สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

นิติ เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการป้องปรามอาชญากรรม : ขนาดของบทลงโทษที่เหมาะสม

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา

โดย ปกป้อง จันวิทย์ pokpongj@econ.tu.ac.th



หลัก เกณฑ์กำหนดค่าปรับที่เหมาะสม (Optimal Fine) โดยสมมติว่ามีการบังคับใช้กฎหมายอย่างสมบูรณ์ สามารถแยกพิจารณาภายใต้หลักกำหนดความรับผิด (Rule of Liability) 2 รูปแบบ คือ

(1) กรณีหลักความรับผิดเด็ดขาด (Strict Liability)

หลัก ความรับผิดเด็ดขาด กำหนดให้ ผู้ก่อความเสียหายต้องได้รับการลงโทษ เมื่อเกิดความเสียหาย โดยเป็นผู้รับภาระ ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเงื่อนไขในการกำหนดค่าปรับที่เหมาะสม ภายใต้หลักความรับผิดเด็ดขาดนั้นค่าปรับที่เหมาะสมสำหรับการลงโทษผู้กระทำ ความผิด คือ ค่าปรับในระดับที่มีมูลค่าเท่ากับค่าความ เสียหายที่ผู้กระทำความผิดสร้างขึ้น นับรวมทั้งมูลค่าที่เป็นตัวเงินและมูลค่าที่ไม่เป็น ตัวเงิน แต่ทั้งนี้ต้องไม่มากไปกว่ามูลค่า ของสินทรัพย์หรือความมั่งคั่ง (wealth) ของผู้กระทำความผิด นั่นคือ f* = h ; f* = w โดยที่ f* = ค่าปรับที่เหมาะสม, h = มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้น และ w = มูลค่าของสินทรัพย์หรือความมั่งคั่งของผู้กระทำความผิด

ตัวอย่างเช่น ค่าปรับที่เหมาะสมในคดีเมาแล้วขับจนเกิดอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้ผู้อื่นต้องเสียชีวิตและบาดเจ็บ ต้องเท่ากับมูลค่าความเสียหายทั้งหมดที่ผู้กระทำความผิด ก่อขึ้น เช่น ค่าสูญเสียชีวิต ค่าทรัพย์สินที่เสียหาย ค่ารักษาพยาบาล และค่าทำขวัญของผู้บาดเจ็บ ฯลฯ สมมติว่ามูลค่าความเสียหายทั้งหมดเท่ากับ 2 ล้านบาท ค่าปรับที่เหมาะสมต้องเท่ากับ 2 ล้านบาท หากค่าปรับต่ำกว่า 2 ล้านบาท จะเกิดการป้องปรามน้อยเกินไป หากค่าปรับสูงกว่า 2 ล้านบาท จะเกิดการป้องปรามมากเกินไป หากทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดมีน้อยกว่า 2 ล้านบาท ผู้กระทำความผิดต้องถูกลงโทษจำคุกเพิ่มเติมในสัดส่วนที่ชดเชยเงินค่าปรับที่ ไม่มีความสามารถในการจ่าย

(2) กรณีหลักความรับผิดบนฐานความผิด (Fault-based Liability)

ภายใต้หลักความรับผิดบนฐานความผิด ผู้ก่อความเสียหายไม่จำเป็นต้องรับผิดและรับการลงโทษเสมอไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกฎหมายตามแนวคิดทฤษฎี และเงื่อนไขหนึ่งของสถานการณ์ที่ไม่ต้องรับผิดแม้จะเกิดความเสียหายก็คือ กรณีที่มูลค่าของผลประโยชน์คาดคะเนจากการกระทำสูงกว่าต้นทุนคาดคะเน หรืออันตรายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น

