สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

จุดเปลี่ยน นโยบายการเงิน สร้างสมดุล ศก.โต-เงินเฟ้อต่ำ

จากประชาชาติธุรกิจ

การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เริ่มดำเนินมา ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2551 เพื่อประคับประคอง เศรษฐกิจที่ถูกกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ครั้งแรกมากที่สุดถึง 1% ในการประชุม กนง. เมื่อ 3 ธ.ค. 2551 โดยปรับลดจาก 3.75% เป็น 2.75% ต่อปี หลังจากนั้นก็ปรับลดต่อเนื่อง จนเหลือระดับ 1.25% ต่อปี ในการประชุมเมื่อ 20 เม.ย. 2553

นับตั้งแต่นั้นมา ธปท.ก็ใช้นโยบายดอกเบี้ย 1.25% ต่อปี ต่อเนื่องมา 15 เดือนจนถึงปัจจุบัน แต่ช่วงปลายปีที่แล้ว ธปท. ได้ส่งสัญญาณว่า ดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ถือว่าต่ำเป็นพิเศษ และความจำเป็นที่จะคงนโยบายดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษเริ่มมีน้อยลง เพราะเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนและปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง

เห็น ได้จากอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไตรมาส 4/52 เติบโตถึง 5.9% และจีดีพีไตรมาส 1/53 ขยายตัวถึง 12% ยิ่งตอกย้ำว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแข็งแกร่ง จึงมีความจำเป็นน้อยลงที่จะใช้นโยบายการเงินผ่อนคลายมากเป็นพิเศษ

ดัง นั้นหากไม่มีประเด็นปัญหาทางการเมืองเกิดขึ้น เชื่อว่า กนง.น่าจะปรับขึ้น ดอกเบี้ยนโยบายกลับสู่ภาวะปกติตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีนี้แล้ว และหลังจากการเมืองเริ่มเข้าที่เข้าทาง และผลกระทบต่อเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ต่ำกว่าที่ ธปท.ประเมินไว้ ก็เริ่มมีเสียงจาก ธปท. ถึงความจำเป็นน้อยลงที่จะใช้ดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษ แต่จะเป็นเมื่อไร ขึ้นอยู่กับเงื่อนเวลาที่เหมาะสม ซึ่งในมุมมองของตลาดการเงิน คาดว่าครึ่งหลัง ปีนี้น่าจะเหมาะสม

เงื่อนเวลาที่ ธปท.บอก ดูเหมือนจะใกล้เข้ามาทุกทีแล้ว เพราะมีการส่งสัญญาณแรงขึ้นต่อเนื่อง โดยก่อนจะประชุม กนง. 14 ก.ค. เพียง 2 วัน ธปท.ได้ไปรายงานภาวะเศรษฐกิจในการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า เศรษฐกิจไทยช่วง 5 เดือนขยายตัวเป็นบวกแข็งแกร่ง และช่างบังเอิญที่ก่อนจะประชุม กนง.เพียง 1 วัน ธปท.ได้เชิญสมาคมธนาคารไทยมาร่วมประชุม เพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งหลังการประชุม นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย และ นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ต่างมองในทิศทางเดียวกันว่า จากที่ฟัง ธปท. ทุกอย่างดูดีไปหมด เศรษฐกิจเติบโตได้ต่อเนื่อง ดอกเบี้ยนโยบายก็น่าจะไปในทิศทางเดียวกัน

เช่นเดียวกับ "กรณ์ จาติกวณิช" รมว.คลัง ที่ระบุว่า "ผมจะรู้สึกประหลาดใจอย่างมาก หากพวกเขาไม่ขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งขณะนี้ดอกเบี้ยต่ำมาก"

ขณที่นัก วิเคราะห์มองว่า การประชุม กนง. 14 ก.ค.นี้ น่าจะเป็น "จุดเปลี่ยน" นโยบายการเงิน ซึ่งประเมินว่า ดอกเบี้ยนโยบายน่าจะขยับขึ้น 0.25% จาก 1.25% เป็น 1.50% และทั้งปีนี้น่าปรับเพิ่มเป็น 2%

นอกจากนี้เมื่อมอง เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ถึงเวลาเหมาะสมของการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ที่สำคัญ ธปท.คาดว่า เงินเฟ้อจะเร่งตัว มากขึ้นในปีหน้า ยิ่งสะท้อนว่าการดำเนินนโยบายการเงินที่ต้องมองไปข้างหน้า ก็ต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายล่วงหน้าดักไว้ก่อน แต่เพื่อไม่ให้กระทบเศรษฐกิจก็ต้องทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ทยอยปรับครั้งละ 0.25%

ดังนั้นหาก กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายช่วงนี้ ไม่น่าส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน เพราะคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้ว ที่สำคัญน่าจะเป็นการสร้างสมดุลให้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กับการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในจุดที่เหมาะสม

Tags : จุดเปลี่ยน นโยบายการเงิน สร้างสมดุล ศก.โต เงินเฟ้อต่ำ

view