สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การ ส่งไม้-รับไม้ในธุรกิจครอบครัว (3)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ HR Corner

โดย อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ เอพีเอ็ม กรุ๊ป



เวลา เราพูดถึงเรื่องที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจครอบครัว นอกจากการ รักษาค่านิยม หรือ value system แล้ว ขอพูดอีกเรื่องคือ เวลาที่เราทำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น อันตราย

เพราะ เวลาเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงอะไรในธุรกิจครอบครัว และเน้นที่ innovation & change แปลว่าอะไร ถ้าเราพูดถึงการเปลี่ยนแปลงโดยที่ไม่ได้ พูดถึง innovation คืออะไร หรือการเปลี่ยนแปลงโดยที่ไม่ได้มองไปข้างหลัง การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คำนึงถึงการ ต่อยอด innovation คือการมองจาก ทั้งของเก่า ของใหม่ หลาย ๆ อย่าง หลาย ๆ มุม จนเกิดสิ่งใหม่

หลาย ๆ บริษัทเปลี่ยนแปลงแต่ไม่เปลี่ยนไปเพื่อนวัตกรรม หลาย ๆ คนรุ่นใหม่จบใหม่ร้อนวิชาอยากจะ

เปลี่ยนแปลงนั่นนี่จนลืมไปว่า innovation กับ change ต้องไปคู่กัน จำเป็นที่จะต้องกลับไปดูสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตและนำมาผสมผสานกับของใหม่ ไม่ใช่การเอาอะไรใหม่ ๆ มาลงเลย อย่างนั้นคือแค่การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่การสร้างนวัตกรรมใหม่

สิ่งต่อไป คือ social relation ภาพของธุรกิจครอบครัวที่แตกต่าง คือต้องสร้างให้ชัดเจน ต้องมาดูว่าเวลามีปัญหาจะต้องทำอย่างไร รุ่นใหม่ ๆ ต้องมาดูว่าในอดีตเวลามีปัญหาอะไร ใครที่สามารถช่วยเหลือกันได้ ซึ่งต้องอาศัยความสัมพันธ์ในวงสังคมที่ลึกและกว้าง ธุรกิจที่อยู่ได้ในปัจจุบันมาจากตรงนี้เยอะมาก จะรักษาของเดิมและสร้างฐานเพื่อให้กว้างและลึกยิ่งขึ้น

ประเด็นที่ กล่าวมาคือสิ่งที่ได้ออกมาจากงานวิจัยว่าต้องมองอะไร ทำอะไร สร้างอะไร ซึ่งประเด็นเหล่านี้ถ้าไม่มาสนใจในระยะยาวจะมากระทบเราอย่างแน่นอน

คำ ถามระหว่างธุรกิจและครอบครัวจะมีมุมมองอย่างไร ?

ประเด็นแรกคือ ปริมาณ ลูกหลานกี่คนที่จะเข้ามาในธุรกิจ ความใหญ่ ความซับซ้อนของธุรกิจ ลูกเรามีเพียงพอที่จะสามารถมาสานต่อได้จริงหรือไม่ ต้องมีมืออาชีพเข้ามาร่วมด้วยหรือเปล่า ปริมาณของคนที่จะมารับต่อมีเพียงพอหรือเปล่า หลาย ๆ ครั้งเพราะความห่วงของธุรกิจรุ่นแรกทำให้ไม่ยอมให้คนอื่นมาเกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่น่าสนใจคือขนาดของธุรกิจมันไม่เหมือนเดิม ใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น

ประเด็น ที่ 2 และ 3 คืออายุเท่าไรถึงจะเข้ามาได้ หรือเริ่มทำได้ และพร้อมหรือยัง ปัญหาคือ ลูกหลานส่วนใหญ่ที่จะมารับช่วงต่อไม่เคยผ่านการ training การรับช่วงต่อก่อนมารับช่วงต่อ รุ่นแรกสร้างธุรกิจมาตั้งแต่วันที่ 1 และค่อย ๆ โตมา แต่พอลูกมารับก็มาในช่วงที่พร้อมเต็มที่ หรือโตแล้ว ใหญ่แล้ว

