สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ถอดโมเดล... เอ็นวายเค-พานาโซนิค ตอบโจทย์ลดต้นทุนโลจิสติกส์

จากประชาชาติธุรกิจ

การ พัฒนาด้านโลจิสติกส์นับเป็นภารกิจที่สำคัญสำหรับบริษัทต่าง ๆ เพราะไม่เพียงจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจ และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า แต่ยังมีผลพลอยได้ในการช่วยลดต้นทุนให้กับบริษัท

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือ แห่งประเทศไทยได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านโลจิสติกส์ร่วมกับองค์การการ ค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) โดยหัวข้อหนึ่งของงานสัมมนา เป็นการนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จของโครงการฝึกอบรมจัดระบบมาตรฐานวิชาชีพโล จิสติกส์ (LQSP) จากกรณีของบริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) และบริษัท เอ็นวายเค โลจิสติกส์ (ประเทศไทย)

เริ่มจากบริษัทพานา โซนิคที่คิดหาวิธีแก้ปัญหาด้านโลจิสติกส์ที่มีอยู่ ได้แก่ต้นทุนด้านการขนส่งของบริษัทยังสูงกว่า งบประมาณที่กำหนดไว้ที่ 0.7% ของยอดขาย ขณะที่ต้นทุนที่แท้จริงสูงกว่านั้น ยกตัวอย่างการขนส่งชิ้นส่วนรวมมูลค่า 120,000 บาท ไปยังจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีต้นทุนอยู่ที่ 6,826 บาท หรือคิดเป็น ต้นทุน 5.68% ของยอดขาย รวมถึงการส่งสินค้าแบบรายเที่ยว ไม่เหมาะกับการขนส่งสินค้าที่ไม่เต็มคันรถ ทำให้ต้นทุนสูง

ปัญหาลูกค้าไม่พอใจกับการจัดส่งที่ล่าช้า หากบริษัทรอให้มีสินค้ามากพอที่จะบรรทุกให้เต็มคันรถ ก็อาจทำให้ลูกค้าต้องรอนาน ขณะที่อีกด้านหนึ่ง หากยอมขนส่งทั้งที่สินค้ามีจำนวนไม่มาก ก็หมายความว่าบริษัทขนส่งอากาศในรถบรรทุกในราคาที่แพงมาก ซึ่งสะท้อนมุมมองในด้านอุปทานที่ไม่ตอบสนองต่อด้านอุปสงค์

กรณีการขน ส่งสินค้าจากโรงงานแบบเต็มคันรถ (full truck load) อาจมีผลิตภัณฑ์ชิ้นเล็ก ๆ และมูลค่าต่ำ แต่บริษัทจำเป็นต้องจัดส่งไปในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงบริษัทไม่อาจหลีกเลี่ยงการจัดส่ง แบบเร่งด่วน และการรับสินค้ากลับไปซ่อมได้ ซึ่งล้วนส่งผลต่อต้นทุนการขนส่งของบริษัท

พา นาโซนิค ซิว เซลส์ จึงกำหนดเป้าหมายที่จะพัฒนาการบริการจัดการ และควบคุมต้นทุนด้านการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ เพื่อประโยชน์ต่อบริษัท และสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยปัญหาแรก คือการขนส่งสินค้าขนาดเล็กที่ขนส่งปริมาณไม่มาก และต้องขนส่งเป็นประจำทุกวัน ซึ่งมีสาเหตุจากการที่ลูกค้าไม่สามารถสต๊อกสินค้าไว้ได้นาน ๆ จึงสั่งในปริมาณน้อย และการที่ลูกค้าต้องการสินค้าเร่งด่วน แต่มีจำนวนไม่มาก บริษัทหาทางออกด้วยการจ้างบริษัทขนส่งประเภท Less-than-truck load (LTL) ที่บรรทุกสินค้าจำนวนน้อย ไม่เต็มคันรถ ให้ดำเนินการแทน ซึ่งวิธีนี้ช่วยลดต้นทุน ลงได้

ยกตัวอย่าง 2 เส้นทางภาคใต้ กระบี่-พังงา-ภูเก็ต และสตูล-สงขลา ที่เดิมต้นทุนขนส่งอยู่ที่ 20,892 บาท หรือ 5.55% เพราะต้องใช้รถบรรทุก 2 คัน แต่เมื่อใช้ระบบ LTL ทำให้ต้นทุนเหลือ 5,089 บาท หรือ 1.35%

โจทย์ ต่อมา คือการขนส่งสินค้าแบบ เต็มคันรถ แต่สินค้าที่จัดส่งไกลเป็นชิ้นเล็ก มีราคาถูก บริษัทแก้ปัญหาด้วยการจัดส่งข้อมูลที่แยกรายละเอียดร้านค้า อำเภอ จังหวัด เพื่อจัดการเส้นทางขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ และแยกเอาสินค้าชิ้นเล็กส่งผ่านระบบ LTL

นอกจากนี้ ยังต้องจัดการข้อมูลให้มีความชัดเจน เพื่อลดการตีกลับสินค้า ส่วนปัญหาการรับส่งสินค้าแบบด่วน รวมทั้งสินค้าส่งซ่อมในพื้นที่ไม่มีรถวิ่งผ่าน แต่บริษัทสัญญาว่าจะทำให้เสร็จภายใน 3 วัน บริษัทใช้วิธีสร้างเครือข่ายรับส่งสินค้าผ่านระบบ LTL โดยให้ศูนย์กระจายสินค้าเป็นผู้รับแทน

ซึ่งวิธีเหล่านี้ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนให้บริษัท และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ยังช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย

ด้าน บริษัท เอ็นวายเค โลจิสติกส์ ออกแบบกระบวนการในการขนส่งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาความแออัดของสถานที่รับตู้เปล่า ความไม่แน่นอนจากสภาพการจราจร การรอบรรจุสินค้า รอพิธีการทางศุลกากรและอื่น ๆ ที่ทำให้กินเวลามากถึง 4 ชั่วโมง

โดยเมื่อใช้การตั้งลานพักตู้สินค้า (LSP CY) เพื่อเก็บตู้สินค้าเปล่าชั่วคราวไว้รอจ่ายเข้าไปยังศูนย์รวบรวมชิ้นส่วน หรือศูนย์ A ตามรอบเวลา รวมถึงพักเก็บตู้สินค้าหนัก ก่อนจะคืนตู้สินค้าที่ท่าเรือ พักตู้ชั่วคราว เพื่อรอการเตรียมเอกสาร ซึ่งทั้ง LSP CY และศูนย์ A ต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกัน โดยมีรถวิ่งระหว่าง 2 จุดนี้ ซึ่งจะทำให้เวลาลดเหลือเพียง 1 ชั่วโมง

บริษัทยังปรับปรุง การใช้หัวลากแบบไม่ต้องรอ โดยเมื่อรับตู้เปล่าจาก LSP CY ก็ทิ้งตู้เปล่าไว้ที่ศูนย์ A เพื่อบรรจุสินค้า และนำหัวลากไปลากตู้กลับ LSP CY โดยไม่ต้องทิ้งหัวลากไว้จอดรอเปล่า ๆ ซึ่งนอกจากจะใช้เวลาน้อยลงแล้ว ยังใช้รถเพียง 16 คัน จากเดิมที่ต้องใช้ รถ 18 คัน

Tags : ถอดโมเดล เอ็นวายเค พานาโซนิค ตอบโจทย์ ลดต้นทุนโลจิสติกส์

view