สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

CSR กับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (จบ)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ CSR Talk

โดย ดร.พรชัย ศรีประไพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์การค้าอิมพีเรียล และกรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย



John Howkins ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของอังกฤษ อธิบายว่า เศรษฐกิจสร้างสรรค์จะประสบผลสำเร็จจะต้องอาศัยหลักการ 3 ข้อ คือ

1.ความเชื่อที่ว่าทุกคนสามารถมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะความคิดสร้างสรรค์ติดตัวมากับเราตั้งแต่เด็ก ๆ

2.สร้าง สรรค์ต้องการอิสรภาพ สังคมต้องสนับสนุนให้คนแสดงความคิดและความสามารถในการแสดงออกได้ สังคมจะต้องส่งเสริมการศึกษา การฝึกฝน และการเรียนรู้

3.อิสรภาพความคิดสร้างสรรค์ต้องการตลาด ต้องทำให้เกิดสินค้าและบริการที่มีมูลค่า มีราคา สามารถนำไปแลกเปลี่ยนให้เป็นประโยชน์ได้

สำหรับประเทศไทยนั้น มีข้อแนะนำที่เป็นผลสรุปจากการสัมมนาของ Kenan Institute Asia ดังนี้ :

1.เราต้องพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ร่วมกับอุตสาหกรรมที่อาศัยความรู้ เพราะทั้งคู่เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด

2.รัฐบาลต้องส่งเสริมการสร้าง creative value chains ให้เข้มแข็ง

3.จะต้องแก้ไขจุดอ่อนในระบบลิขสิทธิ์ เร่งขบวนการอนุมัติลิขสิทธิ์ให้รวดเร็ว และป้องกันปราบปรามผู้ละเมิด

4.ทำให้สาธารณชนเข้าใจว่าการละเมิดลิขสิทธิ์คือ การโจรกรรมที่มีผลกระทบทางลบกับการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย

5.สร้างโอกาสให้นักสร้างสรรค์จากต่างประเทศทำงานและอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้ง่ายขึ้น

6.เร่งสร้างเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง WIMAX และ 3G ที่เป็นหัวใจของการพัฒนา IT

ยุทธศาสตร์ หลักอีกประการหนึ่งที่ผมแนะนำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไป ก็คือต้องพัฒนาจิตสำนึกของ CSR (corporate social responsbility) ควบคู่ไปกับการพัฒนาความรู้และความคิดสร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์เป็นงานที่จะนำมาใช้สร้างจิตสำนึก ในการทำงานได้เป็นอย่างดี โดยนักศึกษาถ้าได้รับการฝึกฝนและเข้าใจถึงหัวใจของ CSR จะสามารถนำทัศนคติและความรู้เหล่านี้ไปใช้ในองค์กรอย่างน้อย ๆ 3 ด้าน คือ

1.ด้านการสร้างจิตสำนึก

- สร้างทีม

- สร้างความรับผิดชอบ

โดยอาศัยความรู้ ความสามารถในเชิงสร้างสรรค์ มาทำให้เกิด "แรงบันดาลใจ" กับพนักงานขององค์กร

2.ด้านการสร้างความมีส่วนร่วม

- กับบุคคลในองค์กร

- องค์กรกับชุมชน

- องค์กรกับสังคม

นัก ศึกษาจากศิลปกรรมศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนที่จะทำงานร่วมกับกลุ่มคนต่าง ๆ เช่น การทำงานการแสดงให้ชุมชน ละครเพื่อการศึกษา กิจกรรมที่ดึงดูดความร่วมมือร่วมใจกับชุมชน ฯลฯ บทบาททั้งหมดนี้ คือบทบาททาง CSR ที่องค์กรต้องการ

3.ด้านการสร้างกิจกรรมทั้งภายในและภายนอก

- กิจกรรมด้านการตลาด

- กิจกรรมด้าน P.R. และการสร้างภาพลักษณ์

- กิจกรรมชุมชนและสังคมต่าง ๆ

จะ เห็นได้ว่าอาวุธสำคัญที่จะไปใช้กับงานทางด้าน CSR ก็คือ ความรู้ ความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งใช้ได้ทั้งในการสร้างจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบในองค์กร ไปจนถึงการออกไปทำงานร่วมกับชุมชน ไปช่วยพัฒนาสินค้าบริการ โดยอาศัยการออกแบบ ความคิดใหม่ ๆ มุมมองใหม่ ๆ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกับชุมชนที่เกิดผลปฏิบัติให้กับทั้ง 2 ฝ่าย เป็นการทำงานที่ได้ผลมากกว่าการช่วยเหลือสังคมโดยการบริจาคหรืองานสังคม สงเคราะห์อื่น ๆ เราสามารถนำความคิดสร้างสรรค์ไปพัฒนาอาชีพ พัฒนาความเป็นอยู่ ความรู้ความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อม กับปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โอกาสใหม่ของสังคมไทย คือการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรมที่มากับแนวทาง CSR

Tags : CSR เศรษฐกิจสร้างสรรค์

view