สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

โจทย์ของ...อนุกูล แต้มประเสริฐ ทำอย่างไรจะให้ อคส.อยู่รอด ?

โจทย์ของ...อนุกูล แต้มประเสริฐ ทำอย่างไรจะให้ อคส.อยู่รอด ?

จากประชาชาติธุรกิจ


สัมภาษณ์



หลัง การสรรหาผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) ที่ถูก "ลากยาว" มากว่า 2 ปีจนกระทั่งถึงปัจจุบัน องค์การแห่งนี้เพิ่งได้ ผู้อำนวยการคนใหม่ นายอนุกูล แต้มประเสริฐ ให้สัมภาษณ์กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแนวทางการทำงานที่ว่า ทำอย่างไรจะให้รัฐวิสาหกิจแห่งนี้อยู่รอด ภายหลังการเปลี่ยนแปลงนโยบายดูแลราคาพืชผลทางการเกษตรจากการรับจำนำมาเป็น การประกันรายได้ ส่งผลให้รายได้ที่มาจากการจัดเก็บสินค้าการเกษตรในสต๊อกลดลง

- การหารายได้ของ อคส.

หน้าที่ ของ อคส.ตาม พ.ร.บ.จัดตั้ง ตั้งแต่ปี 2498 ก็คือ ทำเพื่อพยุงราคา ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงพาณิชย์ โดยเป็นกลไกในการปรับดีมานด์-ซัพพลาย ถ้าไม่มีของ ราคาก็จะแพงขึ้น ดังนั้น การพยุงราคาคือใช้กลไกการเก็บสต๊อกของ อคส.เพื่อให้มันสมดุล พอมาในช่วง 10 กว่าปีหลัง หน้าที่หลักของ อคส.ได้เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายจำนำสินค้าเกษตร เอาของมาตึ๊ง พอราคาขึ้นก็เอาตังค์มาซื้อคืน เหมือนโรงจำนำ ทำแต่งานนโยบายเป็นหลักโดยเฉพาะงานนโยบายข้าว

จนพูดได้ว่า อคส.เป็นคนเก็บรักษาข้าวมากที่สุดในโลกก็ว่าได้ ซึ่งการเก็บรักษาตรงนี้เป็นที่มาของรายได้หลัก 90% จากการบริหารจัดการเก็บรักษาข้าว ส่วนรายได้อื่น เช่น ขายข้าวถุง มีคลังสินค้าให้เช่าประมาณ 8 คลัง มีคลังใหญ่ 2 คลัง ส่วนคลังที่ 3 เอามาทำเป็นตึกกระทรวง มีรายได้เข้ามาแต่ก็ไม่มากนัก

แต่นับจาก นี้ไปนี้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง นโยบายจำนำสินค้าเกษตรมาเป็นการประกันราคา รัฐบาลตั้งราคาประกัน ถ้ามีการซื้อขายต่างจากราคานี้ให้มาเอาเงินจากรัฐบาลไปให้ หน้าที่ของ อคส.ก็ยังมีบทบาทในการไปแทรกแซงราคาซื้อ ถ้าไม่มีใครซื้อ แต่มันจะต่างกันจากอดีต

สิ่งที่เกิดขึ้นมาทันทีก็คือ อคส.เป็นองค์กรที่มีคน 600 คน แบ่งเป็นพนักงาน 450 คนกับลูกจ้างอีก 150 คน เมื่อก่อนก็ทำงานนโยบาย แต่พอนโยบายเปลี่ยน อคส.ก็ต้องปรับตัว เพราะพนักงานก็มี เงินเดือน ซึ่ง อคส.ก็จำเป็นต้องปรับการทำงานให้เลี้ยงตัวอยู่ได้ ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษามาตรการรัฐในการพยุงราคาสินค้าเกษตรไว้ให้ได้ แต่สัดส่วนรายได้ตรงนี้จะลดลงเหลือแค่ 20%

