สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โซเชียลมีเดีย กำลังเปลี่ยนโฉมการบริโภคข่าวสาร

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ตั้งแต่โซเชีย ลมีเดียเกิดขึ้นมาจนถึงวันนี้ หน้าที่ของมันเปลี่ยนไปจนแทบไม่เหลือเค้า เช่นเฟซบุ๊คที่กลายเป็นช่องทางหลักสำหรับการบริโภคข่าวสาร
ปัจจุบันสื่อสังคมหรือโซเชียลมีเดีย (Social media) เช่นเฟซบุ๊คหรือทวิตเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในสังคม โดยเฉพาะในการบริโภคข้อมูลข่าวสารเวลาเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง เช่นที่อิหร่านเมื่อปีที่แล้วที่สื่อกระแสหลักถูกรัฐควบคุม ในเมืองไทยเองเหตุการณ์ความรุนแรงช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาก็ถือว่าสื่อ สังคมมีส่วนสำคัญในการนำเสนอข่าวสารซึ่งรวดเร็วกว่าสื่อกระแสหลักเช่นทีวี หรือหนังสือพิมพ์มาก

สื่อสังคมเป็นสื่อที่ใครๆ ก็นำเสนอข่าวได้หรือที่เรียกว่าผู้สื่อข่าวประชาชน ปัญหาของสื่อสังคมคือการที่ใครๆ สามารถนำเสนอข่าวทำให้มีทั้งข่าวเท็จ และข่าวที่เกินจริง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความแตกแยกมากกว่าสมานฉันท์
ซึ่ง ธุรกิจบัณฑิตย์โพลทำการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วยการสอบถามโยตรงและทางออนไลน์ พบว่าร้อยละ 42 เชื่อว่าสื่อสังคมช่วยสร้างความแตกแยกในสังคมให้มากขึ้น และร้อยละ 30 เชื่อว่าสื่อสังคมช่วยสร้างความสมานฉันท์

อย่างไรก็ตามร้อยละ 56 ไม่แนใจว่าข่าวจากสื่อสังคมเป็นข่าวลวงหรือจริงมากกว่ากัน และส่วนใหญ่(ร้อยละ 26) ให้ความเชื่อถือข่าวเพียงครึ่งเดียวจากสื่อสังคม

นายนภพัฒน์จักษ์ อัตตนนท์ ผู้สื่อข่าวจากเนชั่นแชนแนล หนึ่งในผู้ที่ใช้ทวิตเตอร์ในการสื่อข่าวและมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากกล่าวถึง เรื่องนี้ว่าต้องดูก่อนว่าสังคมมันแตกแยกอยู่แล้วหรือไม่ บทบาทของสื่อสังคมในช่วงวิกฤตทางการเมือง เป็นหมือนทั้งพระเอกและผู้ร้ายพร้อมๆ กัน ขึ้นกับคนฟังมากกว่า เพราะข่าวเดียวกันมีทั้งคนชอบและไม่ชอบ ถ้าเป็นข่าวที่คนนั้นชอบ นักข่าวก็จะกลายเป็นพระเอก  ในทางกลับกันหากเป็นข่าวที่คนนั้นไม่ชอบ นักข่าวก็จะกลายเป็นผู้ร้าย

“สื่อเองก็ต้องทบทวนบทบาทตนเองบ่อยๆ” นายนภพัฒน์จักษ์กล่าวและว่า “บางทีเรากดข่าวที่แรงเกินไป ก็กลับมีคนมาบอกว่าในฐานะสื่อต้องแสดงออกมาหมด”

นายนภพัฒน์จักษ์กล่าวว่าหน้าที่ของสื่อคือต้องนำเสนอแต่ความจริง ต้องสื่อให้มากที่สุด ต้องยอมรับว่าในบางสถานการณ์นักข่าวสามารถเปลี่ยนมุมมองของข่าวได้ แต่ข้อดีของทวิตเตอร์คือการรวมตัวกันของผู้ติดตามและคนที่ติดตามเหล่านี้จะ เป็นตัวกรองข่าวที่ดี เพราะจะคอยเช็กได้เวลานักข่าวเขียนผิด คนที่รายงานข่าวเท็จบ่อยๆ ความน่าเชื่อถือจะลดลงไปเอง สรุปแล้วสามารถกรองข่าวในระดับหนึ่งด้วยจำนวนคน

“ถ้าหากผมยังไม่มีคนเชื่อถือเหมือนตอนนี้ คนอื่นจะมากรอง การเป็นนักข่าวก็ต้องกรองเองอยู่แล้ว เช่นเราจะไม่บอกว่าระเบิดเอ็ม79 ลง บอกแค่ว่าเสียงระเบิดเหมือนเอ็ม 79” นายนภพัฒน์จักษ์กล่าว

