สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ถอด รหัสความสำเร็จ เฟซบุ๊ก กับความท้าทายสู่หลักไมล์พันล้าน

จากประชาชาติธุรกิจ

เว็บเครือข่ายสังคมสุดฮิต "เฟซบุ๊ก" (facebook) เพิ่งประกาศตัวเลขสมาชิกทะลุ 500 ล้านคนไปไม่นานมานี้ หลังเติบโตแบบก้าวกระโดดจาก 150 ล้านคน เมื่อเทียบกับต้นปี 2552 หรือ เท่ากับประชากรทุก ๆ 1 ใน 14 คนทั่วโลก เข้าใช้บริการเว็บไซต์แห่งนี้ที่มีอายุแค่ 6 ปี

ข้อมูลจากบริษัท วิจัย "นีลเส็นฯ" ระบุว่า ชาวอเมริกันใช้เวลาเกือบ 1 ใน 4 ของเวลาที่ใช้ท่องเน็ตไปกับการสื่อสารผ่านเว็บ เครือข่ายสังคม ซึ่งตอกย้ำถึงพลานุภาพที่เพิ่มขึ้นของบรรดาเครือข่ายสังคมออนไลน์ ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และยูทูบ

"ดิ อีโคโนมิสต์" รายงานว่า ถึงแม้เฟซบุ๊กจะไม่ได้มีขอบเขตพื้นที่เป็นรูปธรรมชัดเจนเหมือนกับประเทศต่าง ๆ แต่ความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรบนโลกไซเบอร์แห่งนี้กำลังเพิ่มขึ้น โดยหากเปรียบเทียบกับประเทศบนโลกเฟซบุ๊กจะเป็นอาณาจักรที่มีประชากรมากที่ สุดเป็นอันดับ 3 รองจากจีนและอินเดีย และอาจวิ่งไล่กวด 2 ยักษ์จากเอเชียด้วยยอดสมาชิกที่เข้าสู่หลักไมล์ 1 พันล้านคนภายในไม่กี่ปีข้างหน้า

เฟซบุ๊กไม่เพียงยิ่งใหญ่ในแง่ของ จำนวนสมาชิก แต่ยังสามารถลบเส้นแบ่งระหว่างโลกแห่งความจริงและโลกเสมือนจริง จากเดิมที่การสื่อสารออนไลน์จะเรียก สาวกเกมได้เพียงกลุ่มเล็ก ๆ แต่เทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถรองรับคอเกมจำนวนนับล้านคนทั่วโลก ทำให้การทับซ้อนระหว่างโลกไซเบอร์และผู้คนที่มีตัวตนจริงมีมากขึ้น

รวม ถึงบทบาทด้านการเมืองที่มากขึ้น เพราะเฟซบุ๊กเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เข้ามาแชร์สิ่งต่าง ๆ รวมถึงความคิดเห็นในหลากหลายแง่มุม ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อรัฐบาลในการจัดหาบริการเพื่อประชาชน แต่ในทางกลับกันก็ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐ รวมถึงตั้งคำถามถึงนโยบายทางการเมืองในด้านต่าง ๆ




"คริ ส โอเบรียน" แห่ง เมอร์คิวรี นิวส์ อ้างถึงหนังสือ "The Facebook Effect" ที่ถอดบทเรียนความสำเร็จ โดย "เดวิด เคิร์กแพทริก" ว่า เฟซบุ๊กสามารถขยับจาก บริษัทหน้าใหม่สู่การเป็นบริษัทชั้นนำที่มีความสำคัญต่อโลกไม่ยิ่งหย่อนไป กว่ากูเกิล แอปเปิล ออราเคิล ฮิวเลตต์-แพคการ์ด อินเทล และซิสโก้

เพราะ แม้เฟซบุ๊กจะยังมีขนาดเล็กมาก เมื่อวัดในแง่รายได้ แต่ผลกระทบต่อสังคมมีมาก ซึ่งส่วนหนึ่งของความสำเร็จมาจากวิสัยทัศน์ที่มั่นคงและความเป็นผู้นำของ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ "มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก" ที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุ 26 ปี

ถึงซักเกอร์เบิร์กจะทำผิดพลาด ไว้หลายเรื่อง ซึ่งเป็นธรรมดาของคนอายุน้อย แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้เฟซบุ๊กประสบความสำเร็จ คือการที่เขายืนยันที่จะโฟกัสไปที่ประสบการณ์ของผู้ใช้เป็นอันดับแรก และไม่รีบเข้าสู่วังวนธุรกิจรวดเร็วเกินไป แม้ว่าลูกค้าจะสนใจเข้ามาดีลกับทีมขายโฆษณา ของเฟซบุ๊กเพื่อยื่นข้อเสนอที่ทำเงินมหาศาล ทว่าเขากลับบอกปัดเงินที่กำลังมาหา เพราะนี่อาจทำลายความรู้สึกของผู้ใช้เฟซบุ๊ก

แต่เฟซบุ๊กดำเนินธุรกิจ อย่างชาญฉลาด โดยปรับกลยุทธ์ด้านโฆษณาของตัวเอง ในขณะที่ความร้อนแรงของเครือข่ายสังคมกลับเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้เฟซบุ๊กสามารถเปลี่ยนกระแสนี้กลับมาเป็นรายได้