ตรงนี้เองลูกไม่สามารถรับไม้ได้ทันที จุดนี้คือจุดที่ทำให้พลาดได้ คือแม้ว่าจะมีการฝึกงานมาก็อาจจะไม่พอ เพราะใหญ่เกินกว่าจะรับได้ จากงานวิจัยพบว่าสามารถใช้วิชาในมหาวิทยาลัยสำหรับธุรกิจได้แค่ 40-50% ที่เหลือมหาวิทยาลัย ไม่มีสอน

สิ่งที่ขาดมากคือ ความเป็นผู้นำ ซึ่งเป็นเบอร์ 1 ที่ลูกของเจ้าของธุรกิจขาด ซึ่งภาวะผู้นำไม่ใช่ความมั่นใจ คนละเรื่องกัน อันนี้คือการนำคนในองค์กรทั้งลูกค้า คู่ค้า ทั้งความคิด จิตใจ และความเชื่อ

ก่อนที่เราจะลงไปนำธุรกิจจริง ๆ เรานำได้แค่ไหน ไม่ใช่การนำด้วยบารมีลูกเจ้าของ แต่นำด้วยความสามารถ ในหลาย ๆ องค์กรในเกาหลีถ้าลูกหลานไม่สามารถนำธุรกิจด้วยความสามารถได้ จะไม่มีสิทธิเข้ามาบริหารเลย แต่ก็ยังมีอีกหลายธุรกิจที่ลูกไม่ได้อยากจะทำ แต่ถูกบังคับให้ทำ สุดท้ายก็ไม่ยั่งยืน

ถ้าเป็นอย่างนี้สู้เอา ธุรกิจให้มืออาชีพทำ และให้ลูกถือหุ้นอย่างเดียวจะดีกว่า ?

สิ่งที่ สำคัญคือพ่อแม่ต้องปล่อยวางอย่าคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ลูกพูด พ่อแม่ยังคิดว่ายังเด็ก หรือยังไม่ยอมรับ ยังห่วงอยู่ บางครั้งไม่เชื่อลูกตัวเอง แต่เชื่อคนในองค์กรอื่น ๆ มากกว่า

นี่คือ คำถามที่ต้องพูดคุยกันใน ครอบครัว ?

succession planning ของธุรกิจครอบครัวไม่เหมือนกับของธุรกิจทั่วไป

succession planning ของธุรกิจครอบครัวเป็นภาพที่ไม่ใช่แค่เอาคนหนึ่งคนมานั่งในตำแหน่งหนึ่ง และทำธุรกิจต่อไปได้ แต่ succession planning ของธุรกิจครอบครัวเป็นเรื่องของการที่คนหนึ่งคนที่จะมารับช่วงต่อที่สามารถ เป็นผู้สืบทอดและต่อยอดไปอีก ไม่ใช่แค่หาคนหนึ่งคนมาดูแลเรื่อง ๆ หนึ่ง แต่นี่คือการมาทำแทนในส่วนที่ใหญ่และซับซ้อน ทำอย่างไรให้ธุรกิจของครอบครัวต่อยอดไปได้ไกล ซึ่งต้องวางแผนกันเยอะมากในการทำ succession planning ของธุรกิจครอบครัว

และ succession planning ของธุรกิจครอบครัว ก็ทำลึกกว่า succession planning ของธุรกิจทั่วไป เพราะธุรกิจทั่วไปอาจจะใช้เวลา 1-3 ปี แต่ของ succession planning ของธุรกิจครอบครัว ใช้เวลาเป็น 10 ปีที่จะสร้างคนขึ้นมาแบกรับจากรุ่นต่อรุ่น

ฉะนั้น วันนี้เราต้องวางตัวเองเพื่อให้ต่อยอดธุรกิจได้ และสิ่งที่สำคัญมากในการที่จะเป็นผู้สืบทอด คือ

1.ทัศนคติ-วิธีคิด การปรับมุมมองของเจ้าของธุรกิจ ไม่ใช่แค่รักษา แต่จะต้องต่อยอด เพราะคนรุ่นใหม่พยายามมองหา work life balance ถ้าอยากได้อย่างนั้นคงต้องหาคนเก่งมานั่งทำแทน เพราะไม่มีอะไรที่ได้มาง่าย ๆ การต่อยอดธุรกิจนั้นแค่รักษาก็ยาก และการต่อยอดก็ยากกว่าอีก ฉะนั้นจะต้องทุ่มเทอย่างมาก

