย อาทิ บ้านทรายทอง

สมัย ก่อนแม้เงินทองไม่ค่อยมี แต่พี่ ๆ เขาซื้อหนังสือ ไม่ได้มีความรู้สึกว่าขาดเครื่องไม้เครื่องมือที่ทำให้ตัวเองไม่มีความสุข นี่คือสิ่งแวดล้อมในตอนนั้น และตัวเองก็เป็นคนเรียนดีตั้งแต่ เด็ก เลยไม่ได้วอกแวก...(หัวเราะ) ไม่มีเรื่องอะไรที่ทำให้ทุกข์ร้อน ไม่มีเงินขึ้นรถเมล์ ก็เดินไปโรงเรียน เพราะอยู่ไม่ไกลจากบ้าน ก็แฮปปี้ดี

พร้อมย้ำว่า...ความสุขมันอยู่ที่ใจ

เพราะการที่ จะ "พอ" ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ละคนจะมี "ความพอ" ไม่เท่ากัน แต่สำหรับ "ธาริษา" เธอบอกว่าคงเป็นการฝึกมั้ง... อย่างการเลี้ยงลูกตอนเด็ก ๆ เธอไม่พาลูกไปศูนย์การค้า แต่พาไปปิกนิกที่สวนลุมพินี หรือหิ้วปิ่นโตไปปิกนิกที่บางปะอิน

"ถามว่าเด็กชอบไหม ชอบ เราก็ชอบ เพราะการไปศูนย์การค้า คนก็เยอะแยะ หลายคนไปหลบร้อน หรือไปซื้อของด้วย แต่เราไม่รู้จะซื้ออะไร การไปเดินก็ไม่ได้เพลิดเพลิน แต่การเอาเสื่อไปกาง หิ้วปิ่นโตไป เอาตะกร้าไปกินข้าวที่สวนลุม ก็มีความสุข กินข้าวไป คุยไป คิดว่าการสร้างสิ่งแวดล้อมกับเด็กมันสำคัญ เป็นสิ่งที่เราสามารถสร้างให้เด็กชอบได้ หากพาไปศูนย์การค้า เด็กก็อาจจะชอบแบบนั้น หากเด็กโตแล้ว ถ้าพาไปสวนลุมเขาจะไปไหม อาจจะไม่ เพราะอากาศร้อน นี่เป็นการสร้างความคุ้นเคยให้เด็กเห็นในคุณค่าของโอกาสที่อยู่ร่วมกับพ่อ แม่ แทนที่จะทานที่บ้านก็ไปทานที่สวน เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองสามารถทำได้ ทำตัวเป็นแบบอย่าง"

พร้อมกับยก ตัวอย่างว่าเคยเห็นผู้ปกครองบางคนบ่นว่าเวลาไปต่างประเทศ ลูกฝากซื้อของแบรนด์เนม จากที่ดูเพื่อนที่เป็นคุณแม่ก็ไม่แปลกใจ เพราะคุณแม่มีแต่แบรนด์เนมทั้งตัว คำตอบมันก็อยู่ตรงนั้น ถ้าผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างอย่างไร เด็กก็เอาแบบอย่างอย่างนั้น พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างให้ดู หากจะให้ลูกมีความสุขง่าย ๆ รอบตัว พ่อแม่ต้องเป็นแบบอย่างให้ดู

"ก็บอกกับลูกว่าการที่จะทำให้ตัวเองมี ความสุข เป็นทักษะที่จำเป็น และลูกต้องฝึก บางทีเขาเองก็เรียนหนัก เครียด เพราะมีการบ้านเยอะและยาก ต้องนอนดึกตี 3-4 ก็บอกว่าต้องทำให้ตัวเองมีความสุข ถ้าสมมติว่าคืนนี้นอนไม่พอ อย่าไปคิดว่าเหนื่อย ก็บอกตัวเองว่าเก่งนะที่นอนดึกได้ ค่อยนอนชดเชยได้ คิดเป็นอีกอย่าง ทำให้เรามีแรงที่จะสู้งาน สู้ชีวิตต่อไปได้ แต่จากนี้ไปแต่ละขั้นตอนของชีวิตจะมีความแตกต่างกันไป นักเรียนก็เครียดแบบหนึ่ง ทำงานก็เครียดแบบหนึ่ง ทำอย่างไรให้ตัวเองคิดในแง่บวก"

สำหรับลูก สอนเขาตลอด ส่วนตัวเองหากย้อนไปสมัยก่อน ผู้ใหญ่ไม่ได้สอนแบบนี้ แต่ที่บ้านอยู่กันอย่างเรียบง่าย ได้ เรียนรู้โดยไม่ต้องสอน แต่ทุกวันนี้สิ่งที่ล่อตาล่อใจมีเยอะคิดว่าเป็นบทบาทของพ่อแม่ที่จะต้องช่วย กันสร้างทักษะที่จะให้ลูกมี ความสุขง่าย ๆ ถ้ามีความสุข อะไรก็จะตามมาเอง หรือหากทำอะไรบางอย่างแล้วชอบ งานก็ออกมาดี