- แหล่งรายได้หลักในอนาคต

งาน ของผมก็คือการจัดทำแผนฟื้นฟู อคส.ทำอย่างไรจะหารายได้ใหม่ ๆ ผม มองว่าต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กรให้รองรับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจ หรือ รูปแบบการทำรายได้ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ทั้งการประกันราคาและ หารายได้วิธีอื่น ๆ ให้ อคส.เลี้ยงตัวอยู่ได้และหยุดการขาดทุนสะสมที่มีอยู่กว่า 200 ล้านบาท

ที่มาของรายได้ 80% ในอนาคตต่อจากนี้ ตาม พ.ร.บ. อคส.กำหนดไว้กว้างมาก

1) อคส.ทำธุรกิจหรือบริการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการประกัน การจำนำ ซื้อขายสินค้าเกษตรและอุปโภคบริโภค เราทำได้มากสโคปกว้างมาก แต่ประเด็นก็คือจะทำอย่างไร ต้องให้เห็นชัดว่าสิ่งนั้นสร้างรายได้และเป็นการพยุงราคาให้เกิดขึ้น

หลัง จากผมเข้ามาก็มีการคุยกันมากขึ้น ก็คงหนีไม่พ้นที่ อคส.ต้องสร้าง พาร์ตเนอร์ชิปต่างประเทศ จากปัจจุบันที่เราทำเฉพาะในประเทศ เรื่องคลังสินค้า-บริหารจัดการเครือข่ายโรงสี/ เซอร์เวเยอร์/ชาวนา สิ่งแรกในการหา partnership ก็คือ เราต้องหาเงินมาลงทุนที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล (Publics Private Partnership)

อคส.คงพึ่งงบประมาณจากรัฐบาลอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดึงเงินนักลงทุน ซึ่งการจะเอาเงินเขามาลงทุน เราจะต้องแสดงให้เห็นศักยภาพการทำงานของ อคส.ก่อน เราต้องโชว์ให้เห็นว่าเรามีอะไรบ้าง จริง ๆ อคส.มีศักยภาพกว้าง มีเครือข่ายธุรกิจทั่วประเทศ มีโรงสี ผู้ประกอบการหลาย 1,000 รายร่วมกับเรา ซึ่งน่าจะสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนได้

เริ่มต้น 1) เราคิดถึงการลงทุนด้านคลังสินค้าและโลจิสติกส์เพราะตรงที่สุด ทั้งคลังใหม่ประเภทเดิมและประเภทใหม่ที่เรามีศักยภาพอยู่แล้ว นอกจากนั้นมีเรื่องบริการที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ ซัพพลายเชน เรามีศักยกภาพอยู่แล้ว โดยเฉพาะสินค้าเกษตร 2) อาจจะพูดถึงการนำเข้าและส่งออก เรื่องคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหาร เราอาจจะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางด้านอาหาร food safety การเป็นรัฐวิสาหกิจมีความคล่องตัวและมีความน่าเชื่อถือพอสมควรด้วย นอกจากนี้เรายังคิดถึงความมั่นคงทางอาหาร (food security) หรืออาจจะเรียกว่า ความต่อเนื่องทางอาหาร (food continuity) ภาวะโลกร้อน-น้ำท่วม ทำอย่างไรให้มีความต่อเนื่องเรื่องอาหาร

ส่วน รูปแบบหรือ business modeling ที่ อคส.จะทำกับ partnership มีอะไรบ้างผมมองย้อนกลับไปถึงโครงการเก่า ๆ ที่ อคส.เคยทำ อาทิ คลังบูรณาการด้านข้าว นอกจากมีคลังแล้วอาจจะมีลานตาก เครื่องไล่ความชื้น บรรจุถุงอยู่ในพื้นที่เดียวกัน อาจเรียกว่า นิคมอุตสาหกรรมข้าว ความจริง อคส.มีกลไกทำพวกนี้ได้ เราต้องแปลงพื้นฐานที่เรามีอยู่เพื่อแข่งขัน ดังนั้น 80% ของรายได้องค์กรในอนาคตคงมาจากพวกนี้