อีกปัจจัยหนึ่ง คือสัญชาตญาณของ ซักเกอร์เบิร์กในการนำเสนอบริการที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ แม้ความเปลี่ยนแปลงหลายครั้งจะนำไปสู่การต่อต้านของผู้ใช้และสื่อ แต่ ซักเกอร์เบิร์กไม่ได้กังวลและพยายามปกปิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้น เขากลับหาวิธีที่จะทำให้ผู้ใช้รับรู้ว่าบริษัทเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้ มากกว่าที่คิด อย่างกรณีที่เฟซบุ๊กเปิดตัวฟีเจอร์รับข่าว (news feed) ในเฟซบุ๊กเมื่อเดือนกันยายนปี 2549 เพื่อแก้ปัญหาความยุ่งยากที่ผู้ใช้ต้องย้อนกลับไปหน้าเว็บเพจของเพื่อน หากต้องการดูภาพชุดใหม่ หรือข้อความที่เพื่อนเพิ่งอัพโหลด แต่ตอนนี้เฟซบุ๊กจะบอกถึงการอัพเดตของเพื่อน ๆ ให้รู้ได้ โดยไม่ต้องเสียเวลา

ในช่วงแรกผู้ใช้ต่อต้านการปรับเปลี่ยนนี้ โดยอ้างว่าเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัว แต่ในที่สุด ฟีเจอร์นี้กลับกลายเป็นส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตแบบก้าวกระโดดให้กับ เฟซบุ๊ก

ด้าน "วอชิงตัน โพสต์" ผ่าโมเดลความสำเร็จของเฟซบุ๊ก โดยข้อแรกเป็นเพราะ ซักเกอร์เบิร์กเชื่อมั่นในวิสัยทัศน์ของตัวเอง ทำให้ไม่ยอมขายเฟซบุ๊กให้ยาฮูที่ขอเสนอ ในราคา 1 พันล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2549 โดยเด็กหนุ่มวัย 22 ปีในขณะนั้นบอกว่า เขากำลังสร้างบางสิ่งเพื่ออนาคตในระยะยาว และเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำเพื่อเชื่อมโยงผู้คน และให้อำนาจพวกเขาในการแลกเปลี่ยนในสิ่งที่ต้องการ

ข้อต่อมา การตัดสินใจนำไปสู่นวัตกรรม เพราะแม้เครือข่ายสังคมอย่างมายสเปซ (MySpace) ชัตเตอร์ฟลาย (Shutterfly) หรือเว็บแชตอย่าง ICQ และ AIM จะเกิดก่อนเฟซบุ๊ก แต่เฟซบุ๊กกลับผนวกแนวคิดเครือข่ายสังคมเข้ากับแพลตฟอร์มที่ธรรมดา ๆ จนนำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งสะท้อนว่าการบริหารจัดการแนวคิด เป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการเป็นผู้ที่มาก่อน

ถัดมาคือการจัดการกับ ความผิดพลาด ดังกรณีของการฟีดข่าว ซึ่งถูกต้านในครั้งแรก และกลายเป็นที่ยอมรับในเวลาต่อมา และเคลียร์สิ่งที่ทำให้วอกแวกทิ้งไป ดังกรณีที่เฟซบุ๊กย้ายห้องซักรีด เพื่อเปิดพื้นที่ให้พนักงานได้มองเห็นความเป็นไปในที่ทำงาน เพื่อปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ ดีขึ้น และสร้างเสริมความผูกพันระหว่างพนักงาน ซึ่งช่วยให้พนักงานโฟกัสสิ่งที่กำลังสร้างสรรค์อยู่ได้ดีขึ้น

แต่ ความสำเร็จก็มาพร้อมคำวิจารณ์ ซึ่งซีอีโอหนุ่มรายนี้ย่อมต้องปรับเปลี่ยนการบริหารไปตามวัยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ ที่ตามมา ในการนำพา สมาชิกเข้าสู่หลักไมล์ที่ 1 พันล้านคน

คอมพิวเตอร์เวิลด์ ระบุว่า แม้ตัวเลข 500 ล้านแรก อาจเป็นเรื่องง่ายสำหรับเฟซบุ๊ก แต่ 500 ล้านถัดไป อาจเป็นงานหินสำหรับเฟซบุ๊ก เพราะมีประเด็นท้าทายที่ยังตามมาหลอกหลอนอยู่ โดยแม้จำนวนสาวกเฟซบุ๊กจะมากมาย แต่เฟซบุ๊กกลับได้คะแนนความพึงพอใจของลูกค้าในระดับต่ำ ซึ่งดัชนีความพึงพอใจของลูกค้าอเมริกันในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์พบว่าประเด็น ความเป็นส่วนตัว การเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์บ่อย ๆ และการเน้นโฆษณาและเชิงพาณิชย์ได้ส่งผลในแง่ลบต่อประสบการณ์ของผู้บริโภค

แฮ ดลีย์ เรย์โนลด์ นักวิเคราะห์ของ ไอดีซี มองว่า นับจากนี้จะเป็นงานหินสำหรับเฟซบุ๊กซึ่งการเติบโตจะชะลอตัว และหากปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และนโยบายไม่ถูกทิศถูกทาง ก็จะทำให้เติบโตยิ่งช้าลง

ยังไม่นับรวมการแข่งขันที่จะดุเดือดขึ้น เมื่อมีข่าวแว่วว่ายักษ์ใหญ่ "กูเกิล" จับมือกับพันธมิตร เพื่อพัฒนาบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่จะมาต่อกรกับเฟซบุ๊ก "ออกี้ เรย์" นักวิเคราะห์จากฟอเรสเตอร์ แนะว่า เฟซบุ๊กจะต้องรักษาความนิยมเอาไว้ โดยโฟกัสในเรื่องของความเป็นสากล คิดค้นนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ต้องมองเห็นถึงความกังวลของผู้ใช้ด้วย

Tags : ถอดรหัสความสำเร็จ เฟซบุ๊ก ความท้าทาย หลักไมล์ พันล้าน

view