สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กรอบ ความคิดใหม่ ของผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง

จากประชาชาติธุรกิจ



ก่อนที่ รัฐบาลจะประกาศเรื่องการปฏิรูปประเทศไทย นักวิชาการ นักเศรษฐกิจและอดีตนักการเมืองหลายคนมองเห็นว่า หลังจากความขัดแย้งที่ประเทศไทยไม่สามารถก้าวข้าม "ทักษิณ" ได้ ทำให้ ติดกับดักในวังวนอันนี้ ลากประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย

จึงเป็นที่มาของ โครงการ "ผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง" Leadership for Change เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ให้กับผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้นำภาคประชาชนขึ้น โดยมูลนิธิสัมมาชีพและเครือมติชน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม-วันที่ 5 กันยายน 2553

"ประชาชาติธุรกิจ" จึงนำบางหัวข้อมาเสนอ โดยหยิบเรื่อง "กรอบความคิดใหม่ ภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลง" มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งมีวิทยากร ได้แก่ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์

ดร.สุ วิทย์เริ่มถึงภาพรวมว่า Geopolitics/Economic Change : กรอบความคิดใหม่ ภายใต้พลวัตการเปลี่ยนแปลง ว่าจากนี้ไปวิกฤตจะอยู่กับเราตลอดไป และเราจะอยู่ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนอย่างไร

อย่างปัญหาโลกร้อนธนาคาร พัฒนาเอเชียหรือเอดีบีได้ศึกษาเมื่อปีที่แล้วใน 4 ประเทศ มีไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย พบว่าถ้าไม่ทำอะไรเลย 4 ประเทศนี้จะถูกผลกระทบจากโลกร้อนทำให้จีดีพีหายไป 6% เมื่อเทียบกับทั้งโลก ขณะที่ทั้งโลกถ้าไม่ทำอะไรเลย จีดีพีเฉลี่ยจะหายไป 3%

คำถามคือ แล้วพวกเราอยู่ในแถบนี้จะรับมือกับปัญหานี้อย่างไร !

หรือภูมิอากาศ ที่กระทบต่อพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ จีน อินเดีย หาแหล่งพลังงาน อาหาร โดยการไปเช่าพื้นที่ประเทศ ต่าง ๆ ทำการเกษตร นั่นคือมิติที่เกิดขึ้นในโลก

ใน โลกเศรษฐกิจ คนมักเชื่อว่าการค้าเสรีดีที่สุด แต่เราพบว่าวันนี้ "ไม่ใช่" แล้ว นักวิชาการบอกว่า อนาคตโลก ไม่ได้เสรี การเติบโตชะลอลง การจ้างงานคงไม่โตมาก ความผันผวนสูงขึ้น รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงมากขึ้น โอกาสการกีดกันทางการค้า ระหว่างกันน่าจะสูง

นั่นคือโลกกำลังเปลี่ยน แปลงโครงสร้าง เดิมโครงสร้างโลกจากที่ รวยกระจุกก็กระจายมากขึ้น จากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เริ่มมายังเอเชียโดยเฉพาะจีน อินเดีย

ดัง นั้นพลังขับเคลื่อนโลกในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้า อยู่ภายใต้สามเหลี่ยมอันนี้ คือ เอเชียตะวันออกนำโดยจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เอเชียใต้ นำโดยอาเซียน อินเดีย

หลายคนพูดถึงการเปลี่ยนทศวรรษ จากศตวรรษแห่งอเมริกัน ...อเมริกันเซนจูรี่มาเป็นเอเชียนเซนจูรี่ ดร.สุวิทย์กล่าวย้ำว่า "เราคงหนีไม่พ้น เราจะใช้อาเซียนให้เป็นพลังอย่างไร จะเป็นอาเซียน+3 อาเซียน+6 เราต้องเบ่งตัวเองขึ้นมาอย่างไร ?"




นี่ คือภาพของโลก แล้วภาพของประเทศไทยอยู่ตรงไหน !!

