สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มั่นใจคุณภาพสถานศึกษาไทยกว่า 80% ผ่านเกณฑ์ฉลุย

จาก โพสต์ทูเดย์

ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม จำเลยแรกที่มักจะถูกระบุให้เป็นรากเหง้าของปัญหาคือ “ระบบการศึกษา” และถึงแม้ว่ารัฐบาล ทุกยุคทุกสมัยจะพยายาม “ปฏิรูป” ในทุกมิติ

โดย ธนวัฒน์ เพ็ชรล่อเหลียน

ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตทางการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม จำเลยแรกที่มักจะถูกระบุให้เป็นรากเหง้าของปัญหาคือ “ระบบการศึกษา”“ปฏิรูป” ในทุกมิติ ข้อเท็จจริงกลับตรงกันข้าม คือไม่เกิดรูปธรรมใดที่ชัดเจน และถึงแม้ว่ารัฐบาล ทุกยุคทุกสมัยจะพยายาม

ทว่า ล่าสุดสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ได้เปิดเผยผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับ การศึกษาขั้น พื้นฐาน รอบสอง ระยะเวลา 4 ปี ซึ่งทำให้คลายกังวลลงได้บ้าง

ในการประเมินรอบที่สองนี้ เริ่มประเมินตั้งแต่ พ.ศ.2549 – 2552 ประกอบด้วยโรงเรียนที่สังกัดท้องถิ่น (กทม.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (สช.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดม ศึกษา (โรงเรียนสาธิต) และสังกัดท้องถิ่นเทศบาล (อปท.)

 

ภาพ ประกอบข่าว

แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1.สถานศึกษาระดับปฐมวัย (อายุ 3-5 ปี) ที่ประเมินไปแล้ว 26,369 โรง และ 2.สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อีก จำนวน 28,938 โรง

สำหรับสถานศึกษาที่จัดการศึกษาปฐมวัยนั้น หากจำแนก ตาม สังกัดแล้วจะพบว่า โรงเรียนสังกัดสาธิตได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษามากที่สุดคือ ร้อยละ 95.24 สังกัดกทม.ร้อยละ 94.88 สังกัดเทศบาลร้อยละ 92.44 และสังกัด สพฐ.ร้อยละ 80.62 แต่ถ้าจำแนกตามขนาดพบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษได้รับการรับรองมากที่สุดถึงร้อยละ 98.35 ขนาดใหญ่ร้อยละ 95.86 ขนาดกลางร้อยละ 90.25 และขนาดเล็กร้อยละ 78.32

นอกจากนี้ยังมีการจำแนกตามสถานที่ตั้ง โดยพบ ว่าที่ตั้งอยู่ในเมือง (เขตอำเภอ เมือง) และได้รับการรับรองมีถึงร้อยละ 85.98 ที่ตั้งอยู่นอกเมือง ร้อยละ 80.61

รวมทั้งสิ้นมีโรงเรียนระดับปฐมวัยผ่านการรับรอง 21,538 โรง จากการประเมิน 26,369 โรง คิดเป็นร้อยละ 81.68

ส่วนสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษา/มัธยม ศึกษา) นั้น มีการจำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอน และสังกัด โดยเปรียบเทียบเป็นร้อยละ พบว่าโรงเรียนทุกสังกัดที่เปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษาอย่างเดียว จะได้รับการรับรองมากที่สุด รองลงมาคือที่เปิดการสอนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ส่วนที่เปิดเฉพาะระดับมัธยมศึกษานั้นจะได้รับการรับรองน้อยที่สุด

แต่หากจำแนกตามระดับชั้นที่เปิดสอนและขนาด จะพบว่าเป็นไปใน ทิศทางเดียวกันกับโรงเรียนปฐมวัยคือ โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่พิเศษย่อมได้รับรองมากที่สุด ไม่จะเปิดสอนในระดับประถมศึกษา ประถมศึกษาควบมัธยมศึกษา หรือมัธยมศึกษาเพียงอย่างเดียว คือร้อยละ 99.05 97.02 98.56 ตามลำดับ รองลงมาคือขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก

นอกจาก นี้ถ้าจำแนกตามสถานที่ตั้งก็มีลักษณะเดียวกัน กับโรงเรียนปฐมวัยอีก เช่นกัน คือโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเมืองจะได้รับการรับรองมากกว่าโรงเรียนที่ตั้งอยู่ นอกเมือง

รวมทั้งสิ้นมีสถานศึกษาระดับการศึกษาพื้นฐาน ผ่านการรับรอง 23,706 โรง จากการประเมิน 28,938 โรง คิดเป็นร้อยละ 81.92 เห็นได้ว่าผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษาทั้ง 2 ระดับ มีสูงกว่าร้อยละ 80 ซึ่งจะส่งผลถึงคุณภาพของระบบการศึกษาในภาพกว้าง

ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสมศ. บอกว่า สาเหตุที่โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษผ่านการประเมินคุณภาพมากที่สุด เป็นเพราะขนาดของโรงเรียนจะส่งผลต่อจำนวนนักเรียน จำนวนทุนหมุนเวียน ความสามารถในการจ้างผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา รวมถึงการจัดซื้อครุภัณฑ์ต่างๆ ด้วย

ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กยังคงต้องประสบปัญหาการประเมินคุณภาพอย่าง เรื้อรังต่อไป เนื่องจากเป็นโรงเรียนเล็ก ที่มีบุคลากรน้อย และขาดแคลนครุภัณฑ์ต่างๆ เมื่อเข้ารับการประเมินก็ไม่ผ่านเกณฑ์ เมื่อไม่ผ่านก็ไม่มีนักเรียน ไม่มีบุคลากร และก็ไม่มีวันที่จะพัฒนาขึ้นมาได้

“อยากเสนอให้ รัฐบาลเร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับ การศึกษาโดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพของโรงเรียนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน และให้ส่งเสริมการแก้ปัญหาการศึกษาในพื้นที่ท้องถิ่น และต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณด้านครู สื่อ และเทคโนโลยีให้โรงเรียนขนาดเล็กด้วย” เขากล่าว

ยังมีผลการประเมินคุณภาพเฉลี่ยรายมาตรฐานของสถานศึกษา ที่ได้ รับการประเมินคุณภาพภายนอกที่น่าสนใจ และสะท้อนถึงความเป็นจริงในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดี

ผลการวิเคราะห์ระบุว่า ค่าเฉลี่ยการประเมินสูงสุด คือผู้บริหารมีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ ส่วนค่า เฉลี่ย ที่ต่ำสุดคือผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์

สำหรับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบ สองนั้น ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ อันนำไปสู่มาตรฐานทางการศึกษาในระดับสากล โดยจะประเมินอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี มีวัตถุประสงค์คือ ยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถานศึกษา สะท้อนให้เห็นถึงจุดเด่น จุดด้อย สาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขของความสำเร็จอีกด้วย

view