สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดโลกบนทางสองแพร่ง เดินหน้า กระตุ้น ศก. หรือ รัดเข็มขัด

จากประชาชาติธุรกิจ



ผู้กำหนด นโยบายเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกกำลังเดินตามกระแสฮิตของยุคนี้คือเดิน หน้า "มาตรการรัดเข็มขัด" หลังจากเมื่อปีกลายบรรดาผู้นำกลุ่ม จี 20 เป็นผู้ใช้ทั้งมาตรการการเงินและ การคลังมูลค่ามหาศาล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ หรือใช้มาตรการกระตุ้นทางภาษี ซึ่งมีมูลค่ารวมคิดเป็น 2% ของ จีดีพีโลกเพื่อขับเคลื่อนการบริโภค

แต่ จากการประชุมเมื่อปลายเดือนผ่านมา บรรดาผู้นำต่างให้คำมั่นว่าอย่างน้อยพร้อมจะลดการขาดดุลงบประมาณ ลง 50% ในปี 2556 หลังจากที่วิกฤตหนี้สาธารณะของกรีซได้สร้างความหวั่นวิตกแก่บรรดานักการ เมือง จะทำให้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มหลุดเทรนด์ แต่ถูกแทนที่ด้วยกระแสการลดการขาดดุลงบประมาณ

ดิ อีโคโนมิสต์ ชี้ว่า เทรนด์ดังกล่าวเห็นชัดเจนมากที่สุดในยุโรปในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทุกแห่งต่างประกาศลดการใช้จ่าย พร้อมขึ้นภาษี อาทิ เยอรมนี หนึ่งในผู้สนับสนุนมาตรการรัดเข็มขัด เผยแผนรัดเข็มขัดในระยะสั้นมูลค่าราว 0.4% ของจีดีพีในปีหน้า ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับปานกลาง ขณะที่ สเปน ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของยุโรป ถูกแรงกดดันจากตลาดการเงิน ทำให้ต้องเร่งเดินหน้ามาตรการรัดเข็มขัดขนานใหญ่อย่างทันที ด้าน อังกฤษ ก็เลือกเส้นทางนี้เช่นกัน โดยให้คำมั่นว่าจะลดการใช้จ่ายคิดเป็น 2% ของจีดีพีในปี 2554

ฟาก สหรัฐ เผยว่า เมื่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหมดอายุลง หมายความว่าสหรัฐจะลดการใช้จ่ายราว 1.3% ของจีดีพี ในปีหน้าหรือสูงกว่านั้น หากสภาคองเกรสตัดสินใจไม่ขยายมาตรการลดภาษีที่เริ่มมาตั้งแต่ยุค ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช

นับถึงปัจจุบันดูเหมือนว่าประเทศ ร่ำรวยตั้งเป้าจะปรับมาตรการด้านงบประมาณ รวมกันคิดเป็นประมาณ 1% ของจีดีพีซึ่งถือเป็นการลดลงของงบประมาณพร้อม ๆ กันครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 4 ทศวรรษ

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของแต่ละประเทศแตกต่างกัน ดังนั้นความพยายามใช้ "ยาสูตรเดียว" กับทุกสถานการณ์อาจมีประสิทธิภาพไม่ดีพอ และไม่เหมาะสม โดย โรเบิร์ต แมคเทียร์ สมาชิกของศูนย์วิเคราะห์นโยบายของสหรัฐ อธิบายในฟอร์บส์ ว่า ต้องตระหนักว่าปัญหาในสหรัฐและเขตยูโรโซนที่ต้องรับการแก้ไขนั้นไม่ได้ เหมือนกันทั้งหมด แม้ว่าทั้งคู่ต้องอาศัยการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ก็มีปัญหาการขาดดุลงบประมาณและระดับหนี้ที่ต้องปรับลด

