สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จัดแถวปฏิรูปประเทศไทย ขจัดความสับสน

จากประชาชาติธุรกิจ

บท บรรณาธิการ


ต้องยอมรับว่าจวบจนถึงขณะนี้ ปัญหาสำคัญของประเทศไทยยังก้าวข้ามไม่พ้นประเด็นที่ว่า จะขับเคลื่อนเพื่อเดินไปสู่ภาวะที่การเมืองมีเสถียรภาพ ขจัดความขัดแย้ง สร้างกระบวนการปรองดองและปฏิรูปประเทศไทย ให้เกิดรูปธรรมได้อย่างไร และนั่นกลายเป็นคำถามสำคัญที่แม้กระทั่งในเวที "นายกรัฐมนตรีพบนักลงทุน" เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปฏิกิริยาที่บรรดานักธุรกิจ สถาบันทางธุรกิจ ซึ่งเข้าร่วมรับฟังจำนวนกว่า 1,300 คน ปรารถนาที่จะเห็นมากที่สุด นั่นคือความชัดเจนในแผนงานสร้างความสงบให้เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นอันดับแรก (โดยไม่จำเป็นต้องห่วงหรือแสวงหาแนวทางส่งเสริมการลงทุนรูปแบบใหม่ที่พิเศษ พิสดารแต่อย่างใด)

มิใช่เพียงแค่องค์กรภาคธุรกิจ นักลงทุนนานาชาติเท่านั้น ที่ยังคงไม่ค่อยมั่นใจกับกระบวนการสร้างความปรองดอง ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2553 ซึ่งจัดทำโดยสถาบันราชภัฏสวนดุสิต (ดุสิตโพล) ก็ยังชี้ในประเด็นที่คล้ายกันว่า ประชาชนส่วนใหญ่ (48.28%) เห็นว่า การเมืองยังเหมือนเดิม ไม่มีดีขึ้น และไม่แน่ใจว่าการสร้างความปรองดองจะสำเร็จได้ ขณะที่ 39.65% เห็นว่าดีขึ้น และอีก 12.07% เห็นว่าแย่ลง เพราะสิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ขณะนี้ไม่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน

หากจะขยาย ความในประเด็นที่ว่า "สิ่งที่รัฐบาลทำอยู่ขณะนี้ ไม่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน" ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแม้รัฐบาลจะแสดงบทบาทในการเป็นเจ้าภาพจัดการให้เกิด การปฏิรูปตามแผนงาน 5 ข้อ เริ่มตั้งคณะกรรมการหรือแกนนำขึ้นมาดำเนินการรวบรวม-สรุปปัญหาไปบ้างแล้ว แต่ข่าวที่ปรากฏตามมากลับยังมีข้อคิดเห็นที่แตกต่าง ไม่ไว้วางใจตัวบุคคลที่จะมาเป็นแกนดำเนินการ ไม่เกิดการชักชวนให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทร่วมคิด ฯลฯ และมีเป็นจำนวน ไม่น้อยที่เริ่มสับสนกับแผนงานปฏิรูป+ตั้งคณะกรรมการ 5 ชุด กับบทบาทที่บุคคลสำคัญอย่าง น.พ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับการขอร้องให้เข้ามาร่วมเป็นหัวขบวน "ปฏิรูป"

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ น.พ.ประเวศ ส่งสัญญาณออกมาในลักษณะที่ว่า "ปรองดองเป็นเรื่องของอดีต แต่ปฏิรูปเป็นเรื่องของอนาคต" ยิ่งทำให้เกิดคำถามว่า กลุ่มคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่าง ๆ จะวางตำแหน่งก่อน-หลัง หรือประสานร่วมกันอย่างไรในกระบวนการที่รัฐบาลเป็น ผู้ออกแบบไว้ ที่สำคัญก็คือภาพที่ชัดเจนตลอดทั้งกระบวนการ นั้น จะเกิดรูปธรรมในการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ความ ขัดแย้ง ปัญหาทางด้านการเมือง ปัญหาการใช้สื่อสารมวลชนที่เหมาะสม ฯลฯ อย่างไร เมื่อไหร่ หรือนำไปดำเนินการ ต่อโดยใคร

