สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

การบริหารเหตุการณ์ยามวิกฤตเมื่อเกิดเพลิงไหม้ (3)

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

โดย : Crisis Management : สนั่น อังอุบลกุล


สองครั้งก่อนผมเคยเกริ่นไปถึงการบริหารจัดการเวลาที่เกิดเพลิงไหม้ ซึ่งในช่วงกลางเดือนมิถุนายน เวลาประมาณ 02.30 น.
ผม ได้เจอกับเรื่องที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น คือ ได้เกิดเพลิงไหม้ที่อาคารเก็บสินค้าสำเร็จรูปที่รอการจัดส่งไปยังลูกค้าและ พื้นที่การผลิตบางส่วน เพลิงไหม้นเป็นเวลา 3 ชม. สาเหตุเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ได้ รับความเสียหายจากการเกิดเพลิงไหม้  เพราะสินค้าที่กองเก็บไว้ได้ถูกไฟเผาไหม้และเครื่องจักรบางตัวที่ใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดได้รับผลกระทบจากการเกิดเพลิงไหม้ดังกล่าว

ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นแล้ว การดำเนินการในขณะเกิดเหตุเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ที่จะช่วยลดความสูญเสียไม่ให้ลุกลามไปจนกลายเป็นหายนะหรือสิ้นเนื้อประดาตัว ประเด็นสำคัญในการดำเนินการขณะเกิดเหตุนั้น ผมได้เขียนไปหลายข้อแล้ว โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการ วิธีการบริหารจัดการของศรีไทยซุปเปอร์แวร์ที่ สะสมมากว่า 47 ปี ทั้งที่เป็นระบบและไม่ค่อยเป็นระบบได้กลายมาเป็น  SRITHAI WAY ไม่ใช่เป็นเพียงคำพูดสวยหรู  แต่ได้แสดงให้เป็นปรากฎให้เห็นอย่างเด่นชัดในการเผชิญกับเพลิงไหม้ในครั้ง นี้

- การรวมพลังที่เหนียวแน่น (SYNERGY) เพิ่งจะได้เห็นเป็นประจักษ์ถึงพลังมหาศาลที่เกิดจากแต่ละคนที่ทำในแต่ละ หน้าที่พยายามเข้าใจสิ่งที่คนอื่นหรือหน่วยงานอื่นทำแล้วทำหน้าที่ของตัวเอง เพื่อให้สอดรับกับการดำเนินการของคนอื่นๆ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ ตรงเป้าในเวลาที่กำหนดอย่างเฉียบขาด เช่น การจัดระบบทางเข้า-ทางออก สำหรับรถผจญเพลิงไม่ให้มีการกีดขวางกับการทำงานทางด้านการขนย้ายสินค้า อุปกรณ์แม่พิมพ์และทำให้อุปกรณ์ผจญเพลิงสามารถเข้าถึงที่หมายได้อย่างรวด เร็ว ตรงจุดโดยไม่เสียเวลาแม้แต่นาทีเดียวเป็นต้น

- การมีเครือข่ายที่หลากหลาย (NET WORK) การเกิดภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่ปกติ สิ่งสำคัญข้อหนึ่งคือต้องได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ที่มีศักยภาพในการดำเนินการในเรื่องนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้การมีเครือข่ายจึงมีบทบาทอย่างมากในการระดมความหลากหลายของ ทรัพยากรเพื่อมาควบคุมและตอบโต้กับภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น ถ้าขาดการมีเครือข่าย การควบคุมและตอบโต้ภาวะวิกฤตจะไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเท่าที่ควร และจะนำมาซึ่งความเสียหายอย่างมหันต์ ทั้งต่อตัวบุคคล, ทรัยพ์สินและสิ่งแวดล้อม

ดังนั้นเราจึงต้องมีการสร้างและสะสมทรัพยากรเอาไว้ทั้งที่เป็นทรัพยากร ที่จับต้องได้และที่จับต้องไม่ได้  เช่น การมีความสัมพันธ์ที่ดี  แม้สิ่งที่เราสร้างและสะสมไว้จะไม่ได้ถูกนำมาใช้ในทันทีทันใด  ซึ่งบางครั้งการสะสมอาจต้องใช้เวลาหลายปีจนคนส่วนใหญ่อาจไม่เข้าใจว่าทำไม ต้องรักษาและสะสมไว้  ทำไมต้องเลี้ยงคนไว้ ทำไมต้องรักษาความสัมพันธ์ไว้ ทั้งที่โดยปกติก็ไม่ค่อยมีส่วนเกี่ยวข้องกันและไม่เห็นได้ทำประโยชน์อะไรให้ เกิดขึ้นทางตรง

แต่เขาเหล่านั้นไม่รู้หรอกว่า สิ่งที่ได้สร้าง รักษา และสะสมไว้จะทำให้เราหลุดพ้นจากความวิบัติเมื่อถึงวันที่เราต้องนำมาใช้ แม้เป็นเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ตาม ก็สามารถทำให้เรามีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้อย่างปาฎิหารย์ ดังคำพังเพยของชาวจีนที่ว่า “ฝึกกองทัพร้อยปี ออกรบครั้งเดียว”

Tags : การบริหารเหตุการณ์ยามวิกฤต เกิดเพลิงไหม้

view