นายนภพัฒน์จักษ์กล่าวว่าในการรายงานข่าวจะต้องเขียนให้อารมณ์ความรู้สึก น้อยกว่าอารมณ์จริง ตนเคยทำผิดพลาดที่เหตุปะทะที่ตลาดไท ตนได้ยินตำรวจคนหนึ่งบอกว่าสะใจที่ทหารตายเลยอัดวีดีโอแล้วนำไปเผยแพร่ ปรากฏว่าคลิปนั้นสร้างอารมณ์ให้คนรับข่าวมากเกินไป บางคนบอกมันเป็นใครจะไปจัดการ สุดท้ายก็เอาคคลิปนั้นออกไป ตอนนี้ทางเนชั่นกำลังร่างจริยธรรมการใช้สื่อสังคมในการเสนอข่าว

 “บางคนไม่คิดจะกรองข่าวเลย ไปตัดต่อคลิปแล้วก็เผยแพร่ คือจะหลอกลวง ของเราถึงไม่ได้ตัดต่อก็ต้องกรองออกอยู่ดี เช่นมันจะเป็นการละเมิดคนอื่นหรือไม่” นายนภพัฒน์จักษ์กล่าว

ส่วนการอาผิดคนปล่อยเรื่องเท็จนายนภพัฒน์กล่าวว่าจะเป็นเรื่องลำบากมาก เพราะ ในสื่อสังคมมีทั้งคนจริงเช่นสิทธิชัย หยุ่น และคนปลอม

ส่วนนายพงศ์พัฒน์ เกิดอินทร์ ตัวแทนของกลุ่ม ทวิตเตอร์ฟอร์ไทยแลนด์ (Twitter for Thailand) กล่าวว่า เชื่อว่าสื่อสังคมสามารถสร้างความสมานฉันท์ได้ ตัวทวิตเตอร์เองมีพลังเยอะมาก เช่นตอนวันเฉลิมพระชนม์พรรษา คำว่า We Love King กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในโลกในทวิตเตอร์ ทั้งที่คนไทยที่เล่นทวิตเตอร์เป็นส่วนน้อยมากของประชากรทวิตเตอร์ทั้งโลก

กลุ่มทวิตเตอร์ฟอร์ไทยแลนด์เป็นการรวมกลุ่มกันของคนที่ทำสิ่งดีๆ เพื่อชาติเพื่อสังคม เคยมีการนัดพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทางเพื่อเตรียมทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ

อย่างไรก็ตามนายพงศ์พัฒน์กล่าวว่า สื่อสังคมคงไม่ยิ่งใหญ่ขนาดทำให้เกิดการสมานฉันท์ แต่สื่อสังคมสามารถช่วยให้เกิดการสมานฉันท์ได้ ทวิตเตอร์ดีตรงที่รวมตัวหรือความเห็นได้รวดเร็วมาก ถ้ารวมตัวทำดีก็สามารถทำดีได้มหาศาล เช่นโครงการ “รัก ณ สยาม” ที่ศิลปินนักร้องจัดคอนเซิร์ตการกุศลเพื่อช่วยเหลือร้ายค้ารายย่อยย่านสยาม แสควร์
ในเรื่องบทบาทของสื่อสังคมในช่วงวิกฤตการเมือง นายพงศ์พัฒน์กล่าวว่าเรื่องนี้ต้องมองรอบด้าน เพราะถึงแม้ทวิตเตอร์จะมีพลังมากแต่บางครั้งข่าวที่ส่งกันก็เชื่อถือได้แค่ ครึ่งเดียว ซึ่งตนก็จะไม่ส่งต่อไปเพราะไม่อยากให้เกิดความไม่แน่นอน

ในการสำรวจของธุรกิจบัณฑิตย์โพลระบุอีกว่าผู้ตอบแบบสอบถามติดตามเรื่อง ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับนปช. ผ่านเฟซบุ๊คมากที่สุดถึงร้อยละ 39 รองลงมาคือยูทูบร้อยละ16และไฟว์ร้อยละ 15 อย่างไรก็ตามผู้ตอบแบบสอบถามก็ยังรับข่าวสารจากสื่อกระแสหลักอยู่และร้อยละ 72 ของผู้ตอบแบบสอบถามทางออนไลน์ชื่อว่าสื่อสังคมถูกกลุ่มบุคคลใช้เป็นเครื่อง มือแสวงหาผลประโยชน์ทางการเมือง

“อนาคตสื่อสังคมจะขยายขึ้นอีกแต่คงไม่สามารถแทนที่สื่อกระแสหลัก เพราะข่าวในสื่อสังคมส่วนใหญ่มาจากสื่อกระแสหลักอีกที เช่นวิทยุ ทีวี หนังสือพิมพ์อีกที แต่สื่อสังคมทำให้เราเลือกที่จะรับข่าวสารได้ และมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น” นายพงศ์พัฒน์กล่าว