ดูเหมือนความท้าทายใน เบื้องต้นที่รัฐบาลต้องทำเป็นลำดับแรก นั่นคือการจัดแถว เรียงลำดับภาพ "กระบวนการ" ปฏิรูปและปรองดอง ให้คนไทยทั้งประเทศมองเห็นภาพใหญ่และขั้นตอนต่าง ๆ ไปในทิศทางเดียวกันโดยเร็วที่สุด เพื่อ มิให้เกิดความสับสน หรือทำให้คนส่วนใหญ่มองเห็นปัญหาเดิม ๆ ที่ท้ายที่สุดแล้ว กระบวนการตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ขึ้นมานั้น บรรลุผลเฉพาะการจัดทำแผน ยุทธศาสตร์ มาตรการ แต่ผลสรุปหรือแนวปฏิบัติเหล่านั้นกลับไม่ถูกนำไปปฏิบัติ หรือแก้ปัญหาอย่างแท้จริงเลยสักครั้งเดียว



บทบาท มหาวิทยาลัย กับการปฏิรูปประเทศไทยพ้นวิกฤต

จากประชาชาติธุรกิจ



จากบท เรียนเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองครั้งล่าสุด ทำให้หลายฝ่ายลุกขึ้นมาถามหาความปรองดองในชาติ ตั้งแต่ฟากรัฐบาล ธุรกิจเอกชนไปจนถึงภาคประชาชน และทุกครั้งที่เกิดวิกฤตอีก สถาบันที่มีศักยภาพในการช่วยเหลือชี้นำสังคมหนีไม่พ้นสถาบันการศึกษา เนื่องจากเต็มไปด้วยองค์ความรู้แทบทุกศาสตร์ที่ต้องการใช้เพื่อแก้ปัญหา ระดับชาติ ที่สำคัญยังเป็นแหล่งรวบรวมนักวิชาการผู้มีความสามารถมากมายหลายด้านไว้ด้วย กัน และยังเป็นแหล่งบ่มเพาะเจียระไนบุคลากรขั้นสุดท้ายก่อนออกสู่สังคม

หาก ตั้งธงที่คำถามว่า มหาวิทยาลัยควรจะมีบทบาทอย่างไรที่มากกว่าปัจจุบันนี้ เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยและร่วมก้าวข้ามวิกฤตไปด้วยกัน การสานเสวนาจึงเป็นทางออกที่ดีเพื่อจะนำไปสู่ปลายทางของการแก้ไขปัญหาร่วม กันและทำให้เกิดแนวทางใหม่ ๆ มาใช้ปฏิบัติได้จริง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดเวทีศาลายาเสวนานโยบายสาธารณะครั้งที่ 7 ในหัวข้อ "มหาวิทยาลัยกับการปฏิรูปประเทศไทย" เพื่อร่วมเสนอบทบาทในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาเชิงโครงสร้าง อย่างรอบด้าน โดยนักวิชาการผู้มีบทบาทต่อการขับเคลื่อนประเทศไทยในหลายช่วงหลายตอนของ ประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ ได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางปฏิรูปประเทศไทย



ผลิต คนดีสร้างระบบที่ดีแก่ประเทศ

"ศาสตราจารย์อมร จันทรสมบูรณ์" กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ชี้ให้เห็นตัวอย่างง่าย ๆ ของการเริ่มต้นปฏิรูปประเทศไทยว่า ทุกฝ่ายควรรู้จักหน้าที่ของตนเอง อย่างการจัดการเสวนาในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยที่เหมาะสมในการจัดที่สุดน่าจะเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากมีคณาจารย์ที่มีองค์ความรู้ด้านการเมืองและสังคมมากที่สุด แต่วันนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งเชี่ยวชาญด้านการแพทย์กลับมาให้ความสำคัญในเรื่องการ เมือง แทนที่จะเป็นเรื่องความมั่นคงด้านสาธารณสุข นอกจากนี้มหาวิทยาลัยควรมีบทบาทในการผลิตคนดีในสาขาต่าง ๆ เพื่อมาสร้างระบบที่ดีให้กับประเทศ

