สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แนวทางการปรองดองแห่งชาติ ระหว่างอุตสาหกรรมกับชุมชน

จากประชาชาติธุรกิจ



นายก รัฐมนตรี "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ได้ประกาศแนวทางการปรองดองแห่งชาติต่อสาธารณะและได้เริ่มต้นกิจกรรม แต่งตั้งประธานคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เพื่อการคลอดแผนการปรองดองแห่งชาติเป็นของขวัญปีใหม่ 2554 แก่ประชาชนชาวไทย

แต่ในอีกด้านหนึ่ง ความขัดแย้งระหว่างอุตสาหกรรมกับชุมชนที่มาบตาพุดซึ่งซึมลึกไม่น้อยไปกว่า เพลิงไหม้ที่ราชประสงค์ กำลัง ส่งผลกระทบและสร้างความสั่นคลอนต่อพื้นฐานเศรษฐกิจไทยในเวทีเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศได้มาถึงจุดวัดใจรัฐบาลแล้ว เพราะปมความขัดแย้งนี้ได้ปะทุขึ้นมาก่อนความขัดแย้งระหว่างเสื้อสีเสียอีก แต่ที่ผ่านมาดูเหมือนจะถูกบดบังไปจากความสนใจชั่วขณะ เพราะเหตุการณ์อยู่ห่างไกลจากการรับรู้ของคนส่วนใหญ่ในกรุงเทพฯ

หาก นับจากวันที่เอ็นจีโอ องค์กรภาคประชาชนและตัวแทนชุมชนผู้ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมที่มาบตาพุด ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ระงับการดำเนินงานของอุตสาหกรรมใน พื้นที่แล้ว ความขัดแย้งครั้งนี้ได้ล่วงเลยมานานเต็มทีแล้ว ขอนำเสนอภาพรวมสถานการณ์และแนะแนวทางการปรองดองแห่งชาติระหว่างอุตสาหกรรม กับชุมชนเพื่อการร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนดังต่อไปนี้

ที่ มาแห่งความขัดแย้ง

นับจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตา พุดอย่างก้าวกระโดดในช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา โดยไม่ยี่หระต่อวิกฤตใด ๆ การขยายตัวของอุตสาหกรรมในมาบตาพุดดูจะโดดเด่นจนเป็นที่สนใจของเอ็นจีโอ ระดับโลก อันได้แก่ "กรีนพีซ" เป็นต้น ได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างโดดเด่นตั้งแต่ก่อนการเปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินใน พื้นที่นี้ และต่อเนื่องมาแตะมือกับเอ็นจีโอไทยจนนำมาสู่การเปิด กระแสผลกระทบต่อสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ถึงปัจจุบัน

ความห่วงใย ต่อภาวะแวดล้อมของชุมชนและสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวนี้ ได้รับการตอบสนองจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ จนนำไปบรรจุรายละเอียดเพิ่มเติมจากที่มีกำหนดไว้เดิมในรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ถูกฉีกทิ้งไปภายหลังการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็น "วรรคทอง" ในร่างรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านประชาพิจารณ์ทั้งฉบับและประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บทบัญญัติตามมาตรา 67 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย มาตรา 67 วรรค 2 บัญญัติว่า "การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษา และประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว"

ดังนั้น หากโครงการใดที่ "อาจก่อให้เกิด" ผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง (ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ) ต้องดำเนินการ 4 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ (environmental impact assessment) 2) ศึกษาและประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชน หรือเอชไอเอ (health impact assessment) 3) จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 4) ให้มีองค์การอิสระเป็นผู้ให้ความเห็นประกอบก่อน

ต้องทำให้ครบ ทั้ง 4 ขั้นตอนก่อน จึงจะสามารถดำเนินโครงการหรือกิจกรรมได้

ดูแล้ว ก็น่าจะรอบคอบดี แต่มีโครงการจำนวนหนึ่งซึ่งได้รับอนุญาตจากหน่วยงานของรัฐไปก่อนที่จะมีการ ประกาศใช้บทบัญญัตินี้ เพียงแต่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินโครงการหรือกิจกรรมผลิตเท่านั้น เพราะต้องใช้เวลาเตรียมงานหลังจากได้รับอนุญาต

เมื่อประกาศใช้รัฐ ธรรมนูญ 2550 ได้ไม่นาน จึงเกิดการทดสอบความศักดิ์สิทธิ์ของ "วรรคทอง" ดังกล่าว อันนำไปสู่การฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และศาลมีคำสั่งให้ระงับโครงการไว้ก่อนตามหลักการคุ้มครองชั่วคราว

คณะ กรรมการสี่ฝ่าย

รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พยายามหาทางแก้ไขความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเป็นความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมชิ้นแรก ของรัฐบาลนี้ โดยการประกาศตั้ง "คณะกรรมการสี่ฝ่าย" ที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน รับเป็นประธานในการหาทางออกร่วมกันระหว่างภาครัฐ นักวิชาการ องค์กรภาคประชาชน และตัวแทนอุตสาหกรรม โดยนายอานันท์ได้กำหนดเป้าหมายและระยะเวลาที่ค่อนข้างชัดเจนว่าจะนำไปสู่การ แก้ปัญหาอย่างไร

