สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เอเซียกับภาวะช็อก ภัยซ่อนรูปช่วงขาขึ้น

จาก โพสต์ทูเดย์

ในช่วงนี้องค์กรเศรษฐกิจและการเงินระดับโลกช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ กับเอเชียมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ขึ้นมาอยู่ ที่ 7.5% จากอัตราการขยายตัวเฉลี่ยทั้งโลกที่เพียง 4.6%

โดย...ทีม ข่าวต่างประเทศ

เป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่าเอเชียคือความหวังของคนทั้งโลก ในขณะที่ยักษ์ใหญ่รายอื่นๆ กำลังล้มพังพาบไม่เป็นท่า หรือหาไม่แล้วก็ไม่อาจฟื้นคืนกลับมาอยู่ในสภาพเดิมได้ในเร็วๆ นี้

ไม่ เพียงเท่านั้น โดมินิก สเตราส์คาห์นผู้อำนวยการ IMF ยังโปรยยาหอมเอเชียว่า เป็นประหนึ่งมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก

ความหวังที่ล้นปรี่ของเอเชียบวกกับ ท่าทีขององค์กรด้านเศรษฐกิจและการเงินชั้นนำของโลกที่เริ่มพะเน้าพะนอเอเชีย มากขึ้น ยังผลให้บางประเทศเริ่มแสดงอาการมั่นใจและรุกคืบมากขึ้น ดังกรณีที่รัฐมนตรีคลังเกาหลีใต้ เรียกร้องให้IMF เพิ่มสิทธิเพิ่มเสียงของเอเชียในกองทุน หลังจากที่ปล่อยให้ประเทศตะวันตกผูกขาดอำนาจการตัดสินใจมานับตั้งแต่สถาปนา กองทุนนี้

ขณะที่ IMF แสดงท่าทีที่จะสานความสัมพันธ์กับเอเชีย หลังจากที่ IMF ถูกมองในฐานะ“ตัวร้าย” ในวิกฤตการเงินเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว โดยแย้มว่าเอเชียจะมีสิทธิมีเสียงมากขึ้นในกองทุนอย่างแน่นอน ก่อนการประชุมจี 20 จะเริ่มต้นที่เกาหลีใต้ในช่วงปลายปีนี้

นี่คือ โอกาสทองของเอเชีย ในช่วงเวลาที่ยุโรปและสหรัฐกำลังเป็นตัวถ่วงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

อย่าง ไรก็ตาม โอกาสทองอาจกลายเป็นสถานการณ์ที่พลิกผันได้เช่นกัน

เพราะขณะ ที่เอเชียกำลังฉวยจังหวะที่ประเทศตะวันตกกำลังซบเซา ภาวะซบเซาในประเทศตะวันตกอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เอเชียต้องสะดุดลงกลางคันบน เส้นทางของการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ในกรณีที่ร้ายแรงยิ่งกว่านั้น ทั้ง 2 ภูมิภาคอาจดึงให้เอเชียยิ่งถลำลึกลงในภาวะเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซ้อน

สเต ราส์คาห์น ชี้ว่า นี่คือความเป็นไปได้ที่เอเชียจะเผชิญกับภาวะช็อก

แม้ ว่าความเป็นไปได้จะมีอยู่ต่ำมาก บวกกับคำยืนยันของผู้อำนวยการ IMF แต่เอเชียจะประมาทไม่ได้ เพราะเงื่อนไขวิกฤตยังซ่อนตัวอยู่ในระบบเศรษฐกิจของเอเชีย

เงื่อนไข ที่ว่านี้คือ กระแสทุนที่ไหลบ่าเข้าสู่ภูมิภาคอย่างต่อเนื่องจนสเตราส์คาห์นหวั่นเกรงว่า อาจเป็นภัยเสี่ยงจากการก่อตัวของฟองสบู่ในหลายๆ ภาค หลังจากที่ทุนที่ไหลบ่าเข้ามาเริ่มผลักดันราคาสินทรัพย์ในเอเชียให้ถีบตัว สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

สถานการณ์เช่นนี้อดไม่ได้ที่บางประเทศจะนึกถึง ช่วงเวลาก่อนที่เอเชียจะกลายเป็นศูนย์กลางวิกฤตการเงินเมื่อปี 2540 ซึ่งในครั้งนั้นไทยและเกาหลีใต้อาการสาหัสที่สุด