10 ปี หลังวิกฤตปี 2540 เราเจอวิกฤตเศรษฐกิจโลกและความผันผวนมาก เรื่องโรคร้ายต่าง ๆ ที่ระบาด แต่ไทยมีความวุ่นวายการเมือง ความแตกแยกทางสังคม ที่นำมาสู่ความอ่อนด้อยในเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขัน

เราพบว่า ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เท่าเทียมกัน โดยคน 10% ที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศเอาความมั่งคั่งไปแล้ว 34% และ 10% ของคนที่จนที่สุดมี ความมั่งคั่งแค่ 0-7% เท่านั้น

ประเด็นที่ ความเหลื่อมล้ำในประเทศทั้งเรื่องอำนาจความไม่เท่าเทียมกันในโอกาสมาจาก ปัจจัยคอร์รัปชั่น ความเป็นอภิสิทธิ์ชนที่เกิดขึ้นในสังคมไทยหรือไม่ นำมาสู่สังคมที่มีความไม่ Clean&Clear ความไม่ Care&Share ความไม่ Free&Fair ทำให้เราอยู่ในโครงสร้างสังคมที่ถดถอย อยู่หรือไม่ และอาจจะก่อวิกฤตเศรษฐกิจหรือไม่

ดร.สุวิทย์ชชี้ว่า การพัฒนาในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2489-2552 ตัวเลข ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป และนำพามาสู่ความล้มเหลวทางสังคมอย่างสิ้นเชิงอย่างไร

เพราะฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดในโลก ในประเทศ ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้น ทุกแห่ง เป็นเรื่องที่เรากำลังเผชิญกับภาวะที่ไม่แน่นอนสูงขึ้น และอยู่ในโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น แกะกันไม่ออกระหว่างเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม แกะกันไม่ออกระหว่างเศรษฐกิจ การเมือง แกะกัน ไม่ออกระหว่างโลคอลกับโกลบอล

ทั้งหมดที่กล่าววมา ดร.สุวิทย์ต้องการชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ว่าเป็นวิกฤตเชิงซ้อน ที่เราต้องใช้กระบวนทัศน์ใหม่มารับมือ หรือมาคิดกันใหม่

สร้าง awareness จากฐานราก

ดร.คณิศก ล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงควรต้องทำจากข้างล่าง แผนพัฒนาฯที่มาจากชนชั้นอีลิตมันไม่เกิดแล้ว ต่อไปนี้ไม่มีใครทำตามแผนที่คนอื่นทำให้แล้ว ชุมชนต้องทำแผนขึ้นมา วิธีคิดต้องกลับหัวกลับหาง

"เรามองเห็นภาพ 1.การเมืองไม่แข็งแรง 2.ข้าราชการอ่อนแอ กลุ่มที่เป็นคนนำไม่ได้เป็นคนนำเหมือนเมื่อก่อน สิ่งที่ต้องทำคือ เราต้องสร้าง awareness จากฐานราก"

ปัญหาคือเราจะ สร้างแนวคิดร่วมกันอย่างไร สิ่งหนึ่งที่บอกว่า เรามีวิกฤตเชิงซ้อน มีกระแสความไม่แน่นอนทั้งใน-นอกประเทศ ความผันผวนสูง ดังนั้นต้องมีคนสร้างความหวังว่า เศรษฐกิจสังคมจะต้องเดินอย่างไร ต้องมีกระบวนการในการสร้างความหวังขึ้นมาให้ได้ ต้องก้าวข้ามตรงนี้ไปให้ได้ก่อน ไม่งั้นคนจะสนใจแต่ปัญหาตัวเองเฉพาะหน้า

อย่าง เรื่องโลกร้อน เราต้องมีความหวัง เป็นโอกาสที่ฉกฉวยได้ ไม่ใช่เรื่องที่หดหู่ ไม่มีความหวัง อย่างเรื่องน้ำที่จะน้อยลง น้ำมันจะไม่มี ทั้ง 2 เรื่องนี้ ภาคเกษตรกระทบแน่ แล้วประเทศไทยจะบริหารน้ำอย่างไร ประเทศไทยดูแลเรื่องสินค้าเกษตรอย่างไร นโยบายที่จะทำของไทยมีอะไร อะไรต้องดูแล อะไรต้องรักษาไว้ เพราะ ต่อไประบบการบริหารเศรษฐกิจในอนาคต มันไม่ใช่กลไกตลาด 100% แล้ว มันจะเป็นระบบการบริหารจัดการ 60% กลไกตลาด 40% เราต้องมีความหวังที่จะถีบตัวเองขึ้นมา