ส่วน เทคนิคการสอนลูกนั้น "ธาริษา" เล่าว่าต้องให้ความใกล้ชิดกับเด็ก ต้องให้ภูมิคุ้มกันกับเขา หากเขามีความสุขในครอบครัว มีความสุขง่าย ๆ จากสิ่งรอบตัวเขา เขาจะไม่รู้สึกว่าเขาขาด เขาไม่รู้สึกว่าจะต้องไปทำอะไรตามเพื่อน นี่คือประสบการณ์ของตัวเองที่เลี้ยงลูกมา อย่างการใช้เงิน สอนว่าเวลาจะใช้เงินให้เขาถามตัวเองก่อน สอนตั้งแต่เขาเล็ก ๆ ว่าเราจำเป็นต้องมีของชิ้นนี้ หรืออยากได้ของชิ้นนี้ ถ้าจำเป็นซื้อไปเลย แต่ถ้าอยากได้ ก็ถามตัวเองว่าความอยากไม่มีที่สิ้นสุด ให้คิดหน้าคิดหลังเท่านั้นเอง ให้ดูความแตกต่างระหว่าง "want" กับ "need" ก็ทำให้เขาไม่สุรุ่ยสุร่าย

"อย่างมือถือ ก็เป็นคนยัดเยียดให้เขาเอง ตอน ม.4 เขาอายุ 15-16 ปี จริง ๆ เขาแอนตี้ด้วยซ้ำไปว่าไม่จำเป็นต้องมี จำได้ว่าเขาไปวัด เห็นพระใช้โทรศัพท์มือถือ เขายังบอกว่าพระไม่จำเป็นต้องใช้มือถือเพราะบวชแล้ว ก็อธิบายว่ามีไว้สำหรับการติดต่อ ส่วนที่ยัดเยียดให้เขา เพื่อสะดวกในการติดต่อ ก่อนหน้านั้นเขามาเล่าให้ฟังว่าเพื่อนเขามีมือถือ เปลี่ยนรุ่นบ่อย ๆ ก็เคยถามว่าเขาอยากได้ไหม อยากมีเหมือนเพื่อนไหม เขาบอกว่าไม่อยากได้ ไม่จำเป็นต้องมี เขาสบายดี ถ้ามีไปก็เป็นภาระเปล่า ๆ"

ดัง นั้น หากตอบโจทย์ว่าเลี้ยงลูกอย่างไร "ธาริษา" กล่าวอีกว่า หากลูกเขารู้สึกว่าเขามีพอแล้ว เขาก็ไม่กระตือรือร้น อยากได้อะไรอีก มันไม่ใช่แค่แนวคิด ทั้งหมดต้องให้ความรักความอบอุ่น มีเวลาอยู่ด้วยกัน หากเขาไม่มีความรู้สึกว่าเขาขาด เขาก็จะไม่ไปไล่ล่า นี่คือ "ความมั่งคั่ง" ที่เขามี มันเป็นสิ่งสำคัญ หากเราวิ่งไล่ล่าหาของรอบข้าง ในที่สุด คนที่มี "ความทุกข์" คือ "ตัวเรา" เอง และจะตกเป็นเหยื่อของ คำโฆษณาสารพัดอย่าง เป็นเหยื่อของสิ่งล่อตาล่อใจ

"ธาริษา" เล่าว่า ตัวเองเป็นคนที่ไม่ชอบการนั่งเฉย ๆ อยาก...ไปเข้าร้านทำเล็บไหม...ไม่เคยเลย เพราะเสียดายเวลาที่ไปนั่งเฉย ๆ หรือไปทำผม ก็นาน ๆ ที ถ้าไม่จำเป็น...ก็เสียดายเวลา บางคนบอกว่าเป็นการให้รางวัลตัวเองที่ทำตัวเองให้สวย ให้ความสุขกับตัวเอง แต่ "ธาริษา" ไม่เอ็นจอยอย่างนั้น เพราะนั่นไม่ใช่ตัวตน...แต่หวังว่าจะมีอะไรที่เป็นประโยชน์ให้ทำ แม้อายุ 60 แต่ยืนยันว่ายังแจ๋วอยู่...พร้อมกับกล่าวว่า "มันอยู่ที่เราเองว่าทำตัวให้แก่ ก็แก่ หรือจะทำตัวให้มีความสุขจากสิ่งรอบข้างก็ทำได้"

ด้วยความที่เป็นคน คิดบวก "ธาริษา" บอกว่ามีประโยชน์มาก "ในช่วงที่เป็นผู้ว่าฯ การคิดบวกทำให้เรามีแรงสู้ต่อ ทำให้เรามีแรงที่จะทำงานหนักให้ลุล่วงไปได้ หากไม่คิดบวก เรื่องยาก ๆ ทำไม่สำเร็จ ถึงจุดหนึ่งก็จะเหนื่อย การคิดบวกจะช่วยและทำให้ตัวเองเหนื่อยกายมากกว่าเหนื่อยใจ กล่าวคือ เหนื่อยกายที่ต้องไปอธิบายครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ไม่เหนื่อยใจ หรือเวลาเจออุปสรรคอะไร ก็คิดว่าเขาไม่เข้าใจมั้ง เขาไม่ได้คิดมาต่อต้าน เราก็ทำงานได้ และในที่สุดเราก็มีความสุข เพราะ ถ้าหากเราคิดลบ เท่ากับเราทำร้ายตัวเอง และไม่ใช่สิ่งถูกต้อง

นี่คือวิถีของ "ธาริษา วัฒนเกส"...วิถีความเรียบง่าย ที่ไร้กาลเวลา

ดังเช่นหนังสือความ เรียบง่ายไร้กาลเวลากล่าวไว้ว่า

...

ผู้มีความพอใจคือผู้ร่ำ รวย

ไม่มีอาชญากรรมใดเลวร้ายกว่าการมีความอยากมากเกินไป

ไม่ มีหายนะใดเลวร้ายกว่าการขาดความพอใจ

ไม่มีโชคร้ายใดเลวร้ายกว่าความ โลภ

view