สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ฉัตร ชัย บุญยะอนันต์ ทีจีเปิดไทย ไทเกอร์ รอด ช่วงสั้น ตาย ระยะยาว

จากประชาชาติธุรกิจ

สัมภาษณ์




ร.ท.ฉัตร ชัย บุญยะอนันต์ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์พิเศษ "ประชาชาติธุรกิจ" ถอดประสบการณ์สะท้อนความเห็นกรณีที่ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (DD) ตัดสินใจร่วมทุนกับไทเกอร์ แอร์เวย์ส สิงคโปร์ ดึงต่างชาติมาทำโลว์คอสต์การบินไทย "ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์ส"

ร.ท.ฉัตร ชัยกล่าวด้วยน้ำเสียงแสดงความเป็นห่วงตั้งแต่เริ่มประโยคแรกว่า หลายคนอาจมองผมแก่แล้วมายุ่งอะไรด้วย แต่ผมมีประวัติโชกโชนเรื่องการบินของประเทศในเวทีโลก บริหารการบินไทยมาเกือบ 30 ปี เป็นทั้งบ้านและสถาบัน ในอดีตกว่าการบินไทยจะเติบโตมาถึงวันนี้ได้ ผมกับผู้บริหารหลายยุคสมัยทำงานกันสายตัวแทบขาด ตระเวนไปเจรจาทั่วโลกเพื่อให้ได้สิทธิการบินแต่ละเส้นทางที่ได้มาไม่ง่ายเลย ต้องขอรัฐบาลช่วยข้างหลัง ถึงจะร่วมมือกันแข็งแรงขนาดไหนทุกครั้งต้องคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบการบินไทย ถึงได้อยู่รอดทุกวันนี้

"การบินไทยน่าจะมีทางออกเรื่องการลงทุนที่ดี กว่านี้ เรื่องนี้เป็นปัญหาของคนไทยทั้งประเทศ ผมกลัวเหลือเกินว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยจะพังไปด้วยถ้ายังขืนทำ โลว์คอสต์แข่งกันแบบไม่ลืมหูลืมตา วันนี้อาจจะไม่พังแต่ในระยะยาวพังแน่"

มี เหตุผลอะไร ร.ท.ฉัตรชัยจึงสะท้อนมุมลบดิ่งเหวขนาดนี้

ร.ท.ฉัตรชัย อธิบายว่า เห็นใจและเข้าใจคนตัดสินใจซึ่งมองเฉพาะระยะสั้น วิธีจะแก้ปัญหาการชิงส่วนแบ่งตลาดผู้โดยสาร ในภูมิภาคเอเชียคืนมาได้ แต่ต้องยอมรับด้วยนั่นไม่ใช่ตลาดที่แท้จริงของการบินไทย ยิ่งเปิดโดเมสติกให้ใช้สิทธิการบินในประเทศ ผู้บริโภคอาจดีใจได้ซื้อตั๋วโดยสารราคาถูก ส่วนสายการบินถ้าแข่งขันกันแบบไม่ลืมหูลืมตาเช่นนี้ก็หายนะได้เหมือนกัน

โดย ส่วนตัวเห็นใจการบินไทยที่ถูกแอร์ เอเชียคุกคามตลาด แต่สมควรแล้วหรือที่ลงไปแย่งตลาดเล็กนิดเดียว ต่อให้ยุคไหนก็ไม่สามารถรองรับปริมาณสายการบินจำนวนมากและฝูงบินขนาดใหญ่ เข้ามาแย่งกันมากขนาดนี้ได้

คิดสักนิดเถอะเมื่อเปิดสายการบินใหม่ ต้องมีขั้นตอนมาก มีฝูงบิน จ้างพนักงาน ประการหลักรัฐบาลต้องหนุนหลัง โดยเฉพาะเรื่อง "สิทธิการบิน" เป็นทรัพย์สินของประเทศ ตอนนี้มีเจ้าของ สิทธิหลายเจ้า เช่น บางกอก แอร์เวย์ส คงเป็นเจ้าเดียวที่พออยู่ได้เพราะคิดและทำแตกต่างมาตลอด ส่วนการบินไทย วัน-ทู-โก นกแอร์ ยังแข่งกันอยู่

