สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผู้ ส่งไม้-ผู้รับไม้ในธุรกิจครอบครัว (จบ)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ HC Conner

โดย อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการเอพีเอ็ม กรุ๊ป



Effective Transitions คือจะส่งไม้ต่ออย่างไรให้สำเร็จ ?

ตรงนี้เป็นคำถามที่ ต้องการคำตอบว่า เวลาเราพูดถึงการส่งต่อที่สำเร็จจะต้องเป็นอย่างไร ฉะนั้นในคำถามที่ต้องการคำตอบตรงนี้ ดิฉันจึงขออธิบายว่า เราจึงจำเป็นต้อง succession management ซึ่งเป็นส่วนสำคัญมาก ๆ เพื่อให้พร้อมทั้งใจ สมอง และการเตรียมพร้อม ถ้าไม่เข้าใจ จะยากมาก

- ต้องมีข้อตกลงกัน ถ้ามีคนในครอบครัวเยอะ ต้องตกลงกันว่าใครทำอะไร และจะวางตัวอย่างไรในองค์กร จุดสำคัญคือวันนี้เราเดินเข้าไปที่บริษัทใดแล้วมีคนเก่ง ๆ เยอะ แสดงว่าผู้นำองค์กรนั้นเก่งจริง

แต่ถ้าไปที่ไหน มีแต่คนที่ไม่ค่อยเก่ง ก็ต้องกลับมาดูว่า วิธีการวางตัว style ของเจ้าของ และญาติพี่น้อง ทำกันแบบไหน เพราะยุคนี้คนเก่งสามารถเลือก ที่ที่จะทำงานได้

- ต้องมีกฎกติกาในครอบครัวว่าการ คิดต่างนั่นไม่ใช่ว่าผิด หรือถูก เพราะต่างลักษณะงานก็ต่างมุมมอง ถ้าไม่มีข้อตกลง จะทำให้เกิดปัญหาในครอบครัว ยกตัวอย่าง เช่น ธุรกิจครอบครัวในอินเดียมีปัญหาตรงนี้มากที่สุด และจากผลวิจัยทำให้ธุรกิจมากมายต้องแตกกันในหมู่พี่น้อง เพราะแยกเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวไม่ได้

- อย่าพยายามคิดว่ามีแค่ 1 คนที่จะแทนรุ่นพ่อรุ่นแม่ได้ ลูกหนึ่งคนอาจจะทำแทนทุกอย่างไม่ได้ ต้องดูว่าใครในครอบครัว ในองค์กร หรือข้างนอกที่จะมาช่วยธุรกิจได้ ยิ่งต้องต่อยอด ยิ่งต้องการคนช่วยมาก

นี่คือสิ่งที่ควรทำเพื่อให้การ ส่งไม้ต่อประสบความสำเร็จ

ในมุมตรงข้าม สิ่งที่เจอชัดเจนว่าทำแล้วไม่สำเร็จในเรื่องของการส่งไม้ต่อ คือ

- ไม่ได้วางแผน succession planning ถึงเวลาก็ให้ลูกมาเรียนระหว่างทาง โดยไม่มีแผนอะไร ไม่ได้มองไกล ๆ ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง แล้วจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

- ยอมรับความแตกต่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดเยอะที่สุด แต่ทำยากที่สุด เวลาที่เราจะให้คนอีกรุ่นหนึ่งมาดูแล เราต้องตัดใจให้ รุ่นหลังดูแล ส่วนรุ่นที่จะมาดูแล ก็ต้องดูว่าตรงไหนเราพร้อมหรือไม่พร้อม และเวลางานต้องไปคุยกันแบบครอบครัว แต่ให้คิดว่ากำลังประชุมเรื่องงานอยู่ในบริษัท

- หาข้อแนะนำที่ดี หามุมมองที่หลากหลาย จากการทำวิจัยในรุ่นลูก และรุ่นหลานที่ทำได้ดีกว่ารุ่นแรก พบว่าเป็นคนชอบหาวิธีการใหม่ ๆ ลงไปคุยไปพูดกับพนักงานและหาความรู้ใหม่ ๆ เสมอ

ขณะเดียวกันแล้วสิ่ง ที่ขาดไม่ได้ใน process ของการทำ succession planning น่าจะเป็น 3 ประเด็นหลักอันเป็นจุดเริ่มต้นในการส่งไม้ต่อ คือ

- บทบาทและหน้าที่ที่ชัดเจน หลาย ๆ ครั้งเราเขียนบทบาทและหน้าที่ให้แก่พนักงาน แต่สำหรับลูกนั้นเรากำหนดไว้น้อยมาก และควรที่จะต้องมีการเพิ่มเติมทุกปี ต้องลงไปให้ชัดว่ารุ่นลูกนั้นทำอะไรได้ รับผิดชอบตรงไหน และพนักงานรู้หรือไม่ว่าเรื่องไหนควรไปที่ใคร

- เซตความคาดหวัง หลาย ๆ ครั้งเราทำเหมือนคนในครอบครัวเกินไป เราต้องตั้งเป้าหมายในแต่ละปีให้ชัดว่ารุ่นพ่อกับแม่อยากจะเห็นอะไร

- การพูดเรื่องธุรกิจอย่างโปร่งใสตรงไปตรงมา คุยกันเพื่อให้รุ่นลูกรู้จริง ๆ ว่าธุรกิจตอนนี้อยู่ในสภาพไหน เพื่อที่จะได้บริหารถูกต้อง เพราะจากงานวิจัยพบว่ารุ่นแรกมีการบอกน้อยมากถึงสภาพจริง ๆ ของธุรกิจในปัจจุบัน

