สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การ ส่งไม้-รับไม้ ในธุรกิจครอบครัว (1)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ hr corner

โดย อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอพีเอ็ม กรุ๊ป



วันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่า ถ้าธุรกิจ family business นั้นจะมีการ ส่งต่อไปยังอีก generation หนึ่งจะต้องมีประเด็นอะไรที่เราต้องมองและให้ความสำคัญบ้าง โดยเฉพาะในประเด็นที่เราจะสร้าง leader ใน generation ต่อไปจะต้องทำแบบไหน ? อย่างไร ?

โดยเฉพาะประเด็นดังต่อไปนี้ คือ

What makes family businesses special ? กลุ่มธุรกิจนี้แตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ อย่างไร ?

Choosing the next leader ถ้าเราจะมีผู้นำในยุคต่อไปเราจะเลือกอย่างไร ? หรือทำอย่างไรที่จะถ่ายทอดธุรกิจออกไปแล้วมีความสำเร็จดังอดีต

Effective transitions ในระดับโลกทำการเปลี่ยนรุ่น transitions อย่างไรให้ family business ประสบความสำเร็จได้

Engaging the next generation leaders

ทั้ง นั้น เพราะข้อมูลจากผลวิจัย และการศึกษาของ APM Group เวลาที่ทำ family business จะพบคำถามว่าความท้าทายคืออะไร ?

เพราะยุคแรกเป็นยุคทำกำไร (The first generation makes the money) ส่วน ยุคที่ 2 คือทำอย่างไรถึงจะเก็บรักษาดูแลธุรกิจให้เหมือนกับรุ่นแรกที่ทำมา (The second generation tries to keep it) ขณะที่ ยุคที่ 3 จะทำอย่างไรไม่ให้สูญเสียความเป็นธุรกิจครอบครัว เพราะยุคนี้กว่า 80% รักษาธุรกิจไม่ได้ (ข้อมูลจาก AMA ซึ่งทำวิจัยไปทั่วโลกทั้งในแถบตะวันตกและเอเชีย)

ภาพตรงนี้น่าสนใจ มากว่าการทำธุรกิจในแต่ละยุคเกิดอะไรขึ้น และทำไมจากผลวิจัยถึงระบุว่าเกินกว่า 80% ไม่สามารถดูแลธุรกิจต่อไปได้

และ ทำไมอีก 20% จึงสามารถถ่ายทอดธุรกิจไปยังรุ่นต่อรุ่นได้สำเร็จ เขาทำอย่างไรบ้าง ฉะนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงจุดนี้โดยจะเน้นไปที่ธุรกิจไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ที่ ท่านอาจจะไม่เคยได้ยิน แต่เป็น family business ที่สามารถดำรงอยู่ได้ และประสบความสำเร็จจากทั่วโลก

ดังตัวอย่างโรงแรมแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น Hoshi (Japanese traditional inn) ซึ่ง สามารถดำเนินธุรกิจผ่านมาแล้วถึง 46 รุ่น (ตั้งแต่ปี 718) ซึ่งแต่เดิมทีธุรกิจครอบครัวนี้เริ่มจากธุรกิจก่อสร้างวัดในปี 578 และสืบทอดธุรกิจกันมาอย่างยาวนาน

คำถามจึงเกิดขึ้นว่า เวลาเราพูดถึง family business เรากำลังพูดถึงเรื่อง อะไร ?

เพราะคนเป็นเจ้าของ ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องวันต่อวัน ทั้งในเรื่องของการจัดการภารกิจและกลยุทธ์ (family ownership, authority and responsibility for day to day management and mission and strategies) ไม่ว่าจะอยู่ในตลาด หลักทรัพย์ฯหรือไม่ และเจ้าของยังอยู่ในฐานะผู้บริหารระดับสูง และยังเกี่ยวข้องกับการบริหารองค์กร

จากผลวิจัยระบุว่า กลุ่ม 20% ที่ประสบความสำเร็จในการส่งต่อรุ่นต่อรุ่น สิ่งที่เราพบจากองค์กรเหล่านี้ คือเขามักเน้นการมองระยะยาว และถ้าไม่ถามตัวเองก็มีคนอื่นมาถามในสิ่งที่จะทำ หรือตั้งใจจะทำ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งบอร์ด หรือมีการ set ที่ปรึกษาที่จะมาคอยถามกลับเพื่อให้เราได้มอง ได้คิด และพยายามดึงตัวเองให้มองไประยะยาว ๆ อยู่เสมอ

ต่างจากระยะสั้น (short term) ที่จะมองว่า วันนี้ cash flow ต้องเป็นอย่างไร ซึ่งก็ไม่ผิด และสำคัญในธุรกิจ แต่เราก็ไม่ควรมองระยะสั้น (short term) อย่างเดียว แต่ต้องมองไประยะยาวด้วย เพราะการมองระยะยาวจะมองเรื่องของ branding ของบริษัทว่าจะทำอย่างไร

ยกตัวอย่างเช่น Samsung,Toyota บริษัทเหล่านี้เน้นเรื่องการมองระยะยาว ขณะเดียวกันก็มองเรื่องการเงินว่าจะสร้าง brand อย่างไร กลุ่มไหนที่เราต้องการให้เป็นลูกค้าระยะยาว และทำอย่างไรถึงจะสามารถสร้างความสัมพันธ์ระยะยาว