- โครงการใหม่ ๆ ในปีหน้า

น่า จะมีโครงการใหม่ ๆ นำร่อง 5-10 โครงการ เช่น คลังพันธุ์พืช การตรวจสอบความปลอดภัยอาหาร อาจจะมีการกู้ยืมเงินทั้งภายในและภายนอกประเทศ บางเรื่องอาจต้องขออนุมัติจากกระทรวงการคลังเสนอผ่าน ครม. ผมคิดว่าในเดือนมกราคม 2554 น่าจะมีความชัดเจนมากกว่านี้ ว่ามีโครงการระยะสั้นเท่าไหร่ ระยะยาวเท่าไหร่ จึงจะหยุดการขาดทุนสะสมให้ได้ภายใน 3 ปี (2556) หรือประมาณ 240 ล้านบาท เท่ากับว่าต้องมีรายได้ปีละ 200 ล้านบาทขึ้นไป

นอกจากนี้แล้ว อคส.จะสานต่อโครงการจำหน่ายข้าวถุงในแบรนด์ของ อคส.ทั้งภายในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศอาจจะเพิ่มช่องทางการจำหน่าย ข้าวถุงมากขึ้น อาทิ ขายผ่านร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมัน หากดำเนินการสำเร็จจะเพิ่มรายได้ให้ อคส.เฉพาะจุดนี้อีก 5 เท่าของรายได้เดิม ส่วนประเด็นการแข่งขันกับผู้ประกอบการข้าวถุงหรือไม่นั้น ผมว่า คงเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับประชาชนมากขึ้น

- ท่านพรทิวาให้นโยบายอย่างไร

ตอน นี้เรื่องเร่งด่วนฝากให้ดูแลหลังน้ำท่วมว่า มีผลกระทบอย่างไร สินค้าเกษตรเสียหายไปหลายล้านไร่ การสร้างเครือข่ายหรือเยียวยาให้กับเกษตรกรควรจะทำหรือไม่ การส่งออกสินค้าเกษตรไปยุโรปมีการปลอมปน ใครจะช่วยเรื่องนี้ อคส.ทำได้หรือไม่ อคส.ต้องนำนโยบายไปปฏิบัติและทำให้เกิดรายได้ให้กระทรวงพาณิชย์ ดูโอกาสที่จะออกไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งยุโรป เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ รัสเซีย จีน และญี่ปุ่น แนวคิดเรื่อง Store & Forwarding ทั้งรับสินค้ามาจัดเก็บ จัดส่ง ให้บริการและบริหารจัดการสต๊อก เหมือนกับที่เราทำคลังยาร่วมกับองค์การเภสัชกรรมที่คลังราษฎร์บูรณะ ซึ่งการทำเต็มรูปแบบไม่ใช่แค่ให้เช่าพื้นที่ แต่เป็นการให้บริการ มันย่อมดีกว่า

- เรื่องคดีค้างเก่าของ อคส.

เรามีเรื่องค้าง เป็นร้อยคดี เช่น ข้าวหาย มีผู้ค้าทำสัญญาไม่เอาของไปบ้าง ผมก็ต้องลงไปดูเคสต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตอนนี้ขอดูว่าแต่ละเคสเป็นอย่างไร อย่างเช่น คดีของ บจ.เพรซิเด้นท์ อะกริ เทรดดิ้ง ต้องไล่ดูวันละ 3-4 เคส ความจริง อคส.ไม่มีอำนาจจะไประบายสินค้าที่ตัวเองถือครองไว้ เพราะเป็นอำนาจของคณะกรรมการที่ดูในแต่ละสินค้า เป็นคนกำหนดทิศทาง เราเหมือน แม่บ้าน อคส.มีหน้าที่ทำสัญญา หลัง คณะกรรมการตัดสินใจเสร็จ แต่มีบางโครงการที่หนี้กับรายได้ไม่ตรงกันเพราะ ซื้อแพงขายถูกก็เกิดการขาดทุน

