สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล ศูนย์เพื่อนชุมชน เมื่อ รง.อยากอยู่ร่วมกับชาวบ้าน

วีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล "ศูนย์เพื่อนชุมชน" เมื่อ รง.อยากอยู่ร่วมกับชาวบ้าน
จากประชาชาติธุรกิจ

สัมภาษณ์



กลุ่ม อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง จำนวน 5 ราย ได้แก่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน), กลุ่มเอสซีจี (SCG), บริษัท บีแอลซีพี พาวเวอร์ จำกัด, บริษัท ดาว เคมิคอล จำกัด และกลุ่มบริษัทโกลว์ ได้เปิดตัว "ศูนย์เพื่อนชุมชน" อย่างเป็นทางการ เพื่อดูแลชีวิตความเป็นอยู่ไปจนถึงสิ่งแวดล้อมของชุมชนใกล้เคียงนิคม อุตสาหกรรมมาบตาพุด

การเปิดตัวศูนย์เพื่อนชุมชนดังกล่าว มีขึ้นทันทีที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้โครงการที่ไม่เข้าข่ายกิจการ รุนแรง 11 กิจการ สามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ แน่นอนว่าโครงการเหล่านี้มีทั้งโครงการของ ปตท.-SCG-ดาว เคมิคอลรวมอยู่ด้วย โดย นายวีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานกลุ่มเพื่อนชุมชน ได้ให้สัมภาษณ์ ถึงการดำเนินการของศูนย์

- ศูนย์เพื่อนชุมชนคืออะไร

แนวคิดก็คือ การรวมตัวกันของผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตา พุด ทางศูนย์ จะต้องเข้าไปคุยกับชุมชนในสิ่งที่จะต้องทำเพิ่มเติม คอยประสานงานระหว่างภาคธุรกิจกับรัฐ และธุรกิจกับชุมชน ศูนย์นี้จะคอยเชื่อมโยงทุกอย่างไว้ด้วยกัน จะไม่มีการทำงานซ้ำซ้อนกัน หรือในสิ่งที่เรายังไม่ได้ดำเนินการเราต้องเร่งดำเนินการ เหล่านี้คือจุดมุ่งหมายที่ต้องการจะทำ

ศูนย์ดังกล่าวไม่เพียงเป็น ตัวประสานเชื่อมโยงเท่านั้น แต่จะมีการถ่ายทอดข้อมูลทั้งที่เป็นเชิงวิชาการและข้อมูลในเชิงกิจกรรมด้วย ว่า แต่ละบริษัทมีกิจกรรมต่อชุมชนอย่างไรบ้าง รวมไปถึงการนำเสนอข้อมูลทั้งในกลุ่มย่อยต่าง ๆ เครือข่ายของชุมชนที่จะเกิดขึ้นจะมีการรวบรวมไว้ จะมีการพูดคุยกับชุมชนว่าอะไรที่เป็นประโยชน์และอยากให้เราทำ การรวมตัวของ 5 อุตสาหกรรมใหญ่ครั้งนี้ถือเป็นเรื่องที่ดีและโมเดลแบบนี้เราอยากให้ทั่ว ประเทศรวมตัวกันทำแบบนี้เพิ่มขึ้น

ในวันนี้ไม่ว่าภาคธุรกิจจะดำเนิน การอะไรก็ตามจะต้องคิดว่า มันต้องยั่งยืนและต้องมองใน 3 มิติคือ 1) สังคม คือต้องตอบแทนสังคม 2) สิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะทำอะไรต้องไม่ไปทำลายและยังต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อมได้ ด้วย และ 3) ธุรกิจต้องเลี้ยงตัวเองอยู่ได้อย่างยั่งยืน