อีกประเด็นคือ องค์กรธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จคือเรื่องของพนักงาน เพราะเขาไม่ได้มองแค่ว่าสุดท้ายในแต่ละปีเจ้าของจะได้อะไร แต่เริ่มมองว่าสุดท้ายแล้วพนักงานจะได้อะไรด้วย

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทขายยาแห่งหนึ่งของเยอรมนี ที่ทุกวันนี้ยังติดอยู่ใน top 10 ก็ยังเป็น family business และเจ้าของยังถือหุ้น 100% อยู่ ก็มองภาพในระยะยาว พนักงาน คู่ค้า และ brand เป็นหลัก

ถ้าบริษัทเริ่ม focus ด้านนี้ ก็จะพยายามวัดทุก ๆ อย่างให้สมดุลทุก ๆ ด้าน และสิ่งที่สำคัญมากคือ เราจะต้องเข้าใจก่อนว่าคนที่จะมาทำธุรกิจของครอบครัวจะมี passion ต่อธุรกิจ ซึ่งลักษณะการจัดการจะมีความแตกต่างกับผู้บริหารที่จ้างมา ซึ่งคนพวกนั้นก็จะมีเป้า มี KPI และเป้าหมายในแต่ละส่วน แต่ละช่วงเวลา ไม่ว่าจะ 4-5-6 ปี และเขาจะพยายามใส่ผลงานไปให้มาก ๆ ว่าจะทำอย่างไรในช่วงสั้น ๆ จะมีผลงานตามเป้าให้มากที่สุด แต่ใน family business จะลงลึกว่าไม่ได้มีแค่เป้าหมายที่จะต้องลงมาจัดการเท่านั้น แต่ยังมีมุมอื่น ๆ ด้วย ซึ่งอาจจะต่างจากองค์กรทั่วไป

ฉะนั้น ผลวิจัยของ APM จึงบอกว่า ในประเทศไทยการส่งต่อจากรุ่นแรกไปรุ่น 2 มีเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็มีบ้างสำหรับรุ่นที่ 2 ไปสู่รุ่นที่ 3 เพราะฉะนั้นประเทศไทยเองยังจะต้องเจออะไรหลาย ๆ อย่าง เพราะภาพวันนี้รุ่นลูกกำลังเข้ามาสู่ช่วงของการเปลี่ยนผ่านระหว่างรุ่น ซึ่งสำคัญมากที่สุด

ขณะเดียวกัน จากข้อมูลของ Top Fortune 500 และ 1 ใน 3 เป็นธุรกิจครอบครัว และทำรายได้มากสูงสุดใน US. (U.S.A. 90% of American economy) และสิ่งที่มีการวิจัยต่อไปคือ แล้ว 1 ใน 3 ขององค์กรเหล่านี้เขาทำอย่างไรถึงส่งไม้ต่อได้สำเร็จ อย่างเช่น Motorola, Du Pont, Panasonic ซึ่งเป็น family business ทั้งสิ้น และบริษัทเหล่านี้ส่งต่อรุ่นกันอย่างไรที่จะทำให้สามารถต่อกันไปได้เรื่อย ๆ

ฉะนั้น เมื่อมาดูผลวิจัยจึงพบว่ามีจำนวนน้อยกว่า 30% สามารถอยู่ได้ในรุ่นที่ 2 (Family companies less than 30% survive into the second generation) และ 10% อยู่ได้ในรุ่นที่ 3 และไม่ถึง 4% อยู่ได้ในรุ่นที่ 4 (Barely 10% make it to the third. Only about 4% to the fourth)

คำถามจึงเกิดขึ้นอีก ว่า ภาพตรงนี้จะทำอย่างไร ? หรือองค์กรธุรกิจครอบครัวที่ประสบความสำเร็จนั้นเขาทำกันอย่างไร ?

คำ ตอบคือ สิ่งที่องค์กรเหล่านั้นให้ความสำคัญมากที่สุดคือ การเลือกผู้นำคนต่อไป ซึ่งจากผลวิจัยองค์กรเหล่านั้นจะให้ความสำคัญกับการเลือกผู้นำรุ่นต่อไป เพราะหลาย ๆ ครอบครัวมองว่าการส่งไม้ต่อเป็นปัญหาและอุปสรรค เนื่องจากมีความ ต่างวัย และคุยกันไม่รู้เรื่อง...

ฉะนั้น ถ้าเราเริ่มต้นโจทย์ตรงนี้ เราก็เริ่มผิดที่แล้ว เพราะทุกครั้งของการ ส่งไม้ของ family ให้เริ่มมองที่โอกาสว่ามีคนรุ่นใหม่มาคิดวิธีการใหม่ ๆ มาจับตลาดใหม่ มาต่อยอดจากสิ่งที่เราทำบ้างหรือเปล่า

นี่คือเรื่อง แรก

ฉะนั้น ฉบับต่อไปค่อยมาดูรายละเอียดของภาพแรกว่ามีกลวิธีและกระบวนการในการจัดการ อย่างไรบ้าง ?
view