สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ลวนลามทางเพศปัญหาใหญ่ใต้พรมที่ต้องแก้ค่านิยมใหม่

จาก โพสต์ทูเดย์

ผู้เสียหายส่วนใหญ่ก็กังวลใจในการให้ข้อมูลเพราะการพิสูจน์ความ จริงต้องมีการบรรยาย นำพาไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “การละเมิดซ้ำ” เป็นความรุนแรงที่ผู้หญิงไม่อยากถูกกระทำอีก....

โดย...วิทยา ปะระมะ

ในที่สุดครม.ก็มีมติเห็นชอบร่างกฎ ก.พ.ว่าด้วยการกระทำการอันเป็นการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศเมื่อวันที่ 31 ส.ค.2553 ที่ผ่านมาและเตรียมประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป

ปัญหาการคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับ เพศหญิงและผู้กระทำส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับผู้ถูกกระทำ เช่น อาจารย์กับลูกศิษย์ หัวหน้ากับลูกน้อง ผู้โดยสารกับแอร์โฮสเตสฯลฯ แม้ไม่รุนแรงถึงขั้นใช้กำลังข่มขืนแต่แค่เมียงมองด้วยสายตาหื่นกระหายหรือ กล่าววาจาแทะโลมสัดส่วนเฉพาะตัวก็นับได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว

ทั้งนี้หากไล่เรียงกฎหมายเกี่ยวกับการละเมิดทางเพศที่มีอยู่ในปัจจุบัน นี้ กฏ ก.พ.ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากครม.ให้การคุ้มครองเฉพาะข้าราชการพลเรือนแต่ ไม่ได้คุ้มครองข้าราชการประเภทอื่นด้วย ส่วนฝั่งเอกชนมี พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2551 มาตรา 16 กำหนดห้ามไม่ให้นายจ้างล่วงเกินคุกคามทางเพศแก่ลูกจ้าง

ส่วนกฏหมายอาญานอกจากบทคุ้มครองเรื่องการข่มขืนแล้ว การแตะเนื้อต้องตัวโดยไม่ได้รับการยินยอมก็ถือว่ามีความผิดฐานอนาจารเช่นกัน

แม้จะมีกฏคุ้มครองในหลายด้าน แต่จะช่วยลดการละเมิดคุกคามทางเพศได้จริงหรือ?

กฤติยา อาชวนิจกุล จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลตั้งข้อสังเกตว่าสังคมไทยมีวิธีคิดเกี่ยวกับการละเมิดทาง เพศว่าเป็นเพียงเรื่องเล็ก เป็นเรื่องของคนๆเดียวและวิธีคิดว่าถ้าปรบมือข้างเดียวก็ไม่ดัง ทั้งที่โดยพื้นฐานแล้วการละเมิดทางเพศตั้งอยู่บนความไม่ยินยอมของผู้ ถูกกระทำ

เมื่อถูกกระทำแล้วยังมีวัฒนธรรม“ความเงียบ” คือผู้เสียหายยอมให้เรื่องเงียบ หรือผู้ละเมิดพยายามทำให้เรื่องเงียบเพื่อกดปัญหาเอาไว้ แต่เมื่อมีคนโวยวายขึ้นมาก็ยังมีวัฒนธรรม“การตีตราให้ถูกละอาย” กระบวนการเหล่านี้บั่นทอนกำลังใจในการพูดความจริง ในที่สุดก็จะวนกลับไปที่ความเงียบเหมือนเดิม

ยังไม่รวมถึงการดิสเครดิต ลดคุณค่าผู้เสียหายลงไม่ว่าจะเป็นการกลบเกลื่อนว่าเป็นเรื่องโจ๊กเรื่องตลก มองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย จนทำให้ปัญหาการละเมิดทางเพศถูกซุกไว้ใต้พรมเสมอมา

ดังนั้นสังคมไทยคงต้องหันมาทบทวนตั้งคำถามกับค่านิยมและวิธีคิดในลักษณะนี้อย่างจริงจังเสียที

ด้าน นัยนา สุภาพึ่ง อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมองว่าปัญหาหนึ่งของการล่วงละเมิดทางเพศ ลักษณะนี้คือยากที่จะพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพราะการจับนมจับก้นไม่มีลายนิ้วมือ ปรากฏให้เห็นอีกทั้งเกิดขึ้นในที่มิดชิดยากที่จะหาพยานรู้เห็น

ขณะที่การให้ข้อเท็จจริงในกระบวนการยุติธรรม ผู้เสียหายส่วนใหญ่ก็กังวลใจในการให้ข้อมูลเพราะการพิสูจน์ความจริงต้องมี การบรรยาย นำพาไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “การละเมิดซ้ำ” เป็นความรุนแรงที่ผู้หญิงไม่อยากถูกละเมิดซ้ำเลยเลือกที่จะปล่อยให้เรื่อง ผ่านๆไป

“เราคงต้องมาทำความเข้าใจกันใหม่ว่าเรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องน่า ละอายและต้องมานั่งคุยกันทั้งฝ่ายบริหาร ผู้มีอำนาจตัดสินใจและพนักงานในองค์กรต่างๆว่าหากมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิด ขึ้นจะมีกลไกในการแก้ปัญหาอย่างไร ยิ่งกับองค์กรธุรกิจผู้ที่ถูกละเมิดจะไม่อยากพบเจอกับหัวหน้าหรือลูกค้าที่ คุกคาม เท่ากับเป็นการเสียประสิทธิภาพการทำงานไป ตัวเลขเหล่านี้เราต้องเอามาคำนวนความเสียหายออกมาให้ชัดเจนว่ามีมากน้อย เท่าใด จะได้ทำให้องค์กรเรียนรู้และเข้าใจถึงผลเสียของการละเมิดทางเพศอย่างแท้ จริง”

ขณะที่ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ อดีตรัฐมนตรีสำนักนายกรัฐมนตรี เห็นว่าการแก้ปัญหาละเมิดทางเพศในสังคมไทยนอกจากการผลักดันกฏก.พ.แล้ว ยังต้องมีการแก้ไขกฎหมายอาญาให้การละเมิดทางเพศอื่นๆนอกเหนือจากการข่มขืน เป็นความผิดทางอาญาด้วย

วิธีนี้เป็นการส่งสัญญาณให้สังคมรับรู้ว่าเมืองไทยกำลังเอาจริงกับการกระทำในลักษณะนี้

“เรื่องคุกคามทางเพศเป็นเรื่องซ้ำๆซากๆเกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่มันควบคุมสั่งสอนได้ เป็นภาระของผู้ชายที่ต้องรู้จักดูแลควบคุมตัวเอง รวมไปถึงครอบครัว เราสอนให้เข้าห้องน้ำ สอนให้รู้จักควบคุมอารมณ์ต่างๆได้ทำไมจะสอนให้ควบคุมอารมณ์ทางเพศไม่ได้” 

Tags : ลวนลามทางเพศ ปัญหาใหญ่ ใต้พรม ต้องแก้ค่านิยมใหม่

view