หลังจากทำงานไปได้ระยะหนึ่ง นายอานันท์ได้ออกมาให้สัมภาษณ์อย่างเปิดเผยต่อสาธารณชนอย่างเต็มอิ่มถึงความ มั่นใจในอันที่จะบรรลุภารกิจสำคัญนี้ โดยเริ่มจากการให้ภาพของความเป็น "ผู้ใหญ่และคนกลาง" อย่างแท้จริง "ดุ" ฝ่ายอุตสาหกรรมและสอนหลักของการอยู่ร่วมกันกับชุมชนว่าต้องสร้างความไว้ เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้นให้ได้ ตลอดจนสะท้อนบรรยากาศการประชุมร่วมของทั้งสี่ฝ่ายที่จะนำไปสู่ความเห็นชอบ ร่วมกันในแต่ละประเด็น

แม้นายอานันท์จะไม่ใช้คำว่า "โรดแมป" ในแผนปรองดอง แห่งชาติอย่างที่นายอภิสิทธิ์ใช้ในปัจจุบัน แต่ก็แสดงความชัดเจนว่า ขั้นตอนต่อ ๆ ไปของการทำงานจะเป็นอย่างไรและจะบรรลุผลได้เมื่อไร

ในท้ายที่สุด นายอานันท์ได้ย้ำความมั่นใจโดยกล่าวถึงการ "รับลูก" ของนายอภิสิทธิ์ว่า "ท่านนายกฯอภิสิทธิ์เป็นผู้ที่รู้จักผมดีพอที่จะรู้ว่าผมทำงานอย่างไรและคง จะไม่เปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ผมเสนอไป"

โรดแมปสู่การปรองดองระหว่าง อุตสาหกรรมกับชุมชน

คณะกรรมการสี่ฝ่ายได้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิด ขึ้นจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและกำหนดขั้นตอนในการแก้ปัญหาตามกระบวนการนิติ รัฐ โดยดำเนินขั้นตอนต่าง ๆ ขนานกันไปจนบรรลุผลโดยลำดับดังนี้

1.กระบวน การที่นำไปสู่การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่าง รุนแรง (ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ) สามารถออกเป็นประกาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ก่อนสิ้นปี 2552

2.เตรียมการเพื่อนำไปสู่การตั้งองค์การอิสระทำหน้าที่ให้ความ เห็นประกอบโครงการ ทำให้ได้คณะกรรมการและประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาสด ๆ ร้อน ๆ เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

3.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมความพร้อมในการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความเห็นของประชาชนและผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียหรือที่เรียกว่าการทำประชาพิจารณ์

4.ยกร่างประเภท กิจการที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง (ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ) เพื่อให้ครบกระบวนการและถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ

จังหวะก้าวที่สำคัญ

ดร.ธง ชัย พรรณสวัสดิ์ วิศวกรสิ่งแวดล้อมและอดีตประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้รับภาระเป็นประธานในการระดม ผู้ชำนาญการมาทำการศึกษา จัดทำ ตลอดจนจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ นักวิชาการ องค์กรภาคประชาชน ตัวแทนชุมชน และภาคอุตสาหกรรม โดยใช้ทั้งเวทีรับฟังและผ่านเครื่องมือเว็บไซต์ของสำนักนายกรัฐมนตรี จนได้ข้อสรุปประเภทกิจการที่สามารถนำเสนอต่อคณะกรรมการสี่ฝ่ายเพื่อให้ รัฐบาลประกาศใช้ได้แล้ว

รอดูใจรัฐบาล

ถึงวันนี้ เป็นเวลานานพอแล้ว และทุกฝ่ายได้ทำงานกันอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องจัดทำรายละเอียดชี้แจงทั้งต่อรัฐบาล และศาลปกครอง นักวิชาการที่ช่วยกันระดมความรู้ความสามารถเพื่อตอบโจทย์เทคนิคต่าง ๆ องค์กรภาคประชาชนที่ต้องคอยสอบทานข้อเสนอ มาตรการ และผลกระทบ เพื่อปกป้องคุ้มครองชุมชนและประชาชน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมที่ต้องเตรียมความพร้อมในทุกประเด็น ไม่ว่าจะเดินหน้าหรือเลิกรากันไป และ ไม่เว้นแม้แต่ในบุคลากรกระบวนการยุติธรรมที่ต้องทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการ อำนวยให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ตลอดระยะเวลาที่ ผ่านมา ไม่มีใครได้ประโยชน์จากความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อย ทุกฝ่ายล้วนสูญเสีย ตั้งแต่ระดับประเทศที่ สูญเสียความมั่นใจในการดำเนินนโยบายและกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ ไปจนถึงนักธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งไทยและเทศที่ สูญเสียทั้งค่าใช้จ่ายและโอกาสทางธุรกิจ ตลอดจนเอ็นจีโอ ชุมชนและประชาชน ที่สูญเสียประโยชน์และความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญอย่างเป็นรูปธรรม

ถึง เวลาแล้ว ที่นายอภิสิทธิ์จะต้องเคาะไม้สุดท้ายเพื่อให้เกิดการปรองดองระหว่าง อุตสาหกรรมกับชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม สร้างความมั่นใจในภาวะผู้นำก่อนที่จะเดินหน้าสร้างความปรองดองในสังคมระดับ ชาติต่อไป

หมายเหตุ : รายงานชิ้นนี้เป็นการแจ้งความคืบหน้าของ คณะกรรมการสี่ฝ่าย ที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานต่อสาธารณะว่าได้นำเสนอข้อมูลกรณีมาบตาพุดให้นายกรัฐมนตรี ถึงทางออกพร้อมกำหนดเป้าหมายและระยะเวลาที่ค่อนข้างชัดเจนว่าจะนำไปสู่การ แก้ปัญหาอย่างไรเรียบร้อยแล้ว
view