ประเมินในระยะยาวการแข่งขันต้อง รุนแรงมาก ทุกสายการบินต้องสู้หัวชนฝาทำ "ราคาตั๋วถูกที่สุด" แต่จริงใจกับผู้โดยสารหรือไม่ทุกวันนี้ยังมีคำถามมากมาย ทำโฆษณาตั๋วถูกแต่กำหนดให้ซื้อได้เที่ยวเดียวขาไป 900 บาท ส่วนขากลับต้องจ่ายแพงถึง 3,000 บาท

การทำสายการบินตั๋วถูกอย่าง เดียว คงชนะกันไม่ได้ ปัจจัยสำคัญคือสิทธิเรื่องการเลือกเวลาทำตารางบิน คิดจะบิน ตอนไหนคงไม่ได้เพราะลูกค้ากระจุกตัว อยู่แค่วันละ 3 ช่วง คือ เช้า กลางวัน เย็น

ตอนนี้การบินไทยมีนกแอร์อยู่ แต่ไม่พัฒนาเป็นโลว์คอสต์ รวมกัน 2 แบรนด์ยังเสียส่วนแบ่งตลาดให้แอร์เอเชีย ซึ่งขยันทำโปรโมชั่นคว้าไปได้ 50% ต้องหาวิธีใหม่ให้ถูกทาง ผมไม่เข้าใจการบินไทยจะผลุนผลันโดยไม่มองผลกระทบระยะยาวไปเพื่ออะไร ?

ตอน นี้มีโลว์คอสต์ในประเทศและเอเชียแข่งกัน 3-4 ราย ท่ามกลางราคาน้ำมันตลาดโลกแพง เน้นถึงแต่ปริมาณจนกระทั่งตลาดในประเทศโตไม่เพียงพอต้องขยาย ไปบินรัศมี 400-500 ก.ม. กระจุกอยู่ใน 3 พื้นที่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง พื้นที่เหล่านี้ต้องพึ่งระบบภาคี ต้องอาศัยการเจรจาสิทธิการบิน มีเครื่องบินอย่างเดียว คงไม่พอ เพราะอุตสาหกรรมการบินนี้ มีข้อจำกัดอีกหลายอย่าง

แม้การบินไทยจะประกาศโครงสร้างการลงทุนโล ว์คอสต์ ไทย ไทเกอร์ แอร์เวย์สว่าไม่มีฝูงบิน ต้องเช่าจากสิงคโปร์ แล้วเอาสิทธิการบินของประเทศไปแลก ผมแปลกใจ ! ประเทศไทยเดินมาถึงจุดที่สามารถให้ต่างชาติมาสร้างสายการบิน ในประเทศได้แล้วจริงหรือ ? วันนี้คนไทยด้วยกันคุยกันเองไม่ได้แล้วหรือถึงต้องไปคุยกับต่างชาติ

แน่ นอน ! การสร้างโลว์คอสต์การบินไทยต้องทำ แต่ "วิธีการ" ก็ต้องมี ผมรู้ดีว่าหุ้นส่วนใหญ่ผู้ก่อตั้งไทเกอร์ แอร์เวย์ส สิงคโปร์ คือ ไรอันแอร์ ประวัติดีมาก ตอนเปิดได้กองทุนเทมาเส็กฯสนับสนุน แต่ปัญหาใหญ่ของไทเกอร์ฯคือไม่มีเครือข่ายบิน พอมาร่วมทุนกับไทย ย่อมได้ประโยชน์เพราะไทยเป็นฮับ มีเครือข่ายจราจรเหนือน่านฟ้ากรุงเทพฯมหาศาล ความเข้มข้นเรื่องนี้ต่อไปจะสร้างความปั่นป่วนกับประเทศไม่น้อย