2.ทักษะความสามารถ คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีทั้งเรื่องของ operation และ strategic เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจกระโดดจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง และต้องรู้ตัวเองด้วยว่าขาดอะไร ซึ่งประเด็นนี้คนรุ่นใหม่ต้องทำได้ทั้งสองด้าน แต่ไม่ต้องถึงกับลงมือทำทุก ๆ อย่างเหมือนคนรุ่นก่อน

เพราะวันนี้ต้องมีความสมดุล ถ้าเอาตามแบบเดิมที่เคยทำมาอาจจะพลาดในส่วนของการวางกลยุทธ์ได้

3.ความ รู้ความเข้าใจในธุรกิจ ซึ่งเรื่องนี้คนรุ่นใหม่ต้องมีความเข้าใจอย่างมาก

และ นี่คือภาพหลัก ๆ ที่คนรุ่นใหม่จะต้องมอง สนใจ และศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของธุรกิจครอบครัวอย่างจริงจัง


ไม้ ต่อธุรกิจกันตนา "ธนามล กัลย์จาฤก ธนสถิตย์" "เราต้องทำให้สำเร็จ เพราะเป็นของเราทุกคน"

จากประชาชาติธุรกิจ



อาจเป็น เพราะบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วย 3 ธุรกิจหลักคือ หนึ่ง สายธุรกิจโทรทัศน์ สอง สายธุรกิจภาพยนตร์ และสาม สายธุรกิจการศึกษา และราชการสัมพันธ์

ซึ่งมี "จาฤก กัลย์จาฤก" เป็นประธานกรรมการบริหาร "ผศ.ปนัดดา กัลย์จาฤก ธนสถิตย์" เป็นกรรมการบริหาร "นิรัตติศัย กัลย์จาฤก" เป็นกรรมการบริหาร "ศศิกร ฉันท์เศรษฐ์" เป็นกรรมการบริหาร และ จิตรลดา ดิษยนันท์ เป็นกรรมการบริหารที่รับผิดชอบดูแลงานบริหารในส่วน ธุรกิจต่าง ๆ

พี่ น้องแต่ละคนในตระกูลกัลย์จาฤก ต่างเป็นเจเนอเรชั่น 2 ที่สืบทอดธุรกิจต่อจาก "ประดิษฐ์-สมสุข กัลย์จาฤก" ซึ่งเป็น ผู้บริหารรุ่นก่อตั้ง

แต่ปัจจุบัน รุ่นหลานในเจเนอเรชั่น 3 ทั้งหมด 13 คน เริ่มจะมีบางคนเข้ามาทำงานในกันตนากรุ๊ปบ้างแล้ว ยิ่งเฉพาะกับ "อุ๊ย" ธนามล กัลย์จาฤก ธนสถิตย์ ซึ่งเป็นลูกสาวคนโต จากทั้งหมด 3 คน ของ "ผศ.ปนัดดา กัลย์จาฤก ธนสถิตย์" อดีตอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ซึ่งเธอรับผิดชอบดูแลในตำแหน่ง Assistant Managing Director Central Executive Office ในเครือกันตนากรุ๊ป

"ธนา มล" เริ่มต้นเล่าให้ "ประชาชาติธุรกิจ" ฟังว่า อุ๊ยเรียนจบนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ สาขาวิทยุ-โทรทัศน์ จากนั้นไปเรียนต่อปริญญาโททางด้านการบริหาร ที่บอสตัน คอลเลจ ประเทศสหรัฐอเมริกา

"เพราะต้องการนำความรู้ที่ได้ จากการบริหารจัดการมาต่อยอดในธุรกิจของครอบครัว อุ๊ยเรียนประมาณปีครึ่งก็กลับเมืองไทยทันที พอกลับมา คุณลุง (จาฤก) ก็ถามว่า อยากทำด้านการตลาดไหม เพราะคงเห็นอุ๊ยเคยทำเออีมาก่อน เมื่อตอนทำละครของคณะ"