- กรณีขายข้าวให้บริษัทเอ็มที

ผม เข้ามาก็พยายามสืบถามดูว่าประเด็นข้อกฎหมายเป็นอย่างไร เพราะเรามีการขายข้าวให้ บจ.เอ็มทีเซ็นเตอร์เทรดประมาณ 5,000-6,000 ตัน เป็นข้าวเหนียวและข้าวขาว กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการทำสัญญา เท่าที่ทราบจากคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสารยืนยันว่าตัดสินใจขายข้าวให้ บริษัทเอ็มทีฯแล้ว ตอนที่ผมเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ อคส.ก็มีการตัดสินใจขายข้าวให้บริษัทเอ็มทีฯเป็นครั้งที่สอง

ตามหลัก เราก็ต้องทำสัญญา แต่ผมให้เอามาทบทวนใหม่ ในกรณีที่บริษัทเอ็มทีฯติดแบล็กลิสต์ ต้องดูวันและเวลาว่าแบล็ก ลิสต์เมื่อไหร่อย่างไร ถ้าบริษัทเอ็มทีฯติด แบล็กลิสต์ราชการก็เท่ากับติดกับทุกที่ แต่ประเด็นก็คือ ถ้าบริษัทติดแบล็กลิสต์รอบแรกแล้วยังเข้ามาซื้อข้าวรอบสองได้อย่างไร ถ้าบริษัทเป็นผู้ชนะ แสดงว่าบริษัทไม่ได้ติดแบล็กลิสต์ใช่หรือไม่ ถ้าต้องมีการทบทวนต้องถามต่อว่า ผมไม่ทำสัญญากับเอ็มทีฯได้หรือไม่ และเอ็มทีฯจะฟ้อง อคส. ได้หรือไม่


"ผอ.อคส."เบรก"ไซโลจีจีเอฟ" สั่งทบทวนใหม่รู้ผลม.ค.ปีหน้า

จากประชาชาติธุรกิจ

"อนุกูล แต้มประเสริฐ" ผอ.องค์การคลังสินค้า (อคส.) คนใหม่ สั่งเบรกโครงการคลังสินค้าจีจีเอฟ ให้เจ้าหน้าที่ทบทวนข้อสงสัย อคส.สามารถทำสัญญากับจีจีเอฟ ได้หรือไม่ และการดำเนินธุรกิจประเภทเดียวกันจะขัดแย้งกับภาคเอกชนหรือไม่ คาดเดือนมกราคมนี้จะได้ข้อสรุปทั้งหมด



นายอนุกูล แต้มประเสริฐ ผู้อำนวยการคลังสินค้า (อคส.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้เตรียมปรับแผนบริหาร อคส.ใหม่ เพื่อลดการพึ่งพิงรายได้จากโครงการรับจำนำสินค้าเกษตรของรัฐบาล จากเดิมสัดส่วน 90% ของรายได้ทั้งหมดของ อคส.ให้เหลือเพียง 20% ของรายได้ทั้งหมด ส่งผลให้ต้องปรับโครงสร้างองค์กรให้ สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

แหล่งที่มาของการสร้างรายได้ใหม่ จะต้องเกิดจากการพัฒนารูปแบบการประกอบธุรกิจ ด้วยการจับคู่พันธมิตรธุรกิจ (Partnership) กับหน่วยงานใหม่ ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสิ่งแรกที่ อคส.ต้องทำ ก็คือการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน เพื่อดึงดูดเงินลงทุนในโครงการร่วมระหว่างรัฐบาลกับเอกชน ซึ่งน่าจะมีโครงการใหม่ในปี 2554 เพิ่ม 5-10 โครงการ อาทิ

