สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คน ทำงานยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (จบ)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ หนึ่งคิดหนึ่งทำ

โดย สันติ โยนกพันธ์, ชนายุส ตินารักษ์



การ พัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมีทั้งความร่วมมือและการแข่งขัน เช่นเดียวกับการขยายพันธมิตรเป็น AFTA+3+6 ก็มีทั้งการร่วมมือและการแข่งขัน การร่วมมือและ แข่งขันกันนี้เป็นเงื่อนไขปัจจัยให้การบริหารจัดการธุรกิจเปลี่ยนแปลง การบริหารพัฒนาคนขององค์กรต้องเร่งจังหวะก้าวรองรับความเปลี่ยนแปลงด้วย

ไม่ ว่าร่วมมือหรือแข่งขันต้องมีการเปรียบเทียบ รับรู้สภาพที่เป็นจริงเพื่อ ส่งเสริมให้การร่วมมือมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล และสามารถแข่งขันได้โดยยึดหลักส่งเสริมจุดแข็งแก้ไขจุดอ่อนของตนเองเป็น สำคัญ

ภาพรวมคือเพิ่มประสิทธิผล

เมื่อโฟกัสเฉพาะถึง ความได้เปรียบของไทยในหลายอุตสาหกรรมที่ไทยได้รับประโยชน์จาก AEC อาทิ อุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ (wellness) ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่เข้ามารักษา 1.5 ล้านคนต่อปี เป็นอันดับหนึ่งในอาเซียน ความน่าเชื่อถือจาก Health System Ranking ของไทยอยู่อันดับ 3 ในเอเชียรองจากสิงคโปร์ และบรูไน ไทยมีจำนวนโรงพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก JCI จำนวน 9 แห่ง มากเป็นอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ซึ่งมี 16 แห่ง และค่ารักษาพยาบาลของไทยใกล้เคียงกับมาเลเซีย แต่ถูกกว่าสิงคโปร์ราว 30% จากข้อตกลง AEC ผู้ป่วยจากอาเซียนจะเข้ามารับการรักษาในไทยมากขึ้น

อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว (hospitality) รายรับจากการท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน จำนวนนักท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย Tourism Competitiveness เป็นอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย การจัดอันดับโรงแรม Top 50 ในเอเชีย มีโรงแรมในไทยติดอันดับ 8 แห่งมากที่สุดในอาเซียน key success ในเรื่องนี้ คือ ค่าใช้จ่ายด้านการท่องเที่ยวไม่สูง มีความหลากหลายด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้งเป็นจุดศูนย์กลางของอาเซียน การให้บริการที่ดีเยี่ยมของคนไทย ความหลากหลายและความอร่อยของอาหารไทย โรงแรมที่พักมีหลายระดับราคา เป็นต้น

นี่เป็นตัวอย่างของภาพรวม แต่ทั้งหมดนี้ต้องเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะประเทศอื่น ๆ ก็สามารถไล่ตามจุดแข็งของไทยในเรื่องนี้ได้ ทั้ง 2 อุตสาหกรรมดังกล่าวจุดสำคัญยังอยู่ที่คนทำงานในแต่ละองค์กรธุรกิจ

ใน อีกด้านหนึ่ง การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้านเปิดเสรีแรงงานมีทักษะ เพิ่มทางเลือกให้คนที่มีความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ แนวโน้มในปัจจุบัน skilled labors ในอาเซียนมีโอกาสไปสู่สิงคโปร์ มาเลเซีย เหตุเพราะค่าจ้างสูงกว่าประเทศไทย ชุมชนแวดล้อมใช้ภาษาอังกฤษแพร่หลายกว่าเมืองไทย สาขาที่ต้องเพิ่มความสนใจ เช่น การเงิน การธนาคาร และไอที แรงงานมีคุณภาพจากต่างประเทศอาจเข้ามาแย่งงานคนไทยในประเทศ ขณะเดียวกัน skilled labors ของไทยอาจไหลไปสิงคโปร์ มาเลเซีย ผลกระทบอาจทำให้ขาดแคลนแรงงานมีทักษะบางด้าน อาทิ แพทย์ วิศวกร เป็นต้น

เมื่อ สภาพแวดล้อมการแข่งขันเปลี่ยนไป เวทีหรือสมรภูมิขยายใหญ่ขึ้นการบริหารจัดการโดยรวมของภาครัฐและหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จึงเป็นไปในลักษณะ ส่งเสริมธุรกิจที่มีโอกาสชนะ รวมทั้งอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับแนวโน้มของโลก ส่วนธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่เป็น ไก่รองบ่อนนั้นควรหลีกทางไป