"อีกอย่างอาจเป็นเพราะคุณลุงคงเชื่อว่าเราพอ จะรู้จักคน ประกอบกับเพื่อน ๆ ของคุณลุงหลายคนอยู่ในแวดวงการตลาด ก็เลยเชื่อว่าเราน่าจะทำได้ อีกอย่างอาจเป็นเพราะก้านกล้วย 2 กำลังอยู่ในโปรเซส ของโปรดักชั่น เพื่อเตรียมลอนช์ออกสู่ตลาดในปีหน้าตอนนั้นด้วย"

"ก็เลยต้องมาช่วยดู มาร์เก็ตติ้งทางด้านฟิล์ม และอื่น ๆ

อีกนิดหน่อย อุ๊ยต้องติดต่อเองทั้งหมด ทั้งโทรศัพท์นัด เข้าไปพรีเซนต์ รวมถึงการติดตามงานทุกอย่าง ซึ่งงานตรงนั้นก็ทำให้เราเรียนรู้ทั้งจากลูกค้าเองและทีมงาน"

"เพราะ ลูกค้าบางคนบอกเราตรง ๆ ว่าหนังดีนะ แต่อิมเมจไม่ตรงกับแบรนด์ หรือบางคนบอกว่าสินค้าของเราฮาร์ดเซลไปหน่อย ขณะเดียวกันเราก็ได้เรียนรู้จากพี่ ๆ ทีมงานมาร์เก็ตติ้งด้วยกัน เพราะเขาจะคอยสอนงานและคอยให้กำลังใจ ซึ่งก็ทำให้ เรารู้สึกดี และรู้สึกว่าการปิดงานแต่ละ โปรเจ็กต์มันไม่ง่ายเลย"

จากก้าน กล้วย 2 "อุ๊ย" ธนามล ต้องมาช่วยมาร์เก็ตติ้งกับภาพยนตร์เรื่องที่ 2 คือ "คนไทยทิ้งแผ่นดิน" และเรื่องนี้ไม่เพียงเธอจะต้องติดต่อประสานงานกับส่วนราชการมากขึ้น เธอยังต้องดูแลสปอนเซอร์ และติดต่อดิวงานจากภาคส่วนต่าง ๆ ด้วย

เธอ ยอมรับในช่วงแรกว่า งานด้านมาร์เก็ตติ้งอาจไม่ใช่งานที่เธอถนัด เนื่องจากเธออยากทำทางด้านโปรดักชั่น เฮาส์มากกว่า แต่เธอก็รู้ดีว่างานทางด้านมาร์เก็ตติ้ง นอกจากจะเป็นการฝึกตัวเองให้รู้จักผู้คน ยังเป็นการฝึกตัวเองให้รู้จักการเปิดมุมมองวิสัยทัศน์ด้วย

เพราะงาน มาร์เก็ตติ้งจะต้องติดต่อเจรจากับลูกค้า ที่สำคัญ "อุ๊ย" รู้ดีว่า งานทางด้านนี้เป็นงานที่เชื่อมต่อไปยังไลน์ธุรกิจต่าง ๆ และถ้าหากเธอผ่านบททดสอบนี้ได้ เธอจะพัฒนาไปเชื่อมต่อในธุรกิจอื่นได้ด้วย

สำคัญ ไปกว่านั้น "อุ๊ย" มีความรู้สึกว่า เราต้องทำเพราะเป็นธุรกิจของครอบครัว

"เพราะ อุ๊ยเห็นพนักงานข้างนอกที่มาช่วยทำงานอื่นให้กับกันตนา เขาทำงานด้วยความทุ่มเทและตั้งใจจริง อุ๊ยจึงมานั่งคิดว่าขนาดงานที่เขาทำอยู่ไม่ใช่ของเขา เขายังทุ่มเทขนาดนี้ แล้วเราล่ะ ลูกหลานกันตนาแท้ ๆ ทำไมเราถึงไม่ทุ่มเทแบบเขาบ้าง"

ตรง นี้เป็นจุดที่ทำให้ "อุ๊ย" ธนามลเริ่มคิด และเป็นจุดที่ทำให้เธอเริ่มวิตกกังวลพร้อมกันด้วย

"เพราะเรายังขาด ความกระตือรือร้นและขาดความทะเยอทะยาน อาจเป็นเพราะเรารู้อยู่แล้วว่ายังไง ๆ ก็ต้องมาทำงานที่นี่ จึงทำให้ไม่ค่อยแอ็กทีฟ ขณะเดียวกันอุ๊ยก็รู้สึกกังวล กลัวจะทำงานสู้คนรุ่นก่อนไม่ได้ และตรงนี้อุ๊ยก็เคยคุยกับพี่เต้ พี่ชายอีกคนในเจเนอเรชั่นเดียวกัน"