สมมติว่า G คือระดับผลได้ที่เท่ากับระดับความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นระดับผลได้ขั้นต่ำที่ทำให้ไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย (Threshold level of gain under the fault-based sanctioning rule) หาก g = G เขาจะตัดสินใจกระทำการที่สร้างความเสียหายโดยที่ไม่ต้องรับผิด (g ในที่นี้คือระดับผลได้ใด ๆ) แต่หาก g < G เขาจะตัดสินใจกระทำการที่สร้างความเสียหายก็ต่อเมื่อ g > f หรือผลได้จากการกระทำต้องมีมูลค่ามากกว่าค่าปรับที่ต้องจ่ายจากการถูกลงโทษ ตามกฎหมาย

ค่าปรับที่เหมาะสมในกรณีที่ต้องรับผิดตามฐานความผิด คือ ค่าปรับที่สะท้อนมูลค่าความเสียหายทั้งหมดที่สร้างขึ้น (f* = G* = h) หาก g < h เขาจะมีความผิดตามกฎหมายเมื่อกระทำความเสียหาย และจะถูกปรับเท่ากับ h ดังนั้นเขาจะเลือกไม่กระทำการที่สร้างความเสียหาย แต่หาก g = h เขาจะไม่มีความผิดตามกฎหมายเมื่อกระทำความเสียหาย จึงไม่ต้องเสียค่าปรับ และจะตัดสินใจกระทำการที่สร้างความเสียหาย สรุปแล้วเงื่อนไขที่นำมาซึ่งพฤติกรรม ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (First-best behavior) คือการกำหนดให้ G > h โดยที่ f = h หรือ G = h โดยที่ f > h นั่นเอง

ตัวอย่างเช่น หากมูลค่าของอันตรายที่คาดคะเนจากการกระทำเท่ากับ 10,000 บาท ขณะที่ผลได้คาดคะเนจากการกระทำนั้นมีมูลค่า 6,000 บาท การกระทำดังกล่าวไม่ใช่การกระทำที่พึงปรารถนา และผู้กระทำถือว่ามีความผิดภายใต้หลัก ความรับผิดบนฐานความผิด โดยบทลงโทษที่เหมาะสมในกรณีนี้ต้องเท่ากับมูลค่าของอันตรายที่คาดว่าจะเกิด ขึ้นนั่นคือ 10,000 บาท หากค่าปรับอยู่ในระดับที่เหมาะสม ดังกล่าว ผู้กระทำจะตัดสินใจเลือกที่จะไม่กระทำการสร้างความเสียหาย เนื่องจาก ไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์สุทธิแก่ตนเอง จึงไม่คุ้มค่าที่จะทำ แต่หากค่าปรับอยู่ในระดับต่ำกว่ามูลค่าของผลได้ที่คาดว่าจะได้ (6,000 บาท) เขาจะตัดสินใจกระทำ ความเสียหาย เพราะคุ้มที่จะทำ แต่หากผลได้คาดคะเนจากการกระทำความเสียหาย มีมูลค่าสูงถึง 15,000 บาท ซึ่งมากกว่าความเสียหายที่ก่อขึ้นมูลค่า 10,000 บาท ในกรณีนี้จะถือว่าผู้กระทำไม่มีความผิด ตามหลักความรับผิดบนฐานความผิด ซึ่งเขาจะตัดสินใจกระทำการดังกล่าวแน่นอน และไม่ต้องรับภาระค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำมูลค่า 10,000 บาทแต่อย่างใด

การกำหนดอัตราค่าปรับในระดับที่เหมาะสม ภายใต้หลักความรับผิดบนฐานความผิดจึงต้องพิจารณาผลได้ที่เกิดจาก การกระทำประกอบด้วย โดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมาย ซึ่งทำให้ การบังคับใช้กฎหมายของรัฐยากลำบากและซับซ้อนกว่ากรณีของหลักความรับผิดเด็ด ขาด ซึ่งมีการลงโทษเมื่อเกิดความ เสียหายทุกกรณี ส่วนกรณีของหลักความรับผิดบนฐานความผิด รัฐต้องกำหนดเงื่อนไขหรือเกณฑ์มาตรฐานของกฎหมาย ที่จะกำหนดว่าเมื่อใดจึงจะถือว่าต้องรับผิดตามกฎหมาย และจะต้องพิจารณาจากพฤติกรรมจริงของผู้สร้างความเสียหายว่าละเมิดเงื่อนไข ตามกฎหมายดังกล่าวหรือไม่ก่อนตัดสินลงโทษต่อไป