ในเรื่องการควบคุมเนื้อหาในสื่อสังคมนายพงศ์พัฒน์กล่าวว่ากรณีที่มีการทำ ผิดพลาดแล้วออกมายอมรับก็มีอยู่ ในกลุ่มทวิตเตอร์ฟอร์ไทยแลนด์ก็เคยคิดกันเรื่องการเซ็นเซอร์ แต่เห็นว่าคงจะเป็นไปได้ยาก เพราะทวิตเตอร์เป็นสิ่งที่เสรีมากและไม่มีผู้ทำหน้าที่กรองเนื้อหา  บางครั้งอาจมีการตัดต่อปลอมแปลงข้อความก่อนส่งต่อ การตรวจที่มาที่ไปของสารจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคนรับสาร

ผศ.ดร.กุลทิพย์ ศาสตระรุจิ ผู้อำนวยการนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่าสื่อสังคมเป็นได้ทั้งผู้ร้ายและพระเอกเช่นเป็นผู้ร้ายหากใช้โฆษนา ชวนเชื่อ บางคนบอกว่าสื่อสังคมเป็นผู้กำกับเช่นกลุ่มเฟซบุ๊คที่เรียกร้องให้ยุบและไม่ ยุบสภา พวกเว็บบอร์ดที่กลายเป็นเครื่องมือก็มีเยอะ เพราะเว็บบอร์ดมีกลุ่มคนอยู่แล้ว การเอาเรื่องเข้ามาปลุกปั่นก็จะง่าย ที่สำคัญผู้บริโภคต้องเท่าทันสื่อ เพราะเดี๋ยวนี้มีการใช้เฟซบุ๊คในการประชาสัมพันธ์พรรคการเมืองหรือภาพลักษณ์ รัฐบาล สื่อสังคมก็จะตกเป็นเครื่องมือได้

บางครั้งนักข่าวสื่อกระแสหลักก็เอาข่าวจากสื่อสังคมไปนำเสนอโดยไม่ได้ กรอง ซึ่งเรื่องพวกนี้ผู้บริโภคจะต้องคอยระวัง แต่ท้ายทีสุดแล้วสิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับผู้รับสารก่อน ต้องเชื่อว่าผู้ใช้สื่อสังคมเป็นพลังบริสุทธิ์ ต้องเชื่อมั่นในผู้บริโภคและช่วยกันตรวจสอบ การใช้ภาพและภาษาที่จะดึงดูดก็อาจทำให้เกิดการใช้ภาพที่ไม่หมาะสมได้ ดังนั้นสังคมต้องเอาพวกดีเข้ามา และเอาพวกที่ไม่ดีออกไปจากสื่อสังคม

ส่วนเรื่องที่บางคนบอกว่าสื่อสังคมจะเป็นผู้เขียนบทของสังคม ผศ.ดร.กุลทิพย์กล่าวว่าคงเป็นไปไม่ได้ เพราะความจริงทุกคนเขียนเองได้ มันเป็นกฎของประชาธิปไตยที่ประชาชนต้องเป็นผู้ออกแบบสังคมเอง

นายนภพัฒน์จักษ์ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่าคงยาก  ถ้ามองจากบทบาท ณ ปัจจุบันนั้น ตนไม่ได้อยากเป็นผู้เขียนบท แค่เป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค

ในสังคมแตกแยกเล้วจะใช้สื่อเพื่อสร้างความสมานฉันท์อย่างไร มันยากเพราะที่สื่อเสนอความจริง สามเดือนที่ผ่านมาความจริงทำให้เกิดการแตกแยก สื่อก็ลำบาก ต้องระวังเรื่องความเห็น  ตอนจะเริ่มเจรจากันตนถึงกล้าให้ความเห็นว่าการเจรจาเป็นความหวังสูงสุดของ ประเทศ หรือย่างตอนวันที่ 18 มิ.ย. ก่อนการสลายการชุมนุมซึ่งหน้าเวทีมีแต่เด็กและผู้หญิง ตนก็นำเสนอข่าวนี้ไปให้รัฐบาลรู้ว่าสภาวะการณ์เป็นอย่างไร และให้แกนนำรู้ว่าประชาชนทุกคนรู้ว่าเช่นกันว่าที่ชุมนุมเต็มไปด้วยเด็กและ ผู้หญิง

หลังจากเหตุการณ์ความไม่สงบผ่านพ้นไป ดูเหมือนว่าบทบาทด้านการเมืองของสื่อสังคมก็ค่อยๆ ซาลงเช่นกัน แต่ในอนาคตสื่อสังคมคงจะมีบทบาทในด้านการเมืองเพิ่มขึ้น นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว. กระทรวงไอซีทีเคยออกมากล่าวว่าจะให้สส. และสว. ทุกคนมีทวิตเตอร์ ปัจจุบันนักการเมืองหลายคนใช้เฟซบุ๊คและทวิตเตอร์เช่นนายกฯอภิสิทธิ์และใน อนาคตคงจะมีนักการเมืองอีกมากที่หันมาใช้สื่อสังคมเช่นเดียวกัน

view