สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผู้ว่าการธปท.คนใหม่ไม่พ้นมือ ประสาร

จาก โพสต์ทูเดย์

หากประมวลภาพจากผู้สมัครทั้ง 4 คนแล้ว การบริหารภายใต้ทุกสถานการณ์น่าจะไม่พ้นมือ...นายประสาร

โดย...ทีมข่าวการเงิน

ไม่เกินวันที่ 6 หรือ 13 ก.ค.นี้ คงได้เห็นหน้าค่าตาผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนใหม่ ที่จะมาทำหน้าที่แทน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. คนปัจจุบัน ที่จะเกษียณในเดือน ก.ย.นี้ หลังจากนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นำเสนอรายชื่อผู้ว่าการ ธปท. ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบ

หลังจากให้นายเสนาะ อูนากูล ประธานคณะกรรมการสรรหา ไปดำเนินการคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสม จากผู้สมัครแข่งขันทั้ง 4 คนมาระยะหนึ่งแล้ว โดยการสรรหาผู้ว่าการ ธปท. ผ่านคณะกรรมการสรรหาคัดเลือกจากบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ถือเป็นครั้งแรกภายใต้ พ.ร.บ.ธปท.ฉบับใหม่ จากเดิมผู้ว่าการ ธปท. ต้องมาจากการแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเท่านั้น

สำหรับผู้สมัครทั้ง 4 คน ประกอบด้วย นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) นาย บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธปท. และนายพิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ถ้าดูจากคุณสมบัติและประสบการณ์ที่ผ่านมาของผู้สมัครทั้งหมดแล้ว จะเห็นว่าผู้ที่สูสีคู่คี่กันมาก คือ นายประสาร นายพิสิฐ และนายบัณฑิต เพราะดูจากจุดเด่นของบุคคลทั้งสาม ถือเป็นคนที่มีคุณลักษณะพิเศษ ด้านการมีหิริโอตตัปปะ กล้าตัดสินใจ มีทักษะในการบริหารสูงสำหรับสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งตรงกับลักษณะของผู้ว่าการ ธปท. ที่ควรมี

ประสาร

เนื่องจากการบริหารของธนาคารกลางต้องเอาผลประโยชน์ประเทศและประชาชนส่วน รวมเป็นที่ตั้ง มากกว่าการรับมือแรงกดดันทางการเมืองที่จะมากระทบ

และถ้าดูผลงานที่ผ่านมา การบริหารงานโดยการยึดประโยชน์ส่วนรวมแล้วมองว่ามีอยู่ 2 คนที่มีคุณสมบัติเข้าข่าย เพราะเคยมีประสบการณ์ในการรับมือในสถานการณ์ที่ถูกกดดัน แต่ก็สามารถผ่านมาได้ด้วยดี คือ นายประสาร ที่เคยต้านแรงกดดันในช่วงที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ก.ล.ต. ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งตอนนั้นนายประสารได้ฝากฝีมือการบริหารชั้นครูให้เห็นมาแล้ว อีกราย นายพิสิฐ ก็ถือว่ามีทักษะในการเอาตัวรอดจากการเมืองมาได้ในสมัยที่เป็น รมช.คลัง

ขณะที่ นายบัณฑิต แม้จะได้รับการยอมรับจากต่างประเทศในด้านความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์มหภาค สามารถมองสถานการณ์เศรษฐกิจไทยและต่างประเทศอย่างทะลุปรุโปร่ง แต่สาหัสในประสบการณ์เรื่องบริหารอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทในวิกฤตต้มยำ กุ้ง
ส่วนนายธีระชัย แม้จะโดดเด่นในฐานะนักบริหารมืออาชีพและได้รับการยอมรับจากต่างประเทศไม่ ต่างกัน เพราะมีจุดเด่นรอบด้านทั้งความรู้ความเชี่ยวชาญทางเศรษฐศาสตร์มหภาค การดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท และการดูแลระบบสถาบันการเงิน

ที่สำคัญ “ธีระชัย” เคยขึ้นเป็นถึงตำแหน่งรองผู้ว่าการ ธปท. ก่อนจะโยกไปเป็นเลขาธิการ ก.ล.ต. เรียกว่ามีประสบการณ์เชี่ยวชาญทั้งตลาดเงินและตลาดทุน แต่เมื่อดูคอนเนกชันหรือสายสัมพันธ์ทางการเมืองของนายธีระชัย กลับถูกมองว่ามีความสนิทแนบแน่นกับขั้วของพรรคไทยรักไทยมากกว่าประชาธิปัตย์ ส่วนนายบัณฑิตคอนเนกชันทางการเมืองไม่ชัดเจนแต่ประสบการณ์ด้านการบริหาร อัตราแลกเปลี่ยนไม่สวยนัก

อย่างไรก็ตาม หากดูจากคุณสมบัติสำคัญที่ผู้ว่าการ ธปท. ควรมี ในฐานะที่เป็นธนาคารกลางซึ่งต้องทำหน้าที่ดูแลอัตราเงินเฟ้อหรือระดับราคา สินค้าให้เหมาะสม ดูแลเสถียรภาพของค่าเงินบาท รวมถึงดูแลระบบสถาบันการเงินให้มีเสถียรภาพ สามารถเชื่อมโยงบทบาทของสถาบันการเงินให้ถึงระบบเศรษฐกิจ ถือเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่มาก เพราะมีผลกระทบกับส่วนรวมและประชาชนทุกระดับ