สำหรับการปรับเงินภาย ใต้หลักความ รับผิดทั้งสองกรณี หากการปรับเงินมีต้นทุนในการบริหารจัดการ ค่าปรับที่เหมาะสมต้องรวมต้นทุนในการบริหารจัดการเข้าไปด้วย ทั้งนี้ต้นทุนในการบริหารจัดการการปรับเงินจะมีค่าน้อยกว่าในกรณีของหลัก ความรับผิดบนฐานความผิดเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีหลักความรับผิดเด็ดขาด เพราะ ไม่ได้เกิดการลงโทษขึ้นเสมอเมื่อมีความ เสียหายเกิดขึ้น

ส่วนใน กรณีของการกำหนดบทลงโทษจำคุกที่เหมาะสม (Optimal Imprison ment) ว่าจะลงโทษจำคุกเป็นระยะเวลาเท่าใดก็มีหลักเกณฑ์การพิจารณาใกล้เคียงกับกรณี ของการกำหนดค่าปรับที่ เหมาะสม

ภายใต้หลักความรับผิดเด็ดขาด ระยะเวลาของโทษจำคุกต้องพิจารณาทั้งทางด้าน (1) ผลประโยชน์ของการจำคุกที่มีส่วนช่วยให้ผู้คิดกระทำความผิดตัดสินใจเลือกที่ จะไม่กระทำความผิด และทางด้าน (2) ต้นทุนของการจำคุก เพราะการจำคุกมีต้นทุนในการดูแลรักษาระบบคุกด้วยนอกเหนือจากต้นทุนส่วนตัว ที่ตกกับผู้ถูกจำคุก ดังนั้น การตัดสินใจเลือกระยะเวลาของการลงโทษจำคุกที่เหมาะสมต้องพิจารณาทั้งด้านผล ประโยชน์ส่วนเพิ่มและต้นทุนส่วนเพิ่มจากการตัดสินใจจำคุกเพิ่มขึ้นทีละหน่วย เพื่อให้สังคมได้รับสวัสดิการสังคมสูงสุด ระยะเวลาของการจำคุกที่เหมาะสม คือ ระดับ ที่ทำให้ผลประโยชน์ส่วนเพิ่มเท่ากับต้นทุนส่วนเพิ่ม

การ ลงโทษจำคุกตามหลักความรับผิดเด็ดขาด ไม่อาจนำพาให้สังคมบรรลุระดับสวัสดิการสูงสุดได้ เนื่องจากผู้กระทำความผิดถูกกำหนดให้ต้องรับผิดและถูกลงโทษโดยไม่คำนึงถึงผล ประโยชน์สุทธิของสังคม ทั้งที่การลงโทษนั้นเป็นการลงโทษที่มีต้นทุนต่อสังคมสูงก็ตาม ขณะที่การลงโทษจำคุกตามหลักความรับผิดบนฐานความผิดสามารถนำพาสังคมสู่ระดับ สวัสดิการสังคมสูงสุดได้ เนื่องจากเฉพาะในกรณีที่ g < h เท่านั้นที่ผู้สร้างความเสียหาย จะถูกลงโทษจำคุกเท่ากับ h แต่ถ้า g > h เขาก็จะไม่ถือว่ามีความผิดและไม่ถูกลงโทษจำคุก ซึ่งไม่สิ้นเปลืองทรัพยากรของสังคม

ดังนั้น ในกรณีที่วิธีการลงโทษสร้างต้นทุนสูงต่อสังคม การลงโทษตามหลักความรับผิดบนฐานความผิด เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการลงโทษตามหลักความรับผิดชอบเด็ดขาด เมื่อพิจารณาในมิติด้านสวัสดิการสังคม

Tags : นิติเศรษฐศาสตร์ ว่าด้วย การป้องปรามอาชญากรรม บทลงโทษที่เหมาะสม

view