- มีการลงขันกัน 100 ล้านบาท

เงิน จำนวนนี้ถือเป็นการลงขันครั้งแรก เพราะศูนย์ตั้งขึ้นมาต้องมีเงินเริ่มต้น จากนี้ไม่ว่าจะเป็น ปตท.-เอสซีจี-บีแอลซีพี-โกลว์ และดาว เคมิคอล จะมาช่วยกัน นั่งคิดต่อไปว่าจะเกิดโครงการใดขึ้นมาบ้าง เป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะคิดแล้วว่า จะทำอย่างไรต่อ จะมีโครงการอย่างไรและให้โครงการมันต่อเนื่อง ทั้งนี้ในอนาคต หากตัดสินใจจะทำอะไรก็ตามแล้ววงเงิน 100 ล้านบาทไม่พอ เราก็จะมีการลงขันเพิ่มอีก แต่เรายังไม่ได้วางเป้าหมายว่า ในแต่ละช่วงเราจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ อย่างไรตอนนี้เริ่มต้นที่เพียงเราจะต้องจัดตั้งศูนย์ขึ้นมาให้ได้ อย่างน้อยโครงงานระยะสั้นก็ได้เห็นกันแล้ว ระยะยาวต่อไป 3-5 ปีข้างหน้านั้น ที่จะทำแน่ ๆ ก็คือ ทุนการศึกษาสำหรับผู้สนใจเรียนพยาบาล โครงการ 4 ปี จำนวนทั้งหมด 200 ทุน หรือทุนละ 60,000 บาท/ปี และเมื่อเรียนจบต้องกลับมาทำงานในพื้นที่

ถามว่า ทำไมต้องเลือกที่จะให้ทุน เรียนพยาบาล คือเรานึกถึงการรักษาพยาบาลที่ดีที่นี่ยังขาดแคลน เราก็ตั้งโจทย์ขึ้นมาที่ 200 คน คนที่รับทุนต้องมาทำงานที่นี่ หากเป็นไปได้เราอยากจะให้โอกาสกับลูกหลานในชุมชน ส่วนโรงพยาบาลกลับมีปัญหาน้อยมากและไม่พอรองรับความต้องการชุมชน ซึ่งโรงพยาบาลในระยองที่ผ่านมามีการขยายตัวมาก แต่ยังขาดพยาบาล

- การช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็ก

เรา จะเน้นไปที่การแบ่งปันความรู้มากกว่า ในแง่ของเงินใช้ไม่มาก ทั้ง 5 บริษัทตกลงร่วมกันว่า เรามีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องใด เราพร้อมที่จะแบ่งปันเพื่อช่วยปรับปรุงทุกอย่างให้มันดีขึ้น บุคลากรที่เก่งด้านใดที่สุดจะส่งไปช่วยในเรื่องนั้น ๆ

- อุตฯปิโตรเคมีต้องปรับปรุงอย่างไร

ตอน นี้ทุกอย่างก็ชัดเจนแล้วตามที่ศาลปกครองประกาศออกมา ขณะนี้ยังมีเพียงบางขั้นตอนที่ยังอยู่ในระหว่างดำเนินการหารือภาครัฐ ทั้งนี้ในภาคอุตสาหกรรมเราต้องการดำเนินการทุกอย่างให้ถูกต้องตามกระบวนการ และขั้นตอน และข้อกฎหมายที่กำหนด มีกติกาอย่างไรเราทำตามกติกานั้น อีกมุมหนึ่งที่จะต้องเพิ่มเติมคือ ทำเรื่องชุมชน เพราะทำแค่นั้นไม่พอ ทำกิจกรรมอะไรที่ร่วมกับชุมชนให้มากกว่าที่เราทำทุกวันนี้

