สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เกณฑ์ มาตรฐาน คุณภาพแฟรนไชส์แห่งชาติ

จากประชาชาติธุรกิจ



สำหรับ ประเทศไทยได้มีการจัดทำระบบการรับรองเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ตามแนวทางของ MBNQA ของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2539 โดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ดูแล พัฒนา การดำเนินการระบบดังกล่าวโดยมีค่านิยม และกรอบแนวคิดต่าง ๆ ในเชิงเทคนิคและกระบวนการอยู่บนพื้นฐาน 11 ข้อ ดังต่อไปนี้

1.การนำ องค์กรอย่างมีวิสัยทัศน์ : ผู้นำระดับสูงขององค์กรธุรกิจแฟรนไชส์เป็นผู้ที่มีบทบาทสูงในการขับเคลื่อน และผลักดันองค์กรให้ประสบผลสำเร็จทางธุรกิจ เริ่มตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์กร รวมทั้งวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ เพื่อกำหนดและผลักดันเชิงนโยบาย กำหนดแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งแผนงานเชิงกลยุทธ์ต่าง ๆ ซึ่ง วิสัยทัศน์ แผนการดำเนินงาน และกลยุทธ์ดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการสื่อสารไปยังบุคลากรที่เกี่ยวข้องและ นำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์สามารถสร้างผลกำไรและเติบโตอย่างยั่งยืน

2.ความ เป็นเลิศที่มุ่งเน้นที่ลูกค้าและแฟรนไชซี : การที่องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์จะสามารถตอบสนองต่อ

ความต้องการและความ คาดหวังของลูกค้าได้นั้น ย่อมทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ อันจะนำไปสู่การมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน องค์กรแฟรนไชส์จึงต้องให้ความสำคัญด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการเป็น เรื่องหลัก โดยจะต้องมีระบบและกระบวนการที่เหมาะสมที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์และ บริการที่ส่งมอบนั้นตรงตามความต้องการและความคาดหวังของลูกค้าอย่างแท้จริง

3.การ จัดการเพื่อนวัตกรรม : ทุกธุรกิจต่างก็มุ่งสร้างความได้เปรียบในเชิงการ แข่งขันเพื่อการดำรงอยู่และเติบโตอย่าง ยั่งยืน ผู้นำองค์กรควรผลักดันและส่งเสริมให้องค์ธุรกิจแฟรนไชส์ของตนมุ่งเน้นให้มี การปรับปรุงผลิตภัณฑ์บริการ กระบวนการ และวิธีการทำงานขององค์กรอยู่เสมอ เพื่อสร้างคุณค่าที่แท้จริงให้แก่ลูกค้า

4.การจัดการโดยใช้ข้อมูล จริง : กระบวนการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในระบบคุณ ภาพธุรกิจแฟรนไชส์นั้น จำเป็นต้องได้รับข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและ กันอย่างแท้จริงมาสนับสนุนการตัดสินใจ รวมทั้งกำหนดแนวทางในการปรับปรุง ซึ่งข้อมูลที่เหมาะสมจะช่วยให้กระบวนการทั้งหมดสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน กับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายทางธุรกิจแฟรนไชส์โดยรวมขององค์กร

5.ความ รับผิดชอบต่อสังคม : ผู้นำองค์กรธุรกิจแฟรนไชส์ควรส่งเสริมและ ผลักดันให้ทุกกิจกรรมการปฏิบัติงานมีการพิจารณาถึงประเด็นด้านความรับผิดชอบ ทางสังคม และสาธารณะ ตลอดทั่วทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และบริการ เริ่มตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการ การผลิต การส่งมอบ บริการหลังการขาย รวมถึงพิจารณาถึงของเสียและขยะที่เกิดจากผลิตภัณฑ์และบริการ

6.การ มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์และการสร้างคุณค่า : แนวคิดใหม่ที่เน้นการขับเคลื่อนจากภาคการตลาด ซึ่งเชื่อว่าผลกำไรที่แท้จริงนั้นเกิดจาก "ความพึงพอใจและสัมพันธภาพที่ดีกับลูกค้า" การที่องค์กรแฟรนไชส์มีระบบมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าที่แท้จริง และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้านั้น ถือว่าเป็นเป้าหมายในเชิงผลลัพธ์ที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถเติบโตและสร้างผลกำไรได้อย่างยั่งยืน

