สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โต ได้...ก็ตายได้ ธรรมนูญ ครอบครัว เคล็ดลับโตยั่งยืน

จากประชาชาติธุรกิจ



ถ้า สังเกตให้ดี สถิติของธุรกิจครอบครัวส่วนใหญ่ตกทอดมาแค่เพียง 3 รุ่น พอรุ่นที่ 3 ก็จะเหลือเฉพาะธุรกิจที่เข้มแข็งจริง ๆ เท่านั้น จาก 100 เปอร์ซ็นต์ ในรุ่นที่ 1 เหลือ 30 เปอร์เซ็นต์ ในรุ่นที่ 2 และเหลือ 12 เปอร์เซ็นต์ ในรุ่นที่ 3

สาเหตุที่พบบ่อย ๆ ก็คือเรื่องของบัญชีไม่ชัดเจน เงินกองกลางที่สมาชิกในครอบครัวสามารถนำออกใช้ได้โดยไมมีหลักฐาน ปัญหาความสัมพันธ์ของครอบครัว และปัญหาอีกมากมายที่ทำให้ธุรกิจครอบครัววันนี้อยู่รอดและเติบใหญ่ได้เพียง น้อยนิด

ตัวอย่างธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ เช่น ตระกูลจิราธิวัฒน์เองมีการเตรียมการโดยส่งคนในครอบครัวไปเรียนเรื่องธุรกิจ ครอบครัวที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดเพื่อนำมาบริหารธุรกิจครอบครัวในวันนี้ และอีก 3 ธุรกิจครอบครัวขนาดใหญ่เตรียมตัวปรับการบริหารจัดการ ในรูปแบบของ "ธุรกิจครอบครัว" อยู่เช่นกัน

ในขณะที่ภาครัฐ หน่วยงานต่าง ๆ เน้นการสร้างธุรกิจใหม่มากกว่าคนที่มีธุรกิจอยู่แล้ว หรือในหลักสูตรทายาทธุรกิจเองก็นำเอา "หลักสูตรเอ็มบีเอ" มาสอนให้กับบรรดาทายาทนำไปบริหารงานต่อ หลักสูตรเหล่านี้ไม่อาจจะแก้ปัญหาความแตกต่างของธุรกิจครอบครัวกับธุรกิจ ทั่วไปได้

งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การบริหารธุรกิจครอบครัวอย่างมืออาชีพ" เป็นการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันของธนาคารกสิกรไทยและมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยมีภาคธุรกิจทั้งเล็กและใหญ่เข้าร่วมรวม 44 ผู้ประกอบการพ่อแม่ลูก จาก 20 บริษัทครอบครัว

สารพันปัญหาธุรกิจครอบครัว

อาจารย์ ภูษิต วงศ์หล่อสายชล หนึ่งในทีมพัฒนาจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยกล่าวถึงปัญหาของธุรกิจครอบครัว ว่า มีการจัดการที่แตกต่างจากธุรกิจทั่ว ๆ ไปตรงที่มีเรื่องของ สายสัมพันธ์ของคนในครอบครัว

ปัญหาเรื่องกฎเหล็กของครอบครัวที่ภาค ธุรกิจไม่มี เช่น บางครอบครัวลูกต้องไปทำงานข้างนอกก่อนจึงค่อยมาทำงานของครอบครัว บางครอบครัวลูกจะทำงานที่อื่นไม่ได้ จบแล้วต้องมาช่วยครอบครัวเท่านั้น หรือบางครอบครัวเมื่อมีการแต่งงานเกิดขึ้นลูกเขยและลูกสะใภ้ห้าม เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในครอบครัว หรือต้องทำเฉพาะธุรกิจภายในครอบครัวเท่านั้น

ปัญหาเรื่องการสืบ ทอดกิจการ ความคิดที่แตกต่างกันระหว่างพ่อ แม่-ลูก ทั้งฝ่ายพ่อที่มองว่าลูกยังเด็ก ในขณะที่ลูกมองว่าพ่อโบราณ

ปัญหา ความไม่ปรองดองของพี่น้อง เกิดการฟ้องแย่งสมบัติหลังจากที่พ่อ แม่หรือผู้นำครอบครัวเสียชีวิตไปแล้วก็มี

ปัญหาเหล่านี้เองที่ทำให้ ธุรกิจครอบครัวล้มหายตายจากในช่วงเจเนอเรชั่นที่ 3

วิสัยทัศน์ครอบ ครัว ธงที่ต้องมี

ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในวันนั้น นอกจากการละลายพฤติกรรมแล้ว ในเวทีนี้ยังเน้นให้แต่ละธุรกิจครอบครัวหันมาวางแผนในการทำธุรกิจอีกด้วย

ใน เรื่องการศึกษา สำหรับการเติบโตของธุรกิจครอบครัวเมื่อพ่อแม่สร้างและเริ่มขยายธุรกิจก็ เริ่มมองไปที่ทายาทด้วยว่าจะให้เข้ามาสืบทอดกิจการอย่างไร เช่นถ้าทำธุรกิจการเกษตรก็จะให้ลูกไปเรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ถ้าเป็นโรงงานอุตสาหกรรมก็จะให้ลูกเรียนวิศวกร ทั้งหมดเป็นเรื่องของกลยุทธ์ แตพ่อแม่จำนวนมากมักจะปล่อยให้ลูกเรียนตามที่ต้องการจึงไม่สามารถเข้ามาบริ หารธุรกิจให้ยืนยาวได้