จึงไม่น่าแปลกใจที่ ในขณะนี้ IMF จะจับมือกับเกาหลีใต้ ร่วมกันระดมสมอง เพื่อวางมาตรการป้องกันเอเชียจากภาวะช็อกทางการเงิน ทว่าสเตราส์คาห์น ยังไม่ยอมปริปากเผยรายละเอียดของมาตรการดังกล่าว

อีกหนึ่งปัจจัยของ ภาวะช็อกอาจมาจากความไร้สมดุลของการค้าโลก โดยเฉพาะดุลการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐที่เป็นประเด็นโจมตีระหว่างกันมาโดย ตลอด หากเอเชียไม่ต้องการให้สหรัฐเป็นตัวถ่วง จีนก็ควรปล่อยค่าเงินหยวนให้แข็งขึ้นมากกว่านี้


อย่างไรก็ตาม สเตราส์คาห์น ยังแบ่งรับแบ่งสู้ท่าทีกดดันจีน เพราะระบุในถ้อยแถลงถัดมาว่า แม้จะปล่อยเงินหยวนสูงค่าขึ้นอย่างเต็มที่ ปัญหาขาดดุลการค้าของสหรัฐก็จะยังไม่หมดสิ้นไป

คำกล่าวนี้ชี้ว่า สหรัฐจะต้องรับผิดชอบปัญหาของตนด้วย มิใช่โยนให้เป็นความผิดของค่าเงินหยวนอยู่ร่ำไป

ไม่เพียงเท่านั้น ทุกฝ่ายควรร่วมกันแก้ปัญหานี้โดยเร็ว หาไม่แล้วสหรัฐจะไม่เพียงเป็นตัวถ่วงเท่านั้น แต่หากสถานการณ์ย่ำแย่ลง ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของจีนและอีกหลายประเทศในเอเชียจะล้มครืนลงอีกครั้ง

หมาย ความว่าเอเชียจะประสบกับภาวะช็อกอย่างไม่ต้องสงสัย

แม้ผู้อำนวยการ IMF จะยังไม่ยอมแบไต๋มาตรการป้องกันเอเชียจากภาวะช็อก แต่เจ้าตัวชี้ให้เห็นถึงวิธีรับมือกับความเสี่ยงภายในและภายนอก ซึ่งรวมถึงการริเริ่มโครงข่ายทางสังคม (Social Safety Nets)

โครง ข่ายนี้เป็นการจัดระเบียบความช่วยเหลือทางสังคมอย่างมีประสิทธิภาพให้กับคน ส่วนใหญ่ของประเทศที่ยังยากจน ผ่านการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคภายใน เพราะหากคนส่วนใหญ่ในประเทศสามารถเป็นแรงซื้อและแรงทุนหลักให้กับประเทศ การเสี่ยงของการเผชิญกับภาวะช็อกจากปัจจัยภายนอกจะยิ่งลดน้อยลง

ส่วน มาตรการอื่นๆ อย่างการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ไปจนถึงการยืดหยุ่นอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน

โดยเฉพาะมาตรการควบ คุมทางการเงินตั้งแต่การขึ้นดอกเบี้ย ไปจนถึงมาตรการควบคุมทุนในกรณีจำเป็น มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด หากประเทศหนึ่งๆ เริ่มรู้สึกตัวว่ากำลังหมิ่นเหม่กับความเสี่ยงของกระแสทุนไหลเข้าออก ดังจะเห็นได้จากการที่ประเทศในเอเชียรวมถึงเกาหลีใต้และไต้หวัน ขึ้นดอกเบี้ยเกือบจะพร้อมๆ กัน

เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว เอเชียยังขาดประสบการณ์จนหลงระเริงไปกับมายาของความมั่งคั่งที่มาพร้อมกับ กระแสทุน แต่ในวันนี้เอเชียมีการเตรียมรับมือที่ดีกว่า และริเริ่มมาตรการเตรียมรับมือกับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

แม้ ในวันนี้จะยังเสี่ยงกับภาวะช็อก แต่เศรษฐกิจเอเชียอาจไม่ช็อกจนต้องตกตะลึงไปทั่วโลกเหมือนที่เคยเป็นมา

Tags : เอเซีย ภาวะช็อก ภัยซ่อนรูป ขาขึ้น

view