ตอน นี้จับต้นชนปลายกันไม่ถูกทาง พยายามอธิบายเหตุผลยกใหญ่ว่า ถ้ามี สายการบินใหม่คนไทยจะได้บินราคาถูกลง สร้างงานเพิ่มอีก 100 คน ถามหน่อยเถอะครับ แล้วจะเอาเส้นทางบินมาจากตรงไหนถ้าไม่ไปแย่งเจ้าอื่น ซึ่งอยู่ในตลาดมานาน 10-50 ปี

ถามต่ออีกว่าแล้วนโยบายคมนาคมในฐานะ กระทรวงกำกับดูแลกรมการบินพลเรือน (บพ.) จะจัดสรรสิทธิการบิน ด้วยเกณฑ์ใดหากทุกสายการบินแย่งขอ ช่วงเวลาเข้า-ออกตรงกัน อย่าว่าแต่ สนามบินต้นทางเลยสนามบินปลายทางเองจะรับไหวหรือ หาลูกค้ามาจากไหน เพราะเส้นทางยอดนิยมกระจุกอยู่แค่ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่ กระบี่ เดินทางหนาแน่นช่วงเช้า กลางวัน เย็น วันหยุด และเทศกาลเท่านั้น

คิด จะแข่งกันด้วย "ราคา" อย่างเดียวคงไม่ใช่ทางออกที่ดีแน่ โครงสร้างธุรกิจแท้จริงทำเช่นนั้นได้จริงหรือเปล่า จะอยู่ได้ต้องสมดุลทั้ง 3 ด้าน คือ "ปริมาณจราจร-ลูกค้า-ราคา"

สิ่งที่ผมห่วงคือ คิดดีแล้วหรือ ส่วนจะเป็นไทยหรือฝรั่งผมไม่สนใจ สมัยหนึ่งการบินไทยเคยมีสแกนดิเนเวียนถือหุ้น ต่อมามีแอร์สยามเกิดขึ้นปัญหาตามมามากมาย ต่างฝ่ายต่างโทษกันอ้างฝรั่งหนุนหลัง ผลสุดท้ายลงเอยด้วยการปิดสายหนึ่งและผ่าตัดใหญ่อีกสาย บาดเจ็บทั้งคู่

เรา เห็นปัญหาการบินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มามาก บางประเทศกำหนดขั้นตอนการให้สิทธิการบินต้องเจรจาแลกเปลี่ยนโดยจำกัดจำนวน ความถี่และผู้โดยสารอย่างเท่าเทียมกัน หรือแม้แต่การบินข้ามทวีปไปออสเตรเลียในอนาคต บพ.จะให้สิทธิอย่างไร และแม้แต่วงจรการบินทุกวันนี้ปรับหลักใหญ่ทั้งหมด โดยเฉพาะช่องทางขายตั๋ว เปลี่ยนจากกระดาษเป็นตั๋วอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์

ถึงวันนี้การบินไทย จะมีความสามารถขาดทุนได้วันละ 500 ล้านบาท แต่การเปิดไทย ไทเกอร์ฯด้วยทุนเล็กเท่าเมล็ดถั่ว 100 ล้านบาท ด้วยวิธีจ้างคนอื่นมาทำแล้ว ก็ใช้สิทธิการบินของประเทศ...ทำแบบนี้ จะไม่ให้เป็นห่วงได้อย่างไร

ร.ท.ฉัตรชัย บุญยะอนันต์ ถอดความ ในใจสู่สาธารณะในฐานะอดีตผู้บุกเบิกการบินไทยจนเติบใหญ่มาได้ถึง 50 ปี

Tags : ฉัตรชัย บุญยะอนันต์ ทีจี เปิดไทย ไทเกอร์ รอดช่วงสั้น ตายระยะยาว

view