ขณะที่ "ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม" กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า หากพูดถึงบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาต่อการปฏิรูปประเทศไทย ควรจัดให้สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศเข้ามานั่งประชุมปรึกษากันถึงบทบาท แนวคิดหลักการ แนวทางและวิธีการของสถาบันการศึกษาในการสนับสนุนฟื้นฟูประเทศไทย และเสนอให้ใช้แนวคิด "หนึ่งจังหวัดหนึ่งสถาบันอุดมศึกษา (หรือมากกว่า)" เพื่อกระจายงานให้ดำเนินการให้ครอบคลุมทั่วประเทศพร้อมกัน



รวม ทั้งให้มีการจัดการความรู้หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างอุดมศึกษาหรือหน่วย งานเกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อพัฒนาแนวคิดให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันการศึกษาหรือกลุ่มอื่นใดให้ความสนใจจะร่วมทำงานในข้อใดก็สามารถ เลือกได้ตามความเหมาะสม

มหาวิทยาลัยจุดรวมเรียนรู้ความแตกต่าง

ด้าน "ศาสตราจารย์วิจารณ์ พานิช" นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยควรจัดให้เป็นพื้นที่ที่รวมเอานักศึกษาจากหลายพื้นที่ทั่วประเทศ มาอยู่ในรั้วสถาบันแห่งเดียวกัน เพื่อให้สถาบันการศึกษาเป็นเสมือนเบ้าหลอมนักศึกษาต่างสถานะและเป็นสติปัญญา ของสังคมปรับทัศนคติให้มองโลกแบบเดียวกัน

ทำหน้าที่วิเคราะห์วิจัย ประเด็นและชี้ให้สังคมเห็น จัดกิจกรรมให้นักศึกษาเข้าไปเรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับชาวบ้านในชุมชนเพื่อ ต่างฝ่ายจะเกิดความเข้าใจในความ ต่างระหว่างสังคมเมืองและชนบทยิ่งขึ้น ก็จะสามารถลดความขัดแย้งลงได้

ขณะที่ "ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์" ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นว่า วิกฤตในแผ่นดินครั้งนี้แบ่งเป็น 2 แบบ คือ วิกฤตคนและวิกฤตระดับปรากฏการณ์ของปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจสังคมและการเมืองที่ รุนแรงขึ้นพร้อม ๆ กัน

ดังนั้นบทบาทของมหาวิทยาลัยจึงเกี่ยวข้องใน 2 ทาง คือเมื่อคนเป็นวิกฤตก็ต้องแก้ที่คน ด้วยการปลูกฝังเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างดีในเรื่องสิทธิ เสรีภาพและวัฒนธรรมสันติวิธี และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างและระดับปรากฏการณ์ โดยเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นและยกระดับสติปัญญาบุคลากร ของตนเอง

"20 ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยอาจขาดการหล่อหลอมนักศึกษา เพราะมุ่งแต่ความเป็นเลิศทางวิชาการ แต่ไม่รู้จุดมุ่งหมายของบ้านเมือง ควรปลูกฝังวิชาหน้าที่พลเมืองตั้งแต่ยังเด็ก เพราะหากมาเริ่มทำเมื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัยแล้ว อาจไม่ได้ผล มหาวิทยาลัยควรเร่งวิจัยพัฒนาหลักสูตรให้กับการศึกษาในระดับพื้นฐาน ส่วนในระดับมหาวิทยาลัยเพียงให้การสนับสนุนให้มีการทำงานร่วมกับสังคมมาก ขึ้น รวมทั้งมีบทบาทในการกระตุ้นให้นักการเมืองเข้าร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ดังนั้นคน 3 กลุ่มที่ควรพัฒนาอันดับแรก คือ เด็ก นักศึกษา และนักการเมือง" ดร.เพิ่มศักดิ์กล่าว

view