7.มุม มองในเชิงระบบ : มุมมองในเชิงระบบหมายถึงกระบวนการจัดการทั้งองค์กรและองค์ประกอบแต่ละส่วน เพื่อให้องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์สามารถบรรลุผลสำเร็จได้นั้น ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจที่เหมาะสม ผลักดันให้มีการมุ่งเน้นที่ลูกค้า (และแฟรนไชซี) โดยมีกลไกการเฝ้าระวังติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง และจัดการโดยใช้ผลลัพธ์เป็นเกณฑ์

8.การ มุ่งเน้นอนาคต : เป้าหมายหลักของทุกธุรกิจคือการเติบโตและสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน การที่ธุรกิจแฟรนไชส์ จะสามารถเติบโตและดำรงอยู่นั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องเข้าใจความเชื่อมโยงของปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

9.การเรียนรู้ขององค์กรและของแต่ละคน : การที่องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์มีแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อให้บุคลากรมี การเรียนรู้ในทุกระดับและมีทัศนคติที่ดี จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์และบริการอยู่เสมอ ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรสามารถแข่งขันได้ในตลาด การเรียนรู้ขององค์กรและบุคลากรจะส่งผลดีต่อระบบธุรกิจแฟรนไชส์ขององค์กร หลายประการ

10.ความคล่องตัว : การสร้างและรักษาสถานะความสามารถในเชิงการแข่งขันขององค์กรเป็นสิ่งที่จำ เป็นที่ทุกองค์กรต่างแสวงหาและผลักดันให้เกิดผู้บริหารองค์กรจะต้องส่งเสริม และสร้างกลไกที่สามารถปรับเปลี่ยนและมีความยืดหยุ่นอย่างเพียงพอสำหรับปรับ เปลี่ยนจากกระบวนการหนึ่งไปสู่อีกกระบวนการหนึ่ง เพื่อให้องค์กรธุรกิจแฟรนไชส์สามารถตอบสนองได้ทันต่อความต้องการที่เปลี่ยน แปลงไปของลูกค้า

11.การให้ความสำคัญกับพนักงานและคู่ค้า : ปัจจุบันองค์กรทางธุรกิจ ทั้งหลายต่างได้มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจัง เช่น การส่งเสริมให้มีความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มทักษะและความสามารถการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรและคู่ค้ามีความผูกพัน ต่อองค์กรจะช่วยสร้างความ ร่วมมือที่ดีทั้งภายใน และภายนอกองค์กร การสร้างบรรยากาศที่ดีให้บุคลากรและคู่ค้ามีความพึงพอใจและผูกพันกับองค์กร

แฟรน ไชส์ ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน หัวหอกลุย ตลาด AEC

จากประชาชาติธุรกิจ


ตอนนี้ใน หลายภาคส่วนทั้งที่เป็นภาคเอกชนและภาคราชการ ต่างก็ตื่นตัวมีการเตรียมพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่ ตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่จะมีผลในปี 2558 เพราะถือเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วยจำนวนประชากรรวมกันกว่า 550 ล้านคน ที่กระจายอยู่ใน 10 ประเทศ ที่เป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย

ซึ่ง ปัจจุบันสำหรับภาคเอกชนไทย มีหลาย ๆ ธุรกิจที่เป็นโอกาส ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมภาคการผลิต และภาคบริการ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลาง รายใหญ่ และหนึ่งในหลาย ๆ ธุรกิจก็คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ที่น่าจะใช้โอกาสนี้ในการขับเคลื่อนเพื่อบุกเบิกตลาด สร้างโอกาสทั้งในการขยายการลงทุน หรือขายแฟรนไชส์ด้วย

กรมพัฒนา ธุรกิจการค้าเร่งเครื่องสนับสนุน

หลาย ๆ ประเทศไม่ว่าจะเป็น อเมริกา ยุโรป ไต้หวัน สิงคโปร์ ฯลฯ หรือแม้แต่เวียดนาม ต่างก็ใช้ระบบแฟรนไชส์ เป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลด้วย เนื่องจากระบบแฟรนไชส์นั้น ผู้ประกอบการรายเล็ก รายกลาง มีขีดความสามารถทำได้ ซึ่งหากมองในภาพรวมถ้าระบบแข็งแกร่งตั้งแต่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นก็แข็งแกร่งและมั่นคงยิ่งขึ้น

"สำหรับ ประเทศไทยก็มองเห็นถึงความสำคัญของเครื่องมือตัวนี้ จึงได้พยายามพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้ ก้าวเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ โดยพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2543 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ประกอบการที่เข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ทั้งสิ้นกว่า 400 ราย ขณะเดียวกันก็ยังอบรมอย่างต่อเนื่อง" สุทธิศักดิ์ เลาหชีวิน รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ กล่าวและว่า