"โชคดีที่ว่างานทุกอย่างยังไม่มา อยู่ที่เราโดยตรง เพราะผู้ใหญ่เป็นผู้บริหารหลัก แต่เราก็ต้องพยายามเรียนรู้งานและศึกษางานอย่างรอบด้านด้วย"

"เหมือน กับเราอยู่ตรงกลาง อยู่ระหว่างผู้บริหารระดับบนกับพนักงานระดับปฏิบัติ จึงทำให้เราเห็นภาพทั้ง 2 ด้าน ซึ่งบางด้านพอเราเห็นปัญหา เราก็แก้ให้เขาทันที แต่ในส่วนที่แก้ไขไม่ได้ เราก็จะเล่าให้คุณแม่ฟัง ไม่ใช่ฟ้องนะ เป็นการเล่าเพื่อหาแนวทางแก้ไข เพราะต่อไปเราต้องขึ้นมานั่งบริหาร เราจึงต้องพยายามเรียนรู้ทุกอย่าง"

"แต่ สำหรับส่วนตัว เรากับพนักงานจะเป็นกันเองมาก ๆ สบาย ๆ เพราะบางคนเขาเห็นเรามาตั้งแต่เด็ก พอเขาเจอเราก็จะเล่าเรื่องราวเก่า ๆ ให้ฟัง เราก็ชอบฟังนะ ขณะที่บางส่วนก็จะเป็นพนักงานใหม่ อุ๊ยให้ความเคารพทุกคน เพราะถือว่าทุกคนมีประสบการณ์ ทุกคนเป็นครู"

"เรา ไม่ค่อยอยากเข้าไปเสนอความ คิดเห็น เพราะเชื่อในความสามารถและประสบการณ์ของเขา ยกเว้นที่เห็นว่าไม่ถูกต้องจริง ๆ เราจึงแสดงความคิดเห็น แต่ก็เป็นการแสดงความคิดเห็นแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เพราะอุ๊ยเชื่อว่า เราเป็นพนักงานคนหนึ่งเหมือนกัน มีอะไรต้องสื่อสารกันให�ีที่สุด"

ถึงตรงนี้จึงอดถาม "อุ๊ย" ธนามลไม่ได้ว่า แล้วได้อิทธิพลอะไรจาก "คุณแม่" บ้าง เธอจึงตอบว่า คุณแม่เป็นผู้หญิงที่สอนให้รู้จักความอดทน ความอดกลั้น และท่านเป็นคนที่ trust มาก แทบจะไม่เคยย่อท้อต่อความยากลำบาก และต้องทำให้ได้

"อุ๊ย จะได้ตรงนี้มา และก็มีความพยายามที่จะทำ แม้จะมีอุปสรรคบ้าง เหมือนอย่างตอนแรก ๆ ที่ไปหาลูกค้า ก็เจอลูกค้าพูดดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เราร้องไห้เลยนะ คุณแม่จะปลอบบอกว่า เราเพิ่งจะอายุ 20 กว่า ๆ เอง ยังมีเวลาอีกเยอะ และประสบการณ์จะช่วยสอนเรา"

"คุณแม่จะไม่เป็นคน push ลูก ไม่บังคับอะไรทั้งสิ้น เขาไว้ใจลูกมาก และเขาเชื่อว่าเรารู้ว่าอะไรดี ไม่ดี ฉะนั้นรอให้ประสบการณ์สอนเรา แล้วเราจะเข้าใจงานทุกอย่างเอง และที่สุดก็จะทำให้เราแข็งแกร่งและแข็งแรง"

ขณะ ที่ในแง่ของกันตนากรุ๊ป "อุ๊ย" ธนามลบอกว่า เธอมีความรักในบริษัทมาก เพราะตรงนี้เสมือนเป็นแรงบันดาลใจอย่างหนึ่งของเธอ แม้ตอนนี้เธอยอมรับว่ายังไม่มีลูกน้องอย่างเป็นทางการ แต่เธอมีความเชื่อว่า ถ้าเธอจะมีลูกน้องในวันหนึ่ง เธอจะต้องสร้างแรงบันดาลใจให้เขา มากไปกว่าสนใจเรื่องเงินเพียงอย่างเดียว

