สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กุน ซือหลังทำเนียบ กนก วงษ์ตระหง่าน รัฐสวัสดิการดี..แต่ต้องไม่ลงเหว

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ มนุษย์การเมือง

โดย อิศรินทร์ หนูเมือง




สังคมการ เมืองมักมีแต่บุคคลเบื้องหลังความสำเร็จ

แต่ไม่มีบุคคลเบื้องหลัง ความล้มเหลว

แม้มีความล้มเหลวเป็นรูปธรรม แต่ก็มักไม่มีบุคคลใดกล้าปรากฏตัวแสดงความรับผิด-ในนามของความล้มเหลว

บุคคล เบื้องหลังคนการเมือง ปรากฏตัวทั้งในตำแหน่ง ที่ปรึกษา-กุนซือ คณะทำงานและเลขานุการ คนถือกระเป๋า เปิดประตู จนถึงเป็นวอลเปเปอร์

ไม่ ว่าโครงการต้นกล้าอาชีพจะถูกประเมินว่าสำเร็จหรือล้มเหลว ก็มีชื่อ "ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน" ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี แนบท้าย

ไม่ว่า 1 ใน 5 แนวทางปรองดองแห่งชาติ คือกระชับปัญหาความเหลื่อมล้ำ จะก้าวหน้าหรือล้าหลัง "ดร.กนก" 1 ใน 5 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ก็ต้อง ร่วมรู้-ร่วมเห็น

ไม่ว่าผลการศึกษาและปฏิบัติการเรื่อง Medical Hub และเรื่องแปลงสัญญาสัมปทานกิจการโทรคมนาคม-การเกิด-แตกดับของระบบ 3G จะเห็นผลเป็น รูปธรรมและปฏิบัติได้จริงหรือไม่

และโครงการปรับ โครงสร้างหนี้เกษตรกรเกือบ 1 ล้านคน จะล้างหนี้ให้ชนชั้นล่างได้หรือไม่ "ดร.กนก" ก็ต้องคลุก-ปลุกปั้น รายงานตรงกับนายกรัฐมนตรีทุกสัปดาห์ ในฐานะทีมเศรษฐกิจบนตึก ไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

ไม่ว่าเค้า โครงเศรษฐกิจแบบ "รัฐสวัสดิการ" จะสำเร็จหรือไม่ ในรัฐบาล "อภิสิทธิ์" แต่ชื่อ "ดร.กนก" ก็ต้องถูกจารึกในฐานะผู้วิเคราะห์ ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จ-หลักการ และความเสี่ยง

"ดร.กนก" เรียงลำดับการวิเคราะห์ว่า...

เงื่อนไขแรก รัฐสวัสดิการต้องใช้งบประมาณที่สูง และรัฐบาลต้องมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่เหมาะสม มีเสถียรภาพ และคาดการณ์ได้ว่าประเทศจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ ต่อเนื่องระยะยาว

แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง นโยบาย-มาตรการสวัสดิการก็ไม่มีงบประมาณมาจ่ายการอุดหนุน และหากต้องอุดหนุนต่อเนื่องก็จะทำให้ประเทศล้มละลายได้

นโยบายนี้ จึงขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการจัดเก็บภาษี และหากว่าเศรษฐกิจ ไม่ขยายตัว แล้วรัฐบาลไปขึ้นภาษี ก็จะยิ่งกระทบกับอัตราการขยายทางเศรษฐกิจหนักขึ้น

เพราะฉะนั้นเป้า หมายและเงื่อนไขสำคัญของรัฐสวัสดิการ คือรัฐบาลต้องทำให้เกิดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

อีก เงื่อนไขหนึ่ง คือ หัวใจในการบริหารจัดการระบบสวัสดิการต้องมีประสิทธิภาพ ภายใต้ต้นทุน ค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าปกติ กระบวนการจึงต้องอาศัยกลไกของ รัฐจัดการ ในประวัติศาสตร์การใช้รัฐสวัสดิการของยุโรปพบว่า ระบบราชการการให้บริการจะเกิดปัญหาต้นทุนสูง ทำให้เกิดความคิดพัฒนานโยบายด้วยการให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการ และรัฐบาลจัดงบประมาณสนับสนุน เพิ่มเติม

"เงื่อนไขความสำเร็จ เมื่อนำนโยบาย ลงสู่การปฏิบัติ คือระบบการให้บริการ ของรัฐ และระบบงบประมาณต้อง มีความพร้อม"

ใน Job Description ของที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เขาถูกมอบหมายให้ ศึกษา-วิเคราะห์ และรายงานผลโครงการ Medical Hub หรือการเป็นศูนย์กลางบริการด้านสาธารณสุข เพื่อพัฒนานโยบายรัฐบาล

ในฐานะที่โครงการนี้จะเป็นหนึ่งในโครงการ ต่อยอดระบบประกันสุขภาพ แห่งชาติ และเป็นหนึ่งในโครงการนำร่อง "รัฐสวัสดิการ"

"ดร.กนก" ยกตัวอย่าง เงื่อนไข-ปัญหาของโครงการนำร่อง 4 โครงการ

ตัวอย่างนโยบายแรก เช่น การให้บริการด้านสุขภาพที่เกิดประเด็นว่า การเข้าถึงบริการสุขภาพของประชาชน มากขึ้น ทำให้ประชาชนเข้าไปใช้บริการเกินความจำเป็น มีความถี่มากขึ้นเพราะถือว่าเป็นสิทธิในการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพ

"เพราะ ฉะนั้นการเตรียมความพร้อม จึงสำคัญมาก เพราะตัวเลขงบประมาณเพิ่มขึ้น 25-30% และทำให้สัดส่วนบุคลากรการแพทย์ พยาบาล ลาออกไปอยู่ใน โรงพยาบาลเอกชนสูงขึ้น"

ที่ปรึกษาหลังทำเนียบเล่าว่า วันก่อนมหาวิทยาลัยที่มีการสอนด้านแพทยศาสตร์ 10 แห่ง เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีแล้วบอกว่า คณะแพทย์ทั้งหมดพบปัญหาว่าไม่มี งบประมาณเพียงพอในการรับคนไข้ "ตติยภูมิ" เช่น การผ่าตัดสมอง เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ และโรคมะเร็ง

ตัวอย่างนโยบายที่ 2 เรื่องการเรียนฟรี 15 ปี ที่ทำให้มีโอกาสการเรียนต่อมีมากขึ้น แต่มีรายละเอียดการปฏิบัติ ถ้าบางโรงเรียนเขาต้องการให้บริการที่สูงกว่ามาตรฐานจะทำได้อย่างไร เพราะระบบจ่ายงบประมาณจัดให้เท่าที่จำเป็นตามเกณฑ์ พื้นฐานเท่านั้น แต่เป้าหมายคือรัฐต้องการเรียนฟรี 15 ปีแบบมีคุณภาพ

นโยบายที่ 3 เรื่องการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุ และนโยบายที่ 4 การจ่ายเงินตอบแทนให้พนักงานสาธารณสุข เป็นการจ่ายเงินตรงถึงมือประชาชน แต่หลักคือรัฐบาลจะทำอย่างไรให้สวัสดิการแต่ละเรื่องถูกบรรจุ อยู่ในตารางงบประมาณของรัฐที่มีอยู่ อย่างจำกัด

เพราะฉะนั้นการให้ สวัสดิการทั้งเรื่องรถไฟ-รถเมล์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ต้องปรับระบบให้เกิดความเป็นธรรม เป็นจริง ภายใต้การบริหารจัดการที่รัฐมีขีดความสามารถในการหาเงินงบประมาณเพิ่ม ทำให้เกิดการบริการที่เข้าถึงประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

"ดร.กนก" อ่านหลักคิดของรัฐบาลว่า ทำอย่างไรจะลดรายจ่ายด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ และลดรายจ่ายในการดูแล ผู้สูงอายุ ที่สำคัญคือสภาวะทางเศรษฐกิจ ที่เป็นเงื่อนไขในการจัดสวัสดิการ

"ผมเชื่อว่าวิธีการลดรายจ่ายจะได้ ผลมากกว่าการเพิ่มรายได้ เพราะฉะนั้น การเพิ่มรายได้จะต้องเกิดจากผลิตภาพที่ แท้จริง"

มีการตั้งข้อ กังขาว่า การที่รัฐบาล ขึ้นเค้าโครงนโยบายสวัสดิการอย่างเข้มข้น แสดงว่ารัฐบาลมองเห็นอนาคตแล้วว่าประเทศจะมีอัตราการขยายตัวทาง เศรษฐกิจดีอย่างต่อเนื่อง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีตอบข้อกังขานี้ว่า

รัฐบาล มั่นใจว่าเศรษฐกิจมีทิศทางที่จะขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าไม่ได้ขยายตัวในอัตราที่สูงมาก แต่มีพื้นฐานดี และรัฐบาลต้องการจะทำให้คนจนที่มีกว่าครึ่งประเทศ ประมาณ 30 ล้านคน ได้มีโอกาสลืมตา อ้าปาก

และบรรทัดสุดท้ายของหลักรัฐสวัสดิการ คือการให้สวัสดิการครบ และต้องนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ด้วย

"ถ้า จะพูดแบบให้เครดิตรัฐบาลก็ต้องบอกว่า รัฐบาลกล้าหาญในการ เดินหน้านโยบายสวัสดิการ แต่พูดแบบให้ข้อสังเกตก็ต้องบอกว่า จะต้องวางแผน และจัดลำดับความสำคัญของโครงการ"

เมื่อสวมหมวกกุนซือแล้ว ต้องบอกทั้งข้อดี ข้อเสีย ตรงไปตรงมา

วรรคสุดท้ายของ "ดร.กนก" จึงกล่าวว่า "รัฐสวัสดิการเป็นหลักการที่ดีสำหรับประเทศที่มีความกล้าหาญของรัฐบาล แต่ไม่ใช่ให้ไปแล้วพากันลงเหว"

Tags : กุนซือ หลังทำเนียบ กนก วงษ์ตระหง่าน รัฐสวัสดิการ ไม่ลงเหว

view