สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วาระ-วาท กรรม ปฏิรูป อานันท์-ประเวศ และมาร์ค แตกกอ-ต่อยอด-จากรากปฏิวัติ

จากประชาชาติธุรกิจ



ประวัติ ศาสตร์และข้อถกเถียงทางการเมืองมีรอยต่อ-แตกต่างกัน

นักวิชาการรุ่น เก่า-เก๋าทฤษฎีบางกลุ่ม ตั้งต้นต่อยอดจากปฏิวัติสยาม 2475

นักการ เมืองบางกลุ่ม ตั้งต้นย้อนรอยจากเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519

นักรัฐศาสตร์บางสำนักใช้วิธีเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทาง การเมืองระหว่างเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" 2535 กับการเคลื่อนไหวของประชาชน ในช่วง "พฤษภาอำมหิต" 2553

นักเคลื่อนไหวทางการเมืองบางสีจงใจใช้ เหตุการณ์ 19 กันยา 2549 เป็นสาร ตั้งต้นในการวิเคราะห์-วิจารณ์การเมือง

ชน ชั้นนำและชนชั้นล่าง กลุ่มอำมาตย์ และกลุ่มไพร่ เคลื่อนไหว-ขับเคี่ยว-ขัดแย้งเรื่อง 2 มาตรฐานและความเหลื่อมล้ำทางสังคม

เมื่อ ประเทศไทยเข้าสู่โหมดการปฏิรูป... อีกครั้ง

นักปฏิรูปสังคม-นักการ เมืองและ นักวิชาการ ทั้งประเทศจับตา 2 กูรูสยาม

นายอานันท์ ปันยารชุน และ ศ.น.พ.ประเวศ วะสี

ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายกลุ่ม อำนาจปัจจุบันเป็นหลัก และกลุ่มอำนาจเก่าเป็นรอง

ดังนั้น ทันทีที่ 2 ชื่อปรากฏเป็นหัวขบวน เสียงวิพากษ์จึงกึกก้อง

นักวิชาการ-บางกลุ่ม แสดงทรรศนะ ไม่มั่นใจ ไม่เชื่อถือว่าจะสามารถเห็นผลการปฏิรูปเป็นรูปธรรม

เหตุผล เพราะคนที่มาเป็นกรรมการมีจุดยืนทางการเมืองในอดีตมาก่อน

ทั้งอดีต นายกรัฐมนตรี และเครือข่ายของราษฎรอาวุโส

แม้ "อานันท์" อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกำกับการปฏิรูปประเทศ จะออกตัว-ตั้งใจว่าจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและเดินหน้าปฏิรูป พร้อมคณะทำงานอีก 20-21 คนมาจาก ทุกภาคส่วน มีความหลากหลาย โดยเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงโดยตรงกับการปฏิรูป

โดยประเด็นที่จำเป็น ต้องปฏิรูปประเทศเร่งด่วนนั้น จะดูประเด็นที่เป็นสาเหตุของความไม่พอดีของเมืองไทย ซึ่งประเด็น ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้ผูกโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ หรือผูกโยงกับรัฐบาลใด แต่ทุกประเด็นที่จะจับขึ้นมาเป็นประเด็นที่ทุกประเทศและทุกสังคม แม้แต่ประเทศ ที่มีความเจริญแล้วก็ยังมีปัญหา ถือเป็น ระเบียบวาระของประชาชน



"ไม่ ใช่ระเบียบวาระของรัฐบาล โดยประเด็นที่จะหยิบมาพิจารณาจะรวมถึงเรื่องความเหลื่อมล้ำทุกด้านในสังคม ด้วย อย่างไรก็ตามคณะกรรมการชุดนี้ไม่ห่วงเสียงวิพากษ์วิจารณ์อะไรทั้งสิ้น เพราะทำงานด้วยความบริสุทธิ์ใจ"

เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรีที่แสดง ความตั้งใจว่า

"การปฏิรูปทั้งหลายต้องมีการเปลี่ยน แปลง ไม่ใช่เฉพาะตัวกฎระเบียบที่เขียนเป็นตัวหนังสือ แต่ต้องเป็นกฎที่ใช้บังคับ พฤติกรรมของคนที่เกี่ยวข้องในระบบการ เมือง รวมทั้งอยากเห็นสื่อมวลชน ประชาชน นักวิชาการ ได้ตั้งกฎข้อบังคับ (กฎเหล็ก) สำหรับตนเองด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศและระบบการเมืองสามารถเดินหน้าและมีการ ปฏิรูปอย่างแท้จริง"

"คณะกรรมการจะดำเนินการโดย ปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายการเมืองอย่างไร ถ้าดูจากโครงสร้างและระเบียบที่ออกไปนั้นจะเห็นได้ชัดมากว่า การเมืองคงไม่เข้าไปแทรกแซงอย่างแน่นอน คณะกรรมการมีความเป็นอิสระมากพอสมควรในการทำงานในแต่ละส่วน เรื่องนี้อยู่ที่การกระทำ แต่ที่ผ่านมาเรามีการทำงานกับภาคประชาชนและภาคส่วนอื่น ๆ หลายครั้งแล้วในรัฐบาลชุดนี้" นายกรัฐมนตรี-การันตีความเป็นกลาง

เป็น ที่มาของมติคณะรัฐมนตรี 29 มิถุนายน 2553 ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปงบฯปีละ 200 ล้าน ใช้เวลาทำงานต่อเนื่อง 3 ปี มอบหมายให้มูลนิธิพัฒนาไทเป็นแกนกลางจัดเวทีสาธารณะในระดับต่าง ๆ เริ่มดำเนินการกลาง พ.ค.-ก.ย. 53

หลักการตามที่ถูกเห็นชอบจาก ครม.ทั้ง 35 คนประกอบด้วย ให้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูป โดยให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปสำหรับทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการและเบิกจ่ายงบ ประมาณสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อการปฏิรูปปีละประมาณ 200 ล้านบาท รวม 3 ปี 600 ล้านบาท ให้เบิกจ่ายผ่านสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

สำนัก งานคณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ เจ้าของไอเดีย "สำนักปฏิรูป" และเจ้าของ "เงิน" เสนอว่า



"วิกฤต ของสังคมไทยในปัจจุบัน อันมีรากฐานมาจากปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐ กิจและสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างยั่งยืน"

"นายกรัฐมนตรีเสนอกระบวนการ ปรองดองขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบสำคัญ หนึ่งในองค์ประกอบคือการปฏิรูปประเทศที่ให้มีการดึงเอาทุกภาคส่วนในสังคม เข้ามาดำเนินการในการที่จะแก้ไขปัญหา โดยมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมอย่างเป็นระบบ ทั้งในเรื่องสวัสดิการ เรื่องโอกาส และมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะสามารถ ยกระดับรายได้ให้กับพี่น้องประชาชนที่สามารถประเมินผลได้ และเป็นเรื่องที่จะต้องให้ทุกรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นใคร ในยุคใดต้องเข้ามาดำเนินการเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมอย่าง ชัดเจน"

ตามขั้นตอน ครม.มีมติเมื่อ 11 พฤษภาคม 2553 เห็นชอบให้มูลนิธิพัฒนาไทเป็นแกนกลางในการจัดให้มีเวทีสาธารณะในระดับต่าง ๆ ร่วมกับสภาพัฒน์ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องดำเนินกระบวนการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมระดม ความคิดจากทุกภาคส่วน

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2553 ได้มีการประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการปฏิรูปประเทศไทย โดยมีข้อเสนอที่สำคัญคือ เสนอให้รัฐจัดให้มีกลไกที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลทำหน้าที่สนับสนุน รวมทั้ง เสนอแนะให้นายกรัฐมนตรีเชิญผู้ใหญ่ในบ้านเมืองมาช่วยคิด ช่วยดูแลการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศไทย

ก่อนการปฏิรูปจะเริ่มทั้ง ขบวนการ มีข้อสังเกตจากเครือข่ายนักพัฒนาอาวุโส "ดร.ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์" ประธานมูลนิธิ"ชุมชนไท" เจ้าสำนักคิดสายพัฒนา ชุมชน-ที่ดินของคนยากไร้

นัก พัฒนาอาวุโสบรรยายพิเศษเรื่อง "ปัญหาที่ดินกับทิศทางปฏิรูปประเทศไทย" ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ว่า หากประเทศไทยไม่ตั้งต้นจากการแก้ปัญหาความเป็นธรรมในการถือครองที่ดิน ประเทศอาจต้องลุกเป็นไฟเพราะปรากฏการณ์ม็อบ ส่วนใหญ่มีข้อประท้วงเรื่อง "ที่ดิน" และลุกลามเป็นปัญหา "ความเหลื่อมล้ำ" และความไม่เท่าเทียม

"ปัญหา ที่ดินแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรมมากกว่ารายได้ที่เกิดจากความมักง่าย ประมาท และการปฏิบัติอย่างเถรตรง ไม่ยืดหยุ่นของราชการ ตลอดจนการปฏิบัติที่มีเล่ห์เหลี่ยม คอร์รัปชั่น นับตั้งแต่การประกาศอุทยานทับพื้นที่ดินทำกิน การขับไล่พี่น้องชาวชุมชนออกจากที่อยู่อาศัย รวมทั้งนายทุนออกโฉนดทับชุมชน ซึ่งต้นเหตุความจริงส่วนหนึ่งมาจากการพัฒนาประเทศแบบทุนนิยมที่ต้องการให้ ประเทศก้าวไปสู่ความร่ำรวย"

"ปัญหาที่ดินมีความซับซ้อนมาก เกี่ยวข้องกับคนหลายพวก หลายกลุ่ม หลายหน่วยงาน ทั้งนายทุน นักการเมือง ราชการ ดังนั้นหากจะแก้ต้องเน้นทุกเรื่อง โดยเฉพาะการคอร์รัปชั่นจากผู้มีอิทธิพล ซึ่งจากที่รัฐบาลประกาศว่าจะแก้ไขนั้น คงไม่สำเร็จ แต่คนที่จะมีพลังผลักดัน มากที่สุดคือประชาชน"

"เพื่อให้เกิดการ ปฏิรูปประเทศ สิ่งจำเป็นคือการมีสภาประชาชนเป็นศูนย์รวม ส่งเรื่องให้รัฐบาลจะชัดเจนมากที่สุด"

พร้อมกันนี้มีวาระแนบท้ายที่ ทั้งภาคเอกชน นักธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน ที่ยังหาช่องทางในการมีส่วนร่วมไม่ได้

ดังนั้น เป้าหมายการปฏิรูปที่ต้องการ ทั้งการกระจายรายได้ การจัดทำระบบภาษีที่ดิน ภาษีมรดก หรือการสร้างความ เท่าเทียมกันในทางสังคม อาจถูกร่างจากฝ่ายรัฐและฝ่ายที่เห็นด้วยกับรัฐเท่านั้น

ยิ่งจะทำให้ ข้อครหาว่าพรรคประชาธิปัตย์ ใช้วาระปฏิรูปเพื่อหาเสียง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนให้สามารถกลับมาเป็นรัฐบาลได้อีกวาระ หรืออย่างน้อยที่สุดก็จะทำให้ยืดเวลาอายุรัฐบาลนี้จนครบวาระสุดท้าย

ไม่ ต่างอะไรกับสมัยปฏิรูปของพรรคไทยรักไทยและทักษิณ ที่ชูแคมเปญ 4 ปีซ่อม 4 ปีสร้าง ในช่วงโค้งสุดท้ายของการเป็นรัฐบาล เพื่อหาเสียงด้วยวาระผูกพันล่วงหน้า

คราวนี้พรรคประชาธิปัตย์จึงอาจ ต้องมีแคมเปญประชาธิปัตย์ 2 ปีซ่อม 3 ปีปฏิรูป

view