ครอบครัวจึงต้องวางแผนในเรื่อง "การศึกษา" เป็นเรื่องแรก เพราะเมื่อธุรกิจเริ่มขยายมากขึ้นจึงจะเริ่มวางแผนเรื่องของคน คนที่จะมา "สืบทอดธุรกิจ"

จากนั้นจึงวางแผนธุรกิจในการเข้าสู่ตลาดทุน มี 2 แบบ แบบแรกการหาแหล่งเงินทุน เช่น การซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน โรงงาน การเทกโอเวอร์ธุรกิจ เป็นการหาแหล่งเงินทุนในทางหนึ่ง

และแบบที่ สองคือเลือกเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอาผลกำไรที่ได้ไปขยายธุรกิจ มีมืออาชีพเข้ามาช่วยบริหาร

ซึ่งครอบครัวจะต้องถามสมาชิกในครอบครัว ก่อนว่า ต้องการที่จะขยายกิจการไปแบบไหน ร่วมกันคิดและวางแผนตั้งแต่ต้น

ธรรมนูญ ครอบครัว

การที่ธุรกิจครอบครัวจะเดินต่อไปได้ดีต้องมี "ธรรมนูญครอบครัว" หรือข้อตกลงอย่างเป็นขั้นตอน

เรื่องแรกคือ เรื่องการสื่อสาร ในต่างประเทศจะมีการกำหนดวาระที่ต้องมีการพูดคุยถึงความเป็นไปของครอบครัว และธุรกิจ

ทุก ๆ หนึ่งเดือนจะต้องมีการคุยกัน และทุกหกเดือนต้องมีวาระการประชุมและทุกหนึ่งปีต้องมีรายงานการประชุมครอบ ครัว มีการตั้งคณะกรรมการครอบครัว ดูแลเรื่องการขยายธุรกิจ ดูแลเรื่องความสัมพันธ์ของเครือญาติ ดูแลสวัสดิการ ซึ่งแต่ละชุดจะได้รับการมอบหมายให้รับผิดชอบในแต่ละเรื่อง

แต่ละครอบ ครัวจะต้องมีข้อตกลงการทำงานภายในครอบครัวที่ชัดเจน เช่น ลูกจะเข้ามาทำงานบริษัทตัวเองจะทำอย่างไร สะใภ้ เขย จะทำงานอย่างไร การจ้างงาน จะจ้างเงินเดือนเท่าไหร่ เนื่องจากปัญหา ที่ผ่านมาพ่อแม่มักจะจ้างลูกถูกกว่าอัตราในท้องตลาด

ในด้านธุรกิจ ธรรมนูญครอบครัวจะต้องเกี่ยวโยงในการพัฒนาธุรกิจตามวิสัยทัศน์ของครอบครัว

ธุรกิจ ที่ไม่ต้องการขยายตัวใหญ่โต ธุรกิจประเภทนี้มีลักษณะเฉพาะ มีความลับของครอบครัว มีสูตรลับทั้งหลายที่ตกทอดกันมา

ในธุรกิจ กลุ่มนี้ พ่อแม่เรียนน้อยแต่จะส่งลูกเรียนจบต่างประเทศ หรือเรียนจบสูงสุดเท่าที่จะทำได้ กลุ่มนี้จะไม่ค่อยกลับมาสานต่อธุรกิจของบ้าน ลักษณะของธุรกิจก็คือ จะเน้นเรื่องทุน เช่น สะสมที่ดิน บ้าน อาคาร เพิ่มสินทรัพย์ กลยุทธ์ในการทำธุรกิจ อาจจะเทียบเคียงได้กับสหพัฒน์ที่ทำธุรกิจครบวงจร เช่น ทำเรื่องผ้า เส้นใย และร้านขายของ ตอบโจทย์ครบวงจร

กลยุทธ์ของการ ขยายธุรกิจจะใช้ในลักษณะของคู่ขนานคือการคุยกันในครอบครัว ตัดสินใจร่วมกัน พร้อม ๆ กับการทำธุรกิจ

ในรูปแบบที่สอง ครอบครัวที่มองว่าจะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ รูปแบบนี้สมาชิกในครอบครัวธุรกิจไม่สามารถทำงานกับมืออาชีพได้ ธุรกิจจึงไม่สามารถขยายตัวไปได้ เมื่อไม่สามารถดึงดูดมืออาชีพมาได้ก็อาศัยเครือญาติมาทำ ความสามารถจึงไม่เท่ามืออาชีพ ดังนั้นหน้าที่ของผู้นำในครอบครัวก็คือ จะต้องมีความสามารถในการบริหารคนเก่ง หรือหาคนมาทำงานให้นั่นเอง

กล่าว โดยสรุปการจัดการธุรกิจครอบครัว เริ่มตั้งแต่กลยุทธ์ทางด้านสังคม การจัดการรูปแบบครอบครัว วัฒนธรรมในครอบครัว การศึกษาที่จะให้ศึกษาไปในแนวทางที่สอดรับธุรกิจ กลยุทธ์การแต่งงาน ข้อกำหนด บทบาทของเขย สะใภ้ การสืบทอดธุรกิจ และการบริหารความขัดแย้งภายในครอบครัว ที่จะต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ

view