สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปลี่ยนกรอบความคิด นวัตกรรม ขิงแก่ ข่ม หน้าใหม่ เจ้าไอเดียตัวจริง

จากประชาชาติธุรกิจ



หลาย คนอาจเข้าใจว่า "คนรุ่นใหม่" มักเป็นผู้คิดค้นนวัตกรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ ทว่าข้อมูลจากผลวิจัยพบว่า บรรดา "ขิงแก่" กลับมีแนวโน้มที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ มากกว่าคนอายุน้อย

"นิวส์วี ก" รายงานว่า ภาพของ ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มอย่าง "มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก" ผู้คิดค้นเว็บเครือข่ายสังคมยอดฮิต "เฟซบุ๊ก" ได้ตั้งแต่อายุ 19 ปี รวมถึงเพื่อนคู่หู "แลร์รี่ เพจ" และ "เซอร์กี้ บริน" จะพัฒนา "กูเกิล" จนประสบความสำเร็จได้ตั้งแต่อายุ 23 ปี ทำให้คนเหล่านี้กลายเป็นไอดอลของ คนรุ่นใหม่ที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมอัน ยิ่งใหญ่ได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ สวนทางกับภาพของผู้ประกอบการวัยกลางคนที่มักถูกมองว่าไม่ยอมเปลี่ยนแปลง มีทักษะ ที่ล้าสมัย และหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

ทว่าเมื่อมองไปใน อีก 20 ปีข้างหน้า เมื่ออายุเฉลี่ยของคนอเมริกันจะเพิ่มจาก 37 เป็น 39 ปี สหภาพยุโรปที่เพิ่มจาก 40 เป็น 45 ปี และในญี่ปุ่นที่เพิ่มจาก 45 เป็น 49 ปี เนื่องจากอัตราเกิดของคนหลังยุคเบบี้บูมลดลง อาจทำให้โลกต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนศักยภาพด้านความสร้างสรรค์หรือไม่ แต่ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าว ประเทศเหล่านี้จะยังสามารถแข่งขัน เติบโต และสร้างความมั่งคั่งได้ต่อไป

"วิเวก วาดห์วา" นักเรียนทุนของ มหาวิทยาลัยดุ๊ก ซึ่งศึกษาการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จ 549 ราย อธิบายว่า เป็นเพราะนวัตกรรมที่สามารถเขย่าโลกได้นั้นจะเปลี่ยนแนวคิดของคนจำนวนมากที่ มองว่าคนอายุมากทำอะไร ไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดพลาด ผู้ก่อตั้งธุรกิจไฮเทคใหม่ ๆ จะไม่ใช่คนอายุน้อยที่เพิ่งจบการศึกษา หากแต่จะเป็นบรรดาวิศวกรในวัย 40 ปี หรือนักธุรกิจที่มีครอบครัวแล้ว และเบื่อที่จะโหมงานหนักเพื่อคนอื่น

"วาดห์วา" ระบุถึงสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการขิงแก่มีอัตราการประสบความสำเร็จที่มากกว่า เมื่อเริ่มก่อตั้งบริษัทเองว่า คนเหล่านี้สั่งสมความเชี่ยวชาญในงานด้านเทคโนโลยี มีความรู้อย่างลึกซึ้งถึงความต้องการของลูกค้า และใช้เวลาตลอดหลายปีในการพัฒนาเครือข่ายผู้สนับสนุนด้านการทำงาน อาทิ ผู้สนับสนุนด้านการเงิน

สอดคล้องกับข้อมูลของ "คอฟฟ์แมน ฟาวน์เดชั่น" ที่พบว่า อายุของผู้ประกอบการที่มีความสร้างสรรค์และสามารถยอมรับความเสี่ยงได้มากก็ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยอัตราการเป็นผู้ประกอบการในอเมริกาที่มากที่สุดได้ปรับมาอยู่ในช่วงอายุ 55-64 ปี และผู้ประกอบการอายุ 55 ปีขึ้นไปมี แนวโน้มจะประสบความสำเร็จกับธุรกิจเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับคนในวัย 20-34 ปี ขณะที่อัตราการเป็นผู้ประกอบการในสหรัฐเพิ่มขึ้นในทุกช่วงอายุนับตั้งแต่ปี 2539 ยกเว้นคนในช่วงอายุต่ำกว่า 35 ปีที่ลดลง

คนยุคเบบี้บูมกำลัง อยู่บนจุดสูงสุดของธุรกิจที่ตัวเองก่อตั้งมา แต่การที่ผู้คนทั่วไปมองข้ามความสำคัญของคนรุ่นเก่าก็เพราะขิงแก่เหล่านี้ ไม่ได้คิดค้นแอปพลิเคชั่น บนเว็บ หรือผลิตภัณฑ์ที่เข้าใจได้ง่าย แต่กลับเป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน อาทิ เทคโนโลยีชีวภาพ พลังงาน หรือฮาร์ดแวร์ไอที นอกจากนี้บริษัทเหล่านี้ยังเน้นขายผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ภาคธุรกิจ ซึ่งผู้บริโภคมองไม่เห็น แต่เป็นนวัตกรรมที่มีอิทธิพลและช่วยให้เศรษฐกิจเติบโต