การสร้าง คลังสินค้าใหม่, ปรับปรุงการให้บริการระบบโลจิสติกส์/ซัพพลายเชน ซึ่งเป็นจุดแข็งของ อคส., การเชื่อมโยงระบบการนำเข้า-ส่งออกเพื่อขนส่งผัก/ ผลไม้ สินค้าเกษตรให้เข้มแข็ง

"ขณะนี้ อคส.ได้ชะลอการทำโครงการร่วมกับบริษัท จีจีเอฟ (ไทยแลนด์) จำกัด ในการสร้างคลังสินค้า 10 แห่งใน 10 จังหวัด ภายใต้หลักการให้ อคส.มีสิทธิ์เช่าคลังก่อนรายอื่น ผมสั่งให้ทบทวนถึงรูปแบบการดำเนินการกับบริษัท เพราะมี 2-3 ประเด็นที่ยังสงสัยอยู่ อาทิ สัญญาดังกล่าวสอดคล้องกับระเบียบบริหารของ อคส.หรือไม่ และรูปแบบการดำเนินธุรกิจแข่งขัน หรือ ขัดแย้งกับการประกอบธุรกิจของภาคเอกชนหรือไม่ โดยคาดว่าในเดือนมกราคมนี้จะได้ข้อสรุปว่าจะทำอย่างไร หรือจะหาพันธมิตรรายใหม่ หรือดำเนินการต่อ เพราะหากเป็นการร่วมทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จะต้องเสนอให้ ครม.อนุมัติ แต่หากไม่เกินก็สามารถดำเนินการได้ โดยขอความเห็นชอบจากบอร์ด อคส." นายอนุกูลกล่าว

ที่ผ่านมา อคส.ทำหน้าที่หลักในการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับจำนำสินค้าเกษตร ส่งผลให้ อคส.ประสบภาวะขาดทุนสะสมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันมีมูลค่าถึง 200 ล้านบาท แต่ภายหลังจากที่รัฐบาลชุดนี้ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้นโยบายประกันรายได้เกษตรกร ส่งผลให้รายได้การจัดเก็บสินค้าของรัฐบาลลดลง ดังนั้น อคส.จำเป็นต้องปรับโครงสร้าง เพื่อเพิ่มรายได้ให้สามารถเลี้ยงองค์กรได้ แต่ อคส.ยังมีภารกิจที่จะต้องปฏิบัติตามนโยบายรัฐบาล ในเรื่องของการเก็บสต๊อกสินค้าเกษตร ทั้งข้าวโพด กุ้ง ไก่ มันสำปะหลัง และข้าวที่ยังเหลืออยู่ต่อไป รวมทั้งเป็นคู่สัญญาซื้อขายสินค้าเกษตรกับภาคเอกชนด้วย

"งาน ตามนโยบายก็ต้องทำต่อไป แต่ต้องทบทวนดู หากถูกก็ว่าไปตามถูก ผิดก็ผิด ทั้งคดีกับบริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง จำกัด การทำสัญญาขายข้าวในคลังของ อคส. 5,000 ตันให้กับบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด จำกัด ตอนนี้อยู่ระหว่างการขอความเห็นจากฝ่ายกฎหมายว่าจะเซ็นหรือไม่ เพราะตามกระบวนการ ถ้ากรม การค้าต่างประเทศแจ้งมาว่า บริษัทของนาย ก.ชนะประมูล เรามีหน้าที่ต้องทำสัญญา แต่หากนาย ก.เป็นผู้ติดแบล็กลิสต์ของหน่วยงานอื่น ซึ่งความจริงจะมีผลเป็นแบล็กลิสต์ของเราด้วย แบบนี้ต้องทำอย่างไร" นายอนุกูลกล่าว

Tags : โจทย์ อนุกูล แต้มประเสริฐ ทำอย่างไร อคส. อยู่รอด

view