โดยสิ่ง ที่ต้องทำต่อจากนี้นอกจากการอบรมเพื่อเพิ่มจำนวนแล้ว ก็คือการพัฒนาผู้ประกอบการให้เข้าสู่แฟรนไชส์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อสร้างโอกาสขยายกิจการต่อไปยังต่างประเทศด้วย เฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมสนับสนุน ผู้ประกอบการไทยให้ใช้โอกาสจากตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

39 รายแฟรนไชส์หัวหอก

ดังนั้นเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพแฟรนไชส์ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้เป็นดัชนีวัดศักยภาพของผู้ประกอบการว่า มีศักยภาพ มีความน่าเชื่อถือ มีโอกาส มีความมั่นคงในเชิงธุรกิจที่ผู้ซื้อหรือแฟรนไชซี จะใช้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการลงทุนได้มากน้อยขนาดไหน รวมถึงใช้เป็นหัวหอกในการขยายตลาดในกลุ่ม AEC ด้วย

"8-9 ปีที่ผ่านมา เราพัฒนาสร้างผู้ประกอบการแฟรนไชส์ได้กว่า 400 ราย ในจำนวนนี้ได้สมัครเข้าสู่ขบวนการพิจารณาเกณฑ์มาตรฐานประมาณ 100 ราย แต่มีเพียง 39 รายที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นสิ่งที่กรมจะขับเคลื่อนต่อก็คือ การส่งเสริมสนับสนุนผลักดันทั้ง 39 ราย ให้เดินไปสู่ตลาดอาเซียนด้วย" รองสุทธิศักดิ์กล่าวและว่า

เมื่อ ก่อนเราไม่มีเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้นแนวทางการส่งเสริมผู้ประกอบการเราก็ไม่ชัดเจน แต่พอเรามีผู้ประกอบการทั้ง 39 รายที่ชัดเจนในเรื่องศักยภาพที่รอบด้าน เราก็จะให้การสนับสนุนทั้ง 39 รายนี้ อาทิ นีโอสุกี้ สปาออฟ สยาม วาสนาน้ำโบราณ ฯลฯ เป็นหัวหอก ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ

นอกจากนี้ส่วนที่ยังไม่ได้เกณฑ์ มาตรฐาน เราก็จะพยายามส่งเสริมต่อเพื่อให้ประเทศไทยมีจำนวนผู้ประกอบการแฟรนไชส์ที่ มีศักยภาพจำนวนมากขึ้น

ก้าวให้เร็วเพื่อรุกตลาด AEC

จาก การศึกษามูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่เกิดจากระบบแฟรนไชส์ ปัจจุบันมีมูลค่าสูงถึง 125,000 ล้านบาท และมีการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี

ตัว เลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของระบบแฟรนไชส์ แต่น่าเสียดายที่เราโตช้า จนปัจจุบันมีหลาย ๆ ประเทศแซงหน้าไทยไปแล้ว

พี ระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล กล่าวว่า มีความเคลื่อนไหวของหลาย ๆ ประเทศที่ใช้แฟรนไชส์เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ได้แก่ ไต้หวัน เมื่อ 5 ปีที่แล้ว มีผู้ประกอบการแฟรนไชส์เพียง 400 ราย แต่ปัจจุบันมีถึง 2,600 บริษัท, จีน ให้ความสำคัญเมื่อปี 1999 ปัจจุบันมีถึง 400 กว่าราย, เวียดนาม ที่รู้จักระบบแฟรนไชส์ช้ากว่าไทย ปัจจุบันมีกว่า 60 บริษัทแล้ว ส่วนอินโดนีเซีย มีอัตราสูงถึง 2,400 บริษัท ที่เป็นระบบแฟรนไชส์

"ทุก ๆ ประเทศในย่านนี้ต่างใช้ระบบแฟรนไชส์ในการขับเคลื่อนผู้ประกอบการจากรายเล็ก ๆ ให้เป็นรายใหญ่ ซึ่งแนวทางเดียวกันนี้ ผู้ประกอบการไทยก็มีศักยภาพที่จะทำได้"

ซึ่งโอกาสของตลาด AEC น่าจะเป็นช่องทางที่สำคัญให้ผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ ใช้เป็นโอกาสสำคัญในการสร้างการเติบโตขยายแฟรนไชส์สัญชาติไทยออกไป ให้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

view