มาตรการ กระตุ้นการเติบโตในยุโรปอาจจำเป็นและสำคัญ ขณะที่การลดการขาดดุลงบประมาณเป็นเรื่องเร่งด่วน ดังนั้นจำเป็นต้องจัดการกับเรื่องเร่งด่วน ก่อนจะดำเนินการกับเรื่องสำคัญ

ขณะ เดียวกัน การลดการขาดดุลงบประมาณ และปรับลดการเติบโตของหนี้สาธารณะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดสำหรับสหรัฐ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนเหมือนกับยุโรป ซึ่งอาจเป็นเพราะดอลลาร์มีบทบาทเป็นสกุลเงินสำรองต่างประเทศ

นอกจาก นี้ ยังเห็นสัญญาณว่าการฟื้นตัวของสหรัฐอาจชะลอตัว และน่าจะเกิดภาวะเงินฝืด มากกว่าเงินเฟ้อ อีกทั้งดอลลาร์ก็แข็งค่าขึ้น มากกว่าจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ ด้วย

ด้าน นักวิจารณ์แนวคิด Keynesian หรือแนวคิดที่ให้รัฐบาลควบคุมเศรษฐกิจประเทศผ่านมาตรการการเงินและภาษี มองว่า การหันมารัดเข็มขัดการใช้จ่ายเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ โดย พอล ครุกแมน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล แสดงความคิดเห็นใน นิวยอร์ก ไทมส์ ว่า ในภาวะที่อัตราการว่างงานสูง และการผลิตยังต่ำกว่าศักยภาพที่ดี ขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนยังอ่อนแอและอัตรา ดอกเบี้ยต่ำใกล้ศูนย์ เขามองว่ามาตรการกระตุ้นทางภาษียังเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับเศรษฐกิจ และหากลดการขาดดุลงบประมาณตอนนี้เศรษฐกิจจะซบเซาและภาวะเงินฝืด

ต่าง จากฝ่ายสนับสนุนมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลต่าง ๆ ที่เชื่อว่ามาตรการนี้เป็นสิ่งจำเป็นและเหมาะสม เพราะการใช้จ่ายแบบขาดดุลไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ตลอด ดังนั้นการกระตุ้นความเชื่อมั่นภาคครัวเรือนและบริษัท พร้อมลดพรีเมี่ยมความเสี่ยงของหนี้รัฐบาล และงบการเงินรวมที่ออกแบบอย่างดีจะช่วยกระตุ้นการเติบโตได้

สอด คล้องกับความคิดของ ฌอง คล็อด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ที่สนับสนุนว่า มาตรการประหยัดงบประมาณจะเพิ่มการใช้จ่ายภาคเอกชน โดยลดความไม่แน่นอนของหนี้สาธารณะและนโยบายภาษีของรัฐบาล

ขณะที่ฝั่ง สนับสนุนนโยบายนี้อ้างกรณีตัวอย่างในยุค 1990 ที่ประเทศต่าง ๆ เช่น แคนาดาและสวีเดนลดการขาดดุลงบประมาณ และเศรษฐกิจกลับมาบูมอีกครั้ง แต่ในกรณีเหล่านั้นล้วนมีปัจจัยอื่นประกอบ กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยร่วงลงแรง หรือ ค่าเงินอ่อนค่าลง ซึ่งต่างจากสถานการณ์ปัจจุบัน ที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว ขณะที่ประเทศร่ำรวยไม่สามารถ ทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลงได้ ซึ่งหากขาดปัจจัยเหล่านี้ การหั่นการใช้จ่ายงบประมาณก็ไม่น่าจะกระตุ้นการเติบโตได้

ทั้งนี้ผล การวิเคราะห์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศแนะนำว่า การใช้มาตรการลดการใช้จ่ายงบประมาณพร้อม ๆ กับปฏิรูปเชิงโครงสร้างจะส่งเสริมการเติบโตสูงกว่าการรัดเข็มขัดเพียงอย่าง เดียว

Tags : เปิดโลก ทางสองแพร่ง เดินหน้า กระตุ้น ศก. รัดเข็มขัด

view