สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดรายงานลงทุนข้ามแดนเวิลด์แบงก์ วิเคราะห์ปัจจัยหนุน ปท.ดึง FDI

จากประชาชาติธุรกิจ

การลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ หรือ FDI เป็นปัจจัยสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก ดังนั้นการเข้าใจว่าปัจจัยใดเป็นแรงหนุนหรือแรงหน่วงจะ ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถปรับเปลี่ยน บรรยากาศเพื่อเอื้อต่อการลงทุนต่างชาติมากยิ่งขึ้น

รายงาน ฉบับล่าสุดเรื่อง การลงทุน ข้ามแดน 2553 (Investing Across Borders 2010) ของธนาคารโลกที่ รวบรวมข้อมูลจาก 87 ประเทศทั่วโลก ระบุอย่างชัดเจนว่า กฎหมายที่ล้าสมัยและเข้มงวด จนเกินไปเป็นตัวขัดขวางการ ลงทุนโดยตรงของต่างชาติ และการบังคับใช้ที่ย่ำแย่ยังสร้างต้นทุนเพิ่มแก่การลงทุนอีกด้วย

ขณะ ที่กฎหมายและข้อบังคับที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ที่จะสร้างผลดีที่สุดให้แก่ประเทศเจ้าบ้าน ประชาชน และนักลงทุน

ข้อมูล จากรายงานชี้ว่า ประเทศที่มีคะแนนดัชนีการลงทุนข้ามแดน (IAB) สูงมีแนวโน้มที่จะดึงการลงทุนต่างชาติโดยตรงได้มากขึ้น เมื่อพิจารณาร่วมกับขนาดของเขตเศรษฐกิจและจำนวนประชากร แต่ในทางกลับกัน ประเทศที่มีคะแนนต่ำมีแนวโน้มที่จะเกิดการคอร์รัปชั่น ความเสี่ยงทางการเมืองสูง และโครงสร้างธรรมาภิบาลอ่อนแอ

ดัชนี IAB เน้นประเมิน 4 ธีมสำคัญ ได้แก่ บริษัทต่างชาติลงทุนข้ามเซ็กเตอร์อย่างไร การเริ่มทำธุรกิจท้องถิ่น การเข้าถึงที่ดินอุตสาหกรรม และการตัดสินความขัดแย้งเชิงพาณิชย์ โดยมาจากการสำรวจความคิดเห็นของนักกฎหมาย นักวิชาชีพสาขาอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ปรึกษาและบริษัทบัญชี สถาบันส่งเสริมการลงทุน หอการค้า และผู้เชี่ยวชาญอื่น ๆ ระหว่างเดือนเมษายน-ธันวาคม 2552




ผล การสำรวจได้พบคุณลักษณะร่วม ของประเทศที่มีคะแนนดัชนี IAB ดีหลายประการ โดยแบ่งตาม 4 ธีมสำคัญ

ในแง่ของการลงทุนข้ามเซ็กเตอร์ พบว่าประเทศกลุ่มนี้จะเปิดโอกาสให้ ต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจในภาคบริการ การผลิต และอุตสาหกรรมขั้นต้น ซึ่งผลการสำรวจชี้ว่า มีประเด็นสำคัญ 2 ประการคือ โลกมีแนวโน้มเปิดเสรีเศรษฐกิจในหลายภาคส่วนมากขึ้น

ขณะที่ในหลาย ประเทศผลประโยชน์จากการเปิดตลาดให้กับทุนต่างชาติมีสูงกว่าเหตุผลที่จะจำกัด ไม่ให้ต่างชาติเป็นเจ้าของในบางธุรกิจ

อย่างไรก็ตามการมีเศรษฐกิจ แบบเปิดเพียงอย่างเดียวก็ยังไม่เพียงพอ แต่ต้องประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น พื้นฐาน บรรยากาศในการลงทุนที่เข้มแข็ง ข้อบังคับที่ดี และสถาบันที่ทำงานได้ดี เสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ และการเคารพหลักนิติรัฐ

ขณะเดียวกันเมื่อมอง ในมุมของการเริ่มธุรกิจของต่างชาติ การปฏิบัติต่อ นักลงทุนท้องถิ่นและนักลงทุนต่างชาติอย่างเท่าเทียมกันเป็นปัจจัยสำคัญ โดยอาจมีการปฏิบัติแตกต่างได้ในแง่ของขนาด รูปแบบทางกฎหมาย และกิจกรรมเชิงพาณิชย์ของบริษัท โดยไม่แยกแยะว่าผู้ถือหุ้นมีสัญชาติใด นอกจากนี้ขั้นตอนที่ง่ายและโปร่งใสในการขอดำเนินธุรกิจก็มีส่วนช่วยดึงนักลง ทุนเข้าประเทศ โดยควรรวมขั้นตอนการเริ่มธุรกิจไว้ด้วยกัน และยกเลิกขั้นตอนที่ไม่จำเป็น เช่น การต้องขออนุมัติการลงทุนสำหรับโครงการขนาดเล็ก โดยสามารถยกเลิกหรือทำให้ข้อกำหนดต่าง ๆ ง่ายขึ้น นอกเสียจากว่าการลงทุนต่างชาติดังกล่าวจะอยู่ในอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อ ความมั่นคงของชาติและเศรษฐกิจของประเทศ ขณะเดียวกันประเทศต่าง ๆ ยังสามารถเปิดโอกาสให้นักลงทุน จดทะเบียนธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ การจัดระบบฟาสต์-แทร็ก แต่ไม่ควรกำหนดให้บริษัทต่างชาติต้องดำเนินผ่านบุคคลที่ 3 ในท้องถิ่น เช่น นักกฎหมาย และหน่วยงานราชการ

นอกจาก 2 ประเด็นข้างต้นแล้ว การเข้าถึงที่ดินอุตสาหกรรม ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน โดยต้องมีกฎหมายชัดเจนในการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อบริษัทท้องถิ่นและ บริษัทต่างชาติ โดยไม่ควรจำกัดความสามารถในการพัฒนา ปรับปรุง ย้าย จำนอง หรือให้เช่าช่วงที่ดินต่อ ทั้งนี้การ วางกฎหมายและข้อบังคับต้องคำนึงถึงประโยชน์ของผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายในการใช้ ที่ดินนั้น ๆ ตลอดจนให้ความสนใจกับสิ่งแวดล้อม

พร้อมกันนี้รัฐจะต้อง มีข้อมูลที่ดินที่ทันสมัย มีการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อนักลงทุนและคนทั่วไป พร้อมกับมีขั้นตอนการขอถือครองที่ดินที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งตัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ออกไป

ส่วนในแง่มุมสุดท้ายคือ การตัดสินความขัดแย้งเชิงพาณิชย์ นั้น กลุ่มประเทศที่ได้คะแนนสูงมีกฎหมายอนุญาโตตุลาการที่ เข้มแข็ง ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ อีกทั้งยังมีศาลท้องถิ่นคอยสนับสนุนให้กระบวนการตัดสินชี้ขาดดำเนินไปอย่าง สอดคล้องกัน พร้อมบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ประเทศเหล่านี้ยังร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศด้วย ซึ่งเป็นสัญญาณสื่อถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่มีต่อหลักนิติรัฐและการคุ้ม ครองสิทธิของนักลงทุน

Tags : เปิดรายงาน ลงทุนข้ามแดน เวิลด์แบงก์ วิเคราะห์ ปัจจัยหนุน

view