สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธรรมาภิบาลปฏิรูปเศรษฐกิจไทย

จาก โพสต์ทูเดย์

แม้จะดูเป็นนามธรรมแต่จริงๆ แล้วคำว่า “ธรรมาภิบาล” มีผลกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

โดย...ทีมข่าวการเงิน

แม้จะดูเป็นนามธรรมแต่จริงๆ แล้วคำว่า “ธรรมาภิบาล” มีผลกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย โดยเมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จัดงานสัมมนาเรื่องนี้ขึ้น หวังกระตุ้นให้กับองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดกลางเห็นความสำคัญของการ บริหารงาน โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารภายในองค์กรมาก ขึ้น

ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานและผู้อำนวยการโครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เห็นว่าขณะนี้ภาคสังคมและภาคธุรกิจมีความตื่นตัว ในการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ธรรมาภิบาลจะต้องถูกเพิ่มระดับไปอีกขีดขั้น เพราะการเปลี่ยนแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ทั้งในสังคมไทย และสังคมโลกได้ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น มีการแข่งขันในธุรกิจอย่างจริงจังและเข้มข้น ซึ่งทำให้องค์กรจำเป็นต้องปรับตัวในการบริหารจัดการและใช้องค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ ซึ่งจะต้องผสมผสานกับการใช้หลักธรรมาภิบาลอันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ เพื่อการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
         
ขณะ ที่ ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี มองว่า หลักธรรมาภิบาล หรือ Good Governance หรือ GG คือธรรมะและอภิบาล เป็นระบบที่เกิดจากมนุษย์เป็นผู้ออกแบบเพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีที่สุดกับ องค์กร เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับดูแลบริหารการจัดการที่ดี

GG แบ่งเป็น 6 ตัวง่ายๆ 2 ตัวแรก คือเป้าหมาย เป้าหมายของการนำเอาระบบธรรมาภิบาลเข้ามาใช้ อยู่ที่ 2 E คือ Effectiveness กับ Efficiency ประสิทธิภาพและประสิทธิผล อีก 4 ตัว คือ RATA : Responsibility (ความรับผิดชอบ) Accountability (ความรับผิดรับชอบเมื่อได้ลงมือปฏิบัติจนกระทั่งปฏิบัติเสร็จ) Transparency (ความโปร่งใส) และ Auditability (สามารถตรวจสอบได้)

ปัจจุบันโครงสร้างของภาครัฐไม่เอื้ออำนวยให้เกิด Good Governance ได้ เนื่องจากโครงสร้างมีอุปสรรคทางกฎหมาย แม้จะมีบางหน่วยงานพยายามจะนำหลัก Good Governance มาใช้ แต่มักถูกแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง

อย่างไรก็ตาม หากหน่วยงานภาครัฐสามารถผลักดันให้เกิด Good Governance ได้ จะทำให้เกิด Public Confident ที่ประชาชนจะเกิดความมั่นใจ และเชื่อมั่นต่อการทำหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐว่ามีความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นที่ยอมรับของประชาชน 

ส่วนในมุมมองของอาจารย์ โฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ  นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ภาคการเงินและการธนาคารมีการตื่นตัวในการนำ Good Governance เข้ามาใช้ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นเครื่องมือในการสร้างความยั่งยืนให้กับภาคธุรกิจการ เงินของไทย เนื่องจากหลักธรรมาภิบาล ที่นำมาใช้ ที่ต้องเน้นในเรื่องของความซื่อสัตย์ เป็นธรรม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ ที่จะก่อให้เกิดความยั่งยืนทางธุรกิจ และสั่งสมประสบการณ์ให้มีความรู้ความสามารถเพื่อใช้แข่งขันกับต่างประเทศ ได้ 

ในภาคการเงินและการธนาคาร มีการสร้างเครื่องมือและกฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้หลายฝ่ายร่วมกันดูแล ทั้งกฎระเบียบของกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีอำนาจในการตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ พร้อมทั้งปลุกจิตสำนึกให้กับบุคลากรภายในองค์กรเพื่อร่วมกันสร้างความโปร่ง ใสในการทำงาน เพื่อนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้า ผู้ถือหุ้น ซัพพลายเออร์ และต่อสังคมส่วนรวม 

เช่นเดียวกับ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. ก็ย้ำถึงความสำคัญของ CG ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคเอกชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ที่ต้องมีระบบที่จัดให้มีโครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ ระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการและผู้ถือหุ้น เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน แล้วก็นำไปสู่การเจริญเติบโต พร้อมเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว นอกจากนี้ องค์กรธุรกิจแต่ละแห่งยังต้องจัดทำจรรยาบรรณทางธุรกิจ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือกำกับกิจการใช้เป็นแนวทางในการปฎิบัติของแต่ละบริษัท ด้วย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่องค์กรธุรกิจ 

องค์กรธุรกิจที่ยึดหลัก CG ต้องสร้างจิตสำนึกของคนในองค์กรให้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ที่ยึดหลักธรรมาภิบาล ซึ่งก่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนขององค์กรธุรกิจให้มีความเข้มแข็งมากกว่า องค์กรที่ไม่ยึดหลักธรรมาภิบาล และหากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาล ภาคประชาชน หรือภาคสังคม มีความตื่นตัวในเรื่องของธรรมาภิบาล ที่เปิดโอกาสให้ทุกผ่ายสามารถตรวจสอบการทำงานได้ เชื่อว่าจะทำให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็ง และมีขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจที่ดีขึ้น

ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการ ตั้งข้อสังเกตว่าคนไทยมักจะบอกว่าคนดีคือคนที่ไม่โกง นักการเมืองที่ดีคือนักการเมืองที่ไม่โกง แต่ส่วนตัวคิดว่าน่าจะปรับคำถามใหม่ ปรับคำตอบใหม่ คนดีคือคนซึ่งมีโอกาสแล้วไม่โกง เพราะว่าคนที่ไม่โกงอาจจะไม่มีโอกาส ถ้าเมื่อไหร่มีโอกาสและไม่โกง คิดว่าอันนั้นคือจิตสำนึก เพราะฉะนั้นหัวใจสำคัญก็คือการพัฒนา การจัดเรื่องของวิชาพวกนี้ขึ้นมาคือต้องการที่จะก้าวข้ามสิ่งที่เป็นแค่การ ปฏิบัติเท่านั้นเอง แต่ต้องการสร้างองค์รวมในเรื่องของการสร้างจิตสำนึกและมีวิธีการที่เป็น รูปธรรม เพราะฉะนั้นก็คงจะเป็นหัวใจอันหนึ่งสำหรับหลักสูตรใหม่ที่ต้องการที่จะดึง เรื่องของจิตสำนึกบวกกับ Competitiveness เข้าด้วยกัน.

Tags : ธรรมาภิบาล ปฏิรูป เศรษฐกิจไทย

view