- โครงการในพื้นที่หลังคำพิพากษา

ภาค อุตสาหกรรมไม่ได้ห่วงเรื่อง ความเข้มงวดจากหลักเกณฑ์หรือข้อกำหนดอะไรก็ตาม ต่อไปนี้เมื่อหลักเกณฑ์มีความชัดเจนขึ้น เราก็จะพิจารณาว่าเราจะลงทุนอะไรต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเอสซีจีหรือ ปตท. วันนี้เรามองว่าตลาดในประเทศไทยเฉพาะในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมันขยายตัวเพียง ร้อยละ 4 ต่อปีเท่านั้น ในขณะที่เราต้องการให้ขยายตัวร้อยละ 10-20 ฉะนั้นเท่ากับว่าวันนี้ในประเทศมันไม่พอ อย่างบริษัทในเครือของบริษัท ปตท.เคมิคอล รายได้จากต่างประเทศ เพิ่มขึ้น เมื่อมาถึงจุดนี้เราควรจะเดินออกไปนอกประเทศแล้ว ซึ่งแม้กระทั่งขณะนี้ กลุ่มเอสซีจีก็ได้ไปลงทุนในต่างประเทศ ค่อนข้างมาก

- ไม่ขยายลงทุนในไทย

การ ลงทุนหรือไม่ลงทุนในเมืองไทย ผมว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับกรณีมาบตาพุดเลย มันอยู่ที่ตลาดหรือไม่มากกว่า แต่วันนี้เราต้องมาทำเรื่องชุมชน เรามองว่าเป็นเรื่องที่ดีและอยากให้กิจการในเมืองไทยเข้ามาตระหนักในเรื่อง นี้ ช่วยกันทำมาก ๆ รูปแบบของเรา หากจะก๊อปปี้ไปทำเราก็ยินดีให้ทำ ทั้งนี้กฎเกณฑ์ที่ออกมาก็ไม่ได้ระบุว่า ห้ามลงทุนในมาบตาพุด แต่ละบริษัทต้องไปพิจารณากันเอาเอง แต่ความชัดเจนจาก คำพิพากษาที่เกิดขึ้นในวันนี้เป็นเรื่องที่ดี

- โครงการที่ยังค้างอยู่

โครงการ ที่ติดปัญหาก่อนหน้านี้ยังอยู่ในระหว่างหารือกับภาครัฐ โดยเฉพาะในโครงการที่ไม่เข้าข่าย 11 กิจการ ซึ่งเราหารือกับภาครัฐอย่างชัดเจนแล้วว่า มีนโยบายชัดเจนว่า ต้องจัดทำแบบประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เราทำเพราะเราคิดว่ามีประโยชน์ ส่วนที่เป็นกระบวนการต่าง ๆ เราจะเดินหน้าให้ครบต่อไป เราก็ทำงานได้ แม้ว่าโดยกฎหมาย จะไม่ระบุ เราก็ต้องทำ ขั้นตอนมีอยู่ เราต้องเดินตามและต้องทำให้ครบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้


การรวมตัวของ 5 ยักษ์ใหญ่

จากประชาชาติธุรกิจ

กลุ่ม 5 อุตสาหกรรมทั้ง ปตท.-เอสซีจี-บีแอลซีพี-โกลว์ และ ดาว เคมิคอล ได้ร่วมกัน จัดตั้ง "ศูนย์เพื่อนชุมชน" เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน มีเป้าหมายในการดำเนินงานระหว่างปี 2553-2555 ในกิจกรรมหลัก 3 ด้านคือ

1) Green Operation ปฏิบัติการโรงงานสีเขียว เพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมด้วยกัน ทำข้อตกลงเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

2) Beyond CSR หรือ ดูแลเอาใจใส่ เพื่อคุณภาพที่ดี ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนพร้อมทั้งแก้ปัญหาและตอบ ความต้องการที่แท้จริงของชุมชน เน้นพัฒนาสุขภาพและการศึกษาของชุมชนที่ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมาบตาพุด- ห้วยโป่ง-เนินพระ-ทับมา-มาบข่า และบ้านฉาง

3) Communication สื่อสารสร้างความเข้าใจ สนับสนุนให้อุตสาหกรรมร่วมกันพัฒนาการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย สร้างการมีส่วนร่วม กับชุมชนอย่างเปิดเผย นอกจากนี้ ยังเปิดกว้างหากอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดสนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์เพื่อนชุมชนนี้ ด้วย

Tags : วีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล ศูนย์เพื่อนชุมชน อยู่ร่วมกับชาวบ้าน

view