ยกตัวอย่างใน สหรัฐ บริษัทน้องใหม่ด้านเทคโนโลยีที่เติบโตรวดเร็วที่สุดตามการจัดอันดับของ "ฟอร์บส" คือ "เฟิร์สต โซลาร์" ซึ่งก่อตั้งโดยนักประดิษฐ์วัย 68 ปี ส่วนบริษัทอันดับ 2 คือ "ริเวอร์เบด เทคโนโลยี" ที่ก่อตั้งโดยนักธุรกิจวัย 51 และ 33 ปี และ "ซิงกา" (Zynga) ผู้พัฒนาเกมออนไลน์ อาทิ ฟาร์มวิลล์ ก่อตั้งโดย มาร์ก พินคัส ในวัย 44 ปี ขณะที่ธุรกิจในเซ็กเตอร์อื่น ๆ อาทิ เทคโนโลยีชีวภาพและพลังงานก็มีแนวโน้มที่ผู้ประกอบการจะมีอายุเพิ่มขึ้น

ไม่ เพียงแต่ในแง่จำนวน แต่ขิงแก่ยังมีคุณภาพคับแก้วอีกด้วย "เบอร์กิต เวอร์วองค์" นักเศรษฐศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยเดรสเดน ยกตัวอย่างบริษัทในเยอรมนี ที่ไม่เพียงแต่พนักงานสูงอายุจะมีไอเดียที่ดีในการออกแบบกระบวนการทำงานที่ มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่นวัตกรรมเหล่านั้นยังสามารถแปรเป็นผลตอบแทนกลับมาสู่บริษัทได้มากกว่าไอ เดียของ พนักงานวัยละอ่อนอีกด้วย

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ผู้คนมอง ว่าขิงแก่มีผลิตภาพต่ำ ไม่สร้างสรรค์นวัตกรรม "เดวิด กาเลนสัน" นักเศรษฐศาสตร์จาก มหาวิทยาลัยชิคาโก อธิบายว่า เกิดจากทัศนคติและวัฒนธรรมที่แบ่งเป็น 2 ขั้ว โดยฝ่ายแรกตั้งอยู่บนพื้นฐานของคอนเซ็ปต์ใหม่ที่มองว่า ผู้คิดค้นนวัตกรรมอายุน้อยเป็นพวกที่เก่งเลิศเลอ เหมือนอย่างปิกัสโซ หรือไอน์สไตน์ ที่ปฏิวัติวงการศิลปะและวิทยาศาสตร์ในขณะที่อายุยังน้อย ส่วนอีกขั้วหนึ่งมาจากแนวคิดที่ว่าความเชี่ยวชาญสั่งสมมาใช้ในช่วงท้าย ๆ ของชีวิต เหมือนอย่าง พอล เซซานน์ หรือดาร์วิน

การมองข้ามความสำคัญ ของขิงแก่ ทำให้บริษัทหลายแห่งนิยมจ้างงานเด็ก จบใหม่ และให้คนที่มีประสบการณ์นาน ๆ ทำงานประจำวันแทน แต่มีบริษัทไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ยอมควักเงินเพื่อฝึกอบรมทักษะให้แก่ พนักงานขิงแก่อย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาความเชี่ยวชาญของคนเหล่านี้เอาไว้ ขณะที่ตัวพนักงานเองก็มองข้ามเรื่องนี้ ขิงแก่จำนวนมากปล่อยให้ตัวเองตกยุคแทนที่จะรักษาทักษะที่มีค่าไว้ เพราะไม่ยอมเข้าร่วมอบรมคอร์สต่าง ๆ ของบริษัท

น่าสนใจว่าการเปลี่ยน กรอบความคิดเกี่ยวกับผู้ประกอบการและพนักงานขิงแก่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง ยกตัวอย่าง "บีเอ็มดับเบิลยู" ที่ใช้วิธีตั้งทีมงานที่มีหลายช่วงอายุ เพื่อลดการสูญเสียองค์ความรู้จากการที่พนักงานขิงแก่เกษียณอายุไป ส่วน "ซีเมนส์" ตั้งระบบพี่เลี้ยงต่างวัย (cross mentoring) ที่ให้พนักงานขิงแก่สอนประสบการณ์ให้กับพนักงานมือใหม่ ขณะเดียวกันพวกสูงวัยก็เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ จากพวกน้องใหม่ไปพร้อมกัน

Tags : เปลี่ยนกรอบความคิด นวัตกรรม ขิงแก่ หน้าใหม่ เจ้าไอเดียตัวจริง

view