ฉะนั้นการส่งไม้ต่อให้ประสบความสำเร็จจึงต้องมี องค์ประกอบเหล่านี้ คือ

- ต้องมาดูว่าทีมบริหารในรุ่นปัจจุบัน มีใครบ้าง และทีมบริหารคนไหนสามารถทำงานกับรุ่นลูกได้บ้าง ไม่เกี่ยวกับผิด ถูก แต่เป็นเรื่องของ style ที่ต่างกัน นอกจากดูเรื่องคนรับไม้ต่อ ต้องดูเรื่อง ของทีมบริหารด้วย

ถ้าเราไม่เลือกคนที่ทำงานร่วมกับ รุ่นลูกได้ เปรียบไปก็เหมือนคนร้องกันคนละเพลง เวลาประชุมกัน รุ่นลูกก็พูดไป แต่ทีมงานกลับออกไปทำเหมือนเดิม เราเตรียมรุ่นลูกให้ดี แต่เราเคยสร้างหรือเตรียมทีมงานสำหรับทำงานกับรุ่นต่อไปหรือเปล่า ไม่ใช่แค่ตัวคนเท่านั้น รวมไปถึงวิธีการด้วย

- ธุรกิจครอบครัวต้องเริ่มดูแลถึงความก้าวหน้าของคนในองค์กร (career management) สำคัญไม่น้อยกว่าการดูแลวางแผนให้รุ่นลูก เราต้องมานั่งมองภาพแบบองค์รวมว่า เมื่อถึงจุดจุดหนึ่งคนเก่งก็สามารถเลือกที่จะไปกับกับองค์กรอื่นได้

- สรุปคือไม่ใช่แค่เตรียมรุ่นลูก แต่ต้องเตรียมทีม และวิธีการใหม่ ๆ ระบบใหม่ ๆ ที่ตอบสนองคนรุ่นใหม่ด้วย ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่ทำไมคนรุ่นใหม่จึงออกกลยุทธ์ใหม่ ๆ วิธีใหม่ ๆ แต่ขับเคลื่อนได้ช้ามาก เนื่องจากเรามีอะไรใหม่ ๆ ความคิดใหม่ ๆ แต่ยังทำงานกับคนแบบเดิม ดังนั้นอย่าคิดว่ารุ่นลูกทำได้หรือเปล่า เพราะบางครั้ง ไม่ได้เกี่ยวกับศักยภาพของรุ่นลูก แต่เกี่ยวกับทีม เพราะเขาไม่ได้ร้องเพลงเดียวกัน

สุดท้ายในเรื่องของการสร้าง next generation ที่จะต้องมีวิธีการสร้าง 10 ประเด็นหลัก ๆ ประกอบด้วย

- คนในองค์กรอยากให้เราเข้าหาในฐานะคนมีความสามารถ ไม่ใช่ลูกเจ้าของ ดังนั้นจะทำอย่างไรให้เขายอมรับความสามารถของเรา

- ต้องกล้ายอมรับว่าเราก็ไม่ได้ perfect มีพฤติกรรมอะไร หรือวิธีคิดอะไรของเราที่คนในบริษัทยอมรับไม่ได้หรือเปล่า และนั่นจะทำให้เราดูแลรักษาคนไม่ได้ เพราะการได้ใจคนสำคัญมาก

- ต้องหาคำปรึกษาจากทั้งในองค์กรและนอกองค์กร เราต้องเข้าใจก่อนว่าเราไม่ได้รู้ทุกอย่าง และเราเองต้องชัดเจน ไม่กลัวที่จะบอกว่าไม่รู้ และแสวงหาคำตอบ

- การสร้างความสัมพันธ์กับคนในองค์กรเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ จะทำอย่างไร ที่จะให้การพัฒนาความสัมพันธ์กับคนในองค์กรดีขึ้น การทำธุรกิจไม่ใช่แค่เดิน เข้ามาแล้วเป็นทุกอย่างเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง แต่จุดที่จะทำให้สำเร็จคือได้ใจคนในองค์กร เราต้องลงไปอยู่กับพนักงานให้มากขึ้น

- พยายามสร้างบรรยากาศให้ดูเป็นมืออาชีพ เพื่อไม่ให้คนอื่นมองว่าเราเด็กมาก

- ถึงแม้ว่าเราจะเข้ามารับกับคุณพ่อ คุณแม่ แต่เราก็ต้องมีข้อตกลง มีเป้าหมาย เราไม่ใช่แค่ชนะใจคนจากการแค่เข้าไปด้วยความสัมพันธ์ แต่จะต้องเป็นผลงานที่จับต้องได้

- ต้องรู้และชัดเจนว่าบทบาทของเรา คืออะไร ไม่ใช่มาบอกว่าไม่มีบทบาทแต่มาเรียนรู้ทั้งหมด ดังนั้นเราต้องชัดเจนว่ามาดูแลพนักงาน ดูแลลูกค้า หรือหาโอกาสใหม่ ๆ โดยมีตัววัดผลชัด

- ต้องมี process การทำงานที่ชัดเจน

- สร้างความไว้ใจ สร้างความน่าเชื่อถือ และต้องแสดงออกให้คนเชื่อถือ และไว้ใจได้ ตรงนี้ไม่ใช่เรื่องสร้างกันง่าย ๆ ในเวลาสั้น ๆ ดังนั้นจะต้องอย่าให้พนักงานรู้สึกไม่มั่นใจว่าเป็นยุคแห่งความไม่แน่นอน

- เรื่องของ interpersonal skill ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับลูกน้อง เพราะยิ่งห่างมากก็จะยิ่งขับเคลื่อนยาก

เมื่อทำได้ทั้งหมดนี้ ผู้ส่งไม้ต่อธุรกิจและผู้รับไม้ต่อธุรกิจก็จะประสบความสำเร็จโดยไม่ยาก

view