พื้น ฐาน 7 ประการคนทำงานยุค AEC

องค์กรเป็นฝ่ายรับผิดชอบที่ต้อง สร้างคนทำงานให้สอดคล้องกับยุคสมัย ทั้งยังต้องสามารถเร่งจังหวะก้าวชดเชยกับการหยุดชะงักด้วยเหตุปัจจัยความขัด แย้งทางการเมืองในประเทศ

ประการแรก พัฒนาวิธีคิดวิธีการทำงาน ประสานข้อดีระหว่างตะวันออกกับตะวันตกเข้าด้วยกัน ลดทอนข้ออ่อนในแต่ละส่วนที่มีอยู่ สรรพวิชาจากชั้นเรียนเอ็มบีเอ การ ลงลึกระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย ไม่เพียงพอ ต้องผสมผสานกับพุทธปรัชญา เต๋า เซน รวมทั้งคัมภีร์การบริหารการปกครองของทางอินเดีย

ประการที่ 2 สร้างคนที่มีความสันทัด ในการบริหารความขัดแย้งในแง่ขององค์กรธุรกิจหลักการคือ เริ่มจากผลประโยชน์ พื้นฐานขององค์กรที่อิงการตอบสนองประโยชน์ใช้สอยและคุณค่าทางจิตใจของลูกค้า คนในองค์กรต้องยอมรับกฎกติกา พื้นฐานนี้ การบริหารจัดการความขัดแย้งนั้นต้องมีหลักยึดให้มั่นจากนั้นจึงลงลึกในแต่ละ บุคคลดูถึง

ภูมิหลัง การรับรู้ข้อมูล ความรู้ความคิด ทัศนคติความเคยชิน บางเรื่องต้องบังคับด้วยกฎกติกา บางเรื่องต้องสร้างแรงจูงใจอย่างเหมาะสม

ประการ 3 ออกแบบและสร้างคนที่ทำงานใน business model หรือ business platform ที่รองรับการบริหารจัดการแบบร่วมสร้างสรรค์ร่วมแบ่งปัน ด้านหนึ่งเป็น การรักษา "ตัวจริง" ในส่วนต่าง ๆ ขององค์กรไว้ อีกด้านหนึ่งเพื่อเป็นแนวทางในการสร้าง "ตัวจริง" รุ่นต่อรุ่นขึ้นมา

ประการ ที่ 4 มุ่งมั่นสร้างคนที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้แตกฉานจนเป็นพื้นฐานขององค์กร ขณะเดียวกันภาษาจีนหรือภาษา ญี่ปุ่นก็ไม่ควรมองข้าม ร่วมทั้งทักษะในการสื่อสารที่หลากหลายเข้าใจง่ายและเร็ว

ประการที่ 5 พัฒนาให้คนขององค์กรสามารถทำงานและใช้ชีวิตเพื่อสังคมไทยโดยรวมอย่างแยกแยะ ทั้งต้องสอดคล้อง ยุคสมัยแห่งเศรษฐกิจ การเมืองสังคม วัฒนธรรมและวิถีแห่งศาสนาต่าง ๆ

ประการที่ 6 องค์กรและคนต้องได้รับการพัฒนาให้ทำงานและดำรงชีวิตอย่าง "สมฐานะ" ทั้ง 6 นั่นคือฐานะของตนเอง/ ครอบครัว/ชุมชนและภาค/ประเทศ/ ภูมิภาค โลกและจักรวาลในปัจจุบัน การเชื่อมโยงส่งผลกระทบระหว่างกันของฐานะทั้ง 6 นี้มากขึ้น รวดเร็วขึ้น เป็นเรื่องที่ไม่ สามารถมองข้าม หรือไม่ใส่ใจได้อีกต่อไป

ประการที่ 7 องค์กรต้องสร้างคนของตนเองให้สามารถเร่งก้าวเดินเพื่อชดเชยกับเวลาที่สูญ เสีย และเพิ่มความเร็วในการพัฒนาอย่างทั่วด้าน การเร่งก้าวเดินประกอบด้วยการเลือกเส้นทางหรือวิถีที่เหมาะสมกับจังหวะการ ก้าวเดินที่ถูกต้องกับสภาพแวดล้อม

การพัฒนาทั้ง 7 ประการดังกล่าวเป็นการสร้างรากฐานของคนและองค์กรเพื่อรองรับความสามารถในการ ทำงานเฉพาะด้านต่าง ๆ ที่ต้องเร่งพัฒนายกระดับเช่นเดียวกัน ความสำคัญของรากฐานนี้คือหนุนส่งให้การพัฒนาความสามารถเฉพาะด้านต่าง ๆ ไปได้ไกลและมีความมั่นคง

view