โมเดล ไม่เวิร์กต้องยกเลิก

ด้าน ดร.เศรษฐพุฒิกล่าวว่า ประเทศเรามีความหวัง แต่ต้องทำอะไรใหม่ ๆ หากทำอย่างเดิมจะได้ของเดิม ๆ จะได้ ผลตอบแทนไม่ค่อยดี อย่างกรณีรูปแบบการเติบโตของไทยที่ผ่านมาเราพึ่งการส่งออกเป็นหลัก ถึงแม้ทุกยุคทุกรัฐบาล จะบอกว่า จะลดการพึ่งพาการส่งออกลงแล้ว จะพึ่งพาในประเทศมากขึ้น แต่สิ่งที่ปรากฏคือ การพึ่งพาเศรษฐกิจไทยจากการส่งออกมีแต่เพิ่มขึ้น จาก 30% ตอนนี้เป็น 60% ของจีดีพี

การพึ่งพาเครื่องยนต์เดิม ๆ หากมองไปข้างหน้าภาพชัดเจนว่า นับวันเรายิ่งพึ่งพาเศรษฐกิจโลกได้น้อยลง ทั้งการพึ่งพายุโรป สหรัฐอเมริกา เพราะเขามีปัญหาทางโครงสร้างค่อนข้างเยอะ

หลาย ปีเราได้ยินเรื่องจีน มีการบอกว่า จะมีการย้ายพละจากเครื่องยนต์เก่ามาเป็นเครื่องยนต์ใหม่คือจีน แต่ในความเป็นจริงในช่วงการย้ายจากเครื่องยนต์เดิม (สหรัฐอเมริกา) มาเครื่องยนต์ใหม่ แต่เครื่องยนต์ใหม่แม้จะโตเร็วแต่ขนาดเล็กอยู่ ยังทดแทนเครื่องยนต์เก่าได้ไม่เต็มที่ เพราะขนาดเศรษฐกิจจีนแค่ 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจสหรัฐ ความหมายคือ การที่จีน จะโตเท่าสหรัฐ 1% จีนต้องโต 3% ซึ่งการที่จะโตขนาดนั้นต่อเนื่องคงจะยาก

ดังนั้นการพึ่งส่งออกเดิม ๆ ความหวัง ไม่ค่อยมี และการส่งออกที่เราส่งออกอย่างอิเล็กทรอนิกส์ เทียบกับต้นทุนกับประเทศอื่นก็ไม่ดีนัก หากเราสามารถหาตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ได้ก็จะดีกว่า

ดร.เศรษฐพุฒิ เน้นว่าโมเดลอะไรที่ไม่เวิร์กต้องยกเลิก อย่างบทเรียนวิกฤต ปี 2540 การเติบโตของไทยที่พึ่งพิงต่างประเทศเยอะ มันไม่ยั่งยืน ล่าสุด บทเรียนของเราที่พบคือ การเติบโตที่ไม่สร้าง/เปิดโอกาสให้คนก็ไม่ยั่งยืนเช่นกัน

ดังนั้น โมเดลที่ไม่เวิร์กสำหรับผม เช่น การลดแลกแจกแถมที่ชอบทำกันมากมาย เหตุผลคือ หลายอย่างที่บอกว่า การอุดหนุนหวังว่าจะช่วยคนจน ในทางปฏิบัติ...อะไรที่มีประโยชน์ก็ถูกพวกที่มีอิทธิพล/คนรวยไปรับประโยชน์ จึงไม่ตอบโจทย์

หรือการหวังจะพึ่งพามาตรการภาษีเพื่อสร้างความเสมอ ภาค ลดความเหลื่อมล้ำ มันยากมาก คนที่จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา มีประมาณ 4-5 ล้านคน