แต่ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ซึ่งทั้ง ธปท. และกระทรวงการคลังต่างมีมุมมองว่าเศรษฐกิจในปีนี้จะมีโอกาสเติบโตถึง 6% ท่ามกลางสภาพคล่องในระบบสูงอยู่มาก แต่เงินกลับไม่หมุนไปสู่ภาคธุรกิจและระบบเศรษฐกิจเท่าที่ควร ทำให้เศรษฐกิจไทยต้องอาศัยเงินอัดฉีดของรัฐบาลเป็นตัวผลักดันการขยายตัว เพราะฉะนั้นคุณสมบัติสำคัญของผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่จะต้องมีมากกว่าที่พึงมี โดยเฉพาะใ

ส่วนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องการมากเป็นพิเศษ และต้องการให้ผู้สมัครแสดงวิสัยทัศน์ในการบริหารงานหลักๆ 3 ด้านคือ

1.ทิศทางการบริหารอัตราดอกเบี้ย เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนอยู่ได้อย่างไม่เดือดร้อนได้อย่างไร 2.แนวทางการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน และ 3.นโยบายการบริหารสถาบันการเงิน ที่นอกจากจะทำให้มีความแข็งแกร่งมีเสถียรภาพแล้ว ต้องสนับสนุนให้สถาบันการเงินทำธุรกิจ ภายใต้แนวนโยบายให้ความคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น

“ผู้ว่าการ ธปท.คนใหม่ต้องดูแล ไม่ให้สถาบันการเงินเอาเปรียบผู้บริโภค ไม่คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมสูงจนเกินไป ผู้สมัครต้องแสดงให้เห็นถึงแนวทางที่จะทำให้สถาบันการเงินในระบบไม่เอา เปรียบ ไม่ค้ากำไรเกินควรด้วย”

สรุปหน้าที่ผู้ว่าการ ธปท. ต้องบริหารจัดการโดยมุ่งประโยชน์ประชาชนเป็นศูนย์รวม สะท้อนภาพนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ยึดประโยชน์ของนายทุน หรือมุ่งรักษาเก้าอี้ไม่ให้สั่นคลอนเป็นสำคัญ

มากไปกว่านั้นการทำหน้าที่ของผู้ว่าการ ธปท. จะต้องไม่ใช่ทำงานตามหน้าที่ไปวันๆ เช่น ในการดูแลอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะสั้น 1 วัน (อาร์พี) หรือดอกเบี้ยนโยบายที่ควรชี้นำทิศทางดอกเบี้ยในตลาด ไม่ใช่ตามตลาด ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ 1.25%

แต่เพดานการคิดดอกเบี้ยบัตรเครดิตและดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลของระบบ ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นันแบงก์) กลับสูงลิ่ว 20% และ 28% อยู่เท่าเดิม ทั้งที่ต้นทุนการเงินถูกลง ทำให้กำไรของธนาคารและนันแบงก์สูงต่อเนื่องไม่มีตกหล่น แม้สินเชื่อจะขยายตัวไม่มากก็ตาม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนว่า การสรรหาผู้ว่าการ ธปท. นั้นไม่ได้ต้องการคนเก่ง คนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ตามบทบาทหน้าที่ที่ควรจะเป็นในฐานะผู้ว่าการ ธปท.เท่านั้น

แต่ต้องการบุคคลที่มีความสามารถ ในการรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยยังยึดประโยชน์ในการคุ้มครองประชาชนผู้บริโภคได้ ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถเชื่อมสถาบันการเงินให้สร้างประโยชน์ต่อระบบ เศรษฐกิจและประชาชนได้ด้วย ไม่ใช่ว่าแข็งแกร่งอย่างเดียวแต่ไม่ส่งเสริมเศรษฐกิจภาพรวมและความเป็นอยู่ ของประชาชน

ทั้งหมดทั้งมวลผู้ว่าการ ธปท. ที่รัฐบาลนี้ต้องการ ควรมีทั้งศาสตร์และศิลป์ในการบริหาร เพราะนอกจากจะต้องรักษาประโยชน์ประชาชนส่วนรวมโดยที่ต้องไม่ทำให้ผู้ประกอบ การในธุรกิจสถาบันการเงินขุ่นเคืองแล้ว ยังต้องเชื่อมโยงและสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลได้ด้วย ถือเป็นงานหินทีเดียว

แต่เมื่อพิจารณาจากคุณสมบัติที่แต่ละคนมีไม่อ่อนด้อยไปกว่ากันมากนัก ประกอบกับการดูคอนเนกชันทางการเมืองและดูประสบการณ์งานบริหารที่เคยประสบ ความสำเร็จได้รับการยอมรับด้วยดีแล้ว ภาษีของนายประสารฉายแววมากกว่าผู้สมัครคนอื่น เพราะมีประสบการณ์ในการบริหารงานภายใต้แรงกดดัน ผลงานที่ออกมาสู่สาธารณชนก็เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และที่สำคัญเป็นคนที่มือสะอาด บริหารงานโดยมุ่งหวังผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

ดังนั้นหากประมวลภาพจากผู้สมัครทั้ง 4 คนแล้ว การบริหารภายใต้ทุกสถานการณ์น่าจะไม่พ้นมือ...นายประสาร

view