"พยายามที่จะรับคนเข้ามา ช่วยในทีมมาร์เก็ตติ้ง เรียกมาสัมภาษณ์ 10 คน ส่วนใหญ่มองเรื่องเงินเดือนก่อน ซึ่งเราก็พยายามเอาใจเขามาใส่ใจเรา แต่เอาเข้าจริงมันไม่ใช่ เขาแทบจะไม่มีใจที่จะทำงานจริง ๆ เลย ส่วนเพื่อนเราก็ไม่อยากให้มาทำงานกับเรา เก็บเขาเอาไว้เป็นเพื่อน คอยให้คำปรึกษาดีกว่า พูดง่าย ๆ คือกลัวเสียเพื่อน"

นอกจากนั้น "ประชาชาติธุรกิจ" ยังถาม "อุ๊ย" ธนามล ในเรื่องของมุมมองการรักษาคนเก่าว่า มีมุมมองต่อเรื่องนี้อย่างไร เธอตอบทันทีว่า อุ๊ยแคร์เรื่องคนมาก และส่วนตัวอุ๊ยให้ความเคารพคนเหล่านี้ เพราะเขาเป็นผู้สร้างบริษัทมาพร้อม ๆ กับคุณตา-คุณยาย

"ที่สำคัญคนเหล่านี้มีประสบการณ์มาก เราต้องพยายามเรียนรู้จากเขา แต่ในทางกลับกัน คนกลุ่มนี้อาจชอบในสิ่งที่เขาทำตอนนั้น แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว เราต้องบอกเขาว่าจะคิดแบบเดิมสมัย 20 กว่าปีที่แล้วไม่ได้ ต้องค่อย ๆ บอก และค่อย ๆ เปลี่ยน"

"อุ๊ยเชื่อว่าตอนนี้กันตนาเติบโตในระดับหนึ่ง มีทั้งในส่วนที่เป็นโลคอลและอินเตอร์เนชั่นแนล ดังนั้นเราจึงต้องรักษาระดับให้อยู่ในมาตรฐาน ซึ่งแม้จะดูอินเตอร์ขึ้น แต่เราต้องไม่ลืมวัฒนธรรมบางอย่างที่เป็นของไทยด้วย"

"พี่เต้จะไปดู งานเทศกาลที่เมืองนอกบ่อย เขาจะมาเล่าให้ฟังว่าตอนนี้ธุรกิจนี้เป็นอย่างนี้นะ ส่วนตัวเราก็พยายามศึกษามีเดียจากเมืองนอกว่าเขาทำอย่างไรถึงประสบความ สำเร็จ ทำไมเรตติ้งเขาสูง เราก็นำมาปรับใช้ พูดง่าย ๆ คือกันตนาจะอยู่แบบ พอเพียง ไม่หวือหวา แต่ไฮเทคโนโลยีคือมีความทันสมัย และรสนิยมดี"

ซึ่ง เหมือนกับตอนนี้ที่ "อุ๊ย" ธนามล กำลังเข้าไปช่วย "คุณแม่" ดูแลตลาดการศึกษาของสถาบันกันตนา รวมถึงเข้าไปช่วยดูมาร์เก็ตติ้งของนิวมีเดีย ซึ่งเป็นโรงหนังชุมชนขนาดเล็กที่จะเปิดพร้อมกันทั่วประเทศในปลายปีนี้

ที่ ไม่เพียงจะเป็นอีกความท้าทายหนึ่งของ "อุ๊ย" ธนามล กัลย์จาฤก ธนสถิตย์ หากยังเป็นอีกความท้าทายหนึ่งสำหรับ เจเนอเรชั่น 3 ที่ทำงานมาเพียง 3 ปี กับอายุเพียง 28 ปีเท่านั้น

ที่พร้อมจะทำงานทุกอย่างด้วยความ ทุ่มเท เพราะทุกอย่างที่เธอทำล้วนเป็น ของครอบครัว ของเธอ และของกันตนากรุ๊ปทุกคน

"ฉะนั้นจะต้องทำให้ได้ และจะต้องสำเร็จ เพราะเป็นของเราทุกคน"

view