สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ก.อุตฯปั้นตัวชี้วัดประสิทธิภาพ 5 ธุรกิจ (2)

จากประชาชาติธุรกิจ



หมาย เหตุ : เรื่อง "รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ก.อุตฯปั้นตัวชี้วัดประสิทธิภาพ 5 ธุรกิจ (2)" เป็นฉบับต่อเนื่องจากฉบับที่ผ่านมา ซึ่ง รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ และคณะจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำรวจและประเมินประสิทธิภาพ โลจิสติกส์จากนักธุรกิจ 200 ราย ใน 5 ธุรกิจแถวหน้าของไทยตามโครงการศูนย์บริการข้อมูลโลจิสติกส์ของสำนักโลจิ สติกส์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ กล่าวต่อถึงแบบประเมินประสิทธิภาพด้าน โลจิสติกส์ที่เป็นดัชนีหลักว่า นอกจากเรื่องสัดส่วนต้นทุนการขนส่งต่อมูลค่ายอดขายตามดัชนีการบริหารต้นทุน แล้ว ยังมีสัดส่วนต้นทุนการบริหารคลังสินค้าต่อยอดขายด้วย ซึ่งจะเป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างต้นทุนการบริหารคลังสินค้าต่อปี กับยอดขายต่อปีของบริษัท โดยต้นทุนการบริหารคลังสินค้า ได้แก่

1.ค่าใช้จ่ายของพนักงานแผนกคลังสินค้า อาทิ เงินเดือน ค่าแรงงาน ค่าล่วงเวลา ค่าน้ำมัน เป็นต้น

2.ต้นทุนคงที่ในการบริหารคลังสินค้า ได้แก่ ค่าประกันภัยคลังสินค้าต่อปี ค่าเสื่อมราคาของคลังสินค้าต่อปี

3.ต้นทุนการใช้บริการคลังสินค้าภายนอก เช่น ค่าเช่าพื้นที่ เป็นต้น

แบบ ประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ในเรื่องสัดส่วนต้นทุนการบริหารคลังสินค้า ต่อยอดขาย คือ กรณีบริษัทมีคลังสินค้าเองก็จะมีเรื่องมูลค่าก่อสร้างอาคารคลังสินค้าเท่าใด ค่าประกันภัยอาคารคลังสินค้ากี่บาทต่อเดือนหรือต่อปี ค่าจ้างพนักงานแผนกคลังสินค้าก็จะมีรายละเอียดเงินเดือนพนักงานประจำของแผนก คลังสินค้าทั้งหมดต่อเดือนหรือต่อปี ค่าจ้างพนักงานชั่วคราวหรือ outsourcing ของแผนกคลังสินค้าทั้งหมดต่อเดือนหรือต่อปี และค่าล่วงเวลารวมของแผนกคลังสินค้าต่อเดือนหรือต่อปี




นอก จากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของแผนกคลังสินค้า ได้แก่ มูลค่าอุปกรณ์ขนถ่ายทั้งหมดในคลังสินค้าที่เป็นสินทรัพย์ของบริษัท ค่าเช่าอุปกรณ์ขนถ่ายทั้งหมดใน คลังสินค้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง/ค่าไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์ขนถ่ายในคลังสินค้าต่อเดือนหรือ ต่อปี มูลค่าของระบบสารสนเทศการบริหารคลังสินค้าที่มีการลงทุนในปีที่ผ่านมา ค่าเช่าหรือค่าลิขสิทธิ์สำหรับระบบบริหารคลังสินค้าต่อเดือนหรือต่อปี และค่าใช้จ่ายคลังสินค้าอื่น ๆ ต่อเดือน หรือต่อปี ส่วนกรณีเช่าคลังสินค้าภายนอกพื้นที่ของคลังสินค้าที่เช่าทั้งหมดกี่ตาราง เมตร กับค่าเช่าพื้นที่คลังสินค้า ภายนอกกี่ตารางเมตร

ข้อสุดท้ายแบบ ประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ที่เป็นดัชนีหลักในเรื่องดัชนีด้านการบริหารต้นทุน คือ สัดส่วนต้นทุนการถือครองสินค้าต่อยอดขาย ซึ่งเป็นดัชนีที่ใช้ประเมินต้นทุนค่าเสียโอกาสในการถือครองสินค้า ณ ช่วงเวลาที่บริษัทได้จัดเก็บสินค้าไว้ในคลังสินค้าของบริษัท รวมทั้งต้นทุนในการถือครองสินค้าอื่น ๆ เช่น ค่าประกันภัยสินค้า ค่าเสื่อมราคาของสินค้า ณ ช่วงเวลาที่จัดเก็บสินค้า เป็นต้น โดยมีแบบประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ คือ ยอดขายรวมของบริษัทในปีที่ผ่านมาเท่าใด กรณีที่บริษัทมีแผนกขนส่งสินค้าดำเนินการขนส่งสินค้าด้วยตนเองประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายของพนักงานของแผนกขนส่งต่อเดือนหรือต่อปี ค่าน้ำมันสำหรับการขนส่งสินค้าทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปโดยเฉลี่ยต่อ เดือนหรือต่อปี และต้นทุนอื่น ๆ ต่อเดือนหรือต่อปี

กรณีที่บริษัทว่า จ้างผู้ให้บริการขนส่งภายนอกให้ดำเนินการขนส่งสินค้า (outsource) ประกอบด้วย กรณีขนส่งสินค้าขาเข้า (inbound transport) ค่าใช้จ่ายขนส่งสินค้าเข้าโรงงานทั้งหมด ต่อเดือนหรือต่อปี (กรณีนำเข้าให้นับเฉพาะค่าขนส่งจากท่าเรือหรือสนามบินมายังโรงงานเท่านั้น) กรณีขนส่งสินค้าขาออก (outbound transport) ค่าขนส่งสินค้าออกจากโรงงานทั้งหมดต่อเดือนหรือต่อปี (