หรือจะไปหวังเรื่องงบประมาณมาลดแลกแจกแถม หากดูในภาพรวมของโครงสร้างงบประมาณคงจะลำบาก ถ้าเราดูปี 2554 งบประมาณรายจ่าย 2 ล้านล้านบาท ถอยกลับไป 10 ปีที่แล้ว งบประมาณ 9 แสนล้านบาท ผ่านมา 10 ปีเพิ่มขึ้น 2 เท่า ถามว่า แล้วเงินภาษีไปไหนหมด หากไปไล่ดูการใช้เงิน ได้แก่ เงินเดือนข้าราชการ เงินอุดหนุนท้องถิ่น ค่าใช้จ่ายประจำขององค์กรใหม่ ๆ ภาระการชำระหนี้ทั้งดอกเบี้ยและเงินต้น เมื่อบวกรวม ๆ กันแล้ว เป็นรายจ่ายประจำประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ขณะที่รายได้ที่คาดว่า จะเก็บได้ 1.6 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ไม่นับรวม งบฯลงทุนใหม่ ๆ จากรัฐบาลกลาง เพราะถ้าจะมีต้องใช้นโยบายขาดดุลงบประมาณอย่างเดียว ดังนั้นในส่วนท้องถิ่นการหวังพึ่งพิงจากรัฐบาลคงไม่ได้ ต้องพึ่งตัวเองอย่างเดียว จากโครงสร้างอันนี้ ท้องถิ่นต้องพึ่งตัวเอง นี่คือภูมิคุ้มกัน

เพราะฉะนั้นภายใต้ขีดจำกัดของงบประมาณ โอกาสที่จะเป็นเครื่องมือที่จะลดความเหลื่อมล้ำ...คงยาก

ดร.เศรษฐ พุฒิกล่าวต่อว่า หลายคนพูดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ผมคิดว่าเรื่องนี้คนพอทำใจได้ แต่ถ้าเป็นความเหลื่อมล้ำทาง "โอกาส" จะกระทบความรู้สึกมากกว่า การสร้างโอกาสให้คนต้องมาจากการศึกษาและสาธารณสุข ตราบใดที่ "โอกาส" ไม่ได้ออกไปนอกกรุงเทพฯ โอกาสที่จะลดความเหลื่อมล้ำ...ยาก

พร้อมยกตัวอย่างว่า มีนักเศรษฐศาสตร์ที่เทียบเคียงเรื่อง "โอกาส" กับถนน 2 เลนที่รถติดว่า ตอนแรกติดทั้ง 2 เลน พออีกเลนเริ่มเคลื่อนรถเริ่มไปได้ คนที่อยู่เลนติด ก็คิดว่ามี "โอกาส" ลุ้นว่ารถจะเคลื่อนได้ พอเวลาผ่านไปก็ยังติดอยู่ แทนที่จะสร้างความหวังก็สร้างความแค้น ว่าทำไมไม่เคลื่อนเสียที สิ่งที่ตามมาคนที่อยู่ในเลนที่ติดก็ปาดออกมา ทำให้ติดกันหมด ต่างคนต่างไปไม่ได้...

และแนะว่า บางอย่างอย่าไปหวังว่าจะมีไอเดียบรรเจิดจากรัฐบาลกลาง บางเรื่องอาจจะติดว่างบประมาณไม่มี แต่บางทีเป็นเรื่องที่ไม่ต้องอาศัยงบประมาณก็ได้ แต่เราสร้างรูปแบบตัวอย่างของความโปร่งใส เช่น ที่อินเดียที่ประสบความสำเร็จ เดิมคนจนไปรับบริการที่ศูนย์สุขภาพ แต่เจ้าหน้าที่ไม่มาทำงาน ต่อมามีประกาศว่าคนจนสามารถขอข้อมูลจากหน่วยราชการได้ คนจนไปขอสถิติว่าเจ้าหน้าที่มาทำงานมากน้อยแค่ไหน พอคนที่รับบริการมีส่วนร่วมในการสร้างความโปร่งใส ก็ทำให้มีการบริการที่ดีขึ้น หากวันนี้มีคนจากหลายฝ่ายมารวมกัน หาตัวอย่างที่ดี ๆ เพื่อสร้างให้รับรู้ในวงกว้างได้ก็ช่วยแก้ปัญหาได้

Tags : กรอบความคิด ผู้นำ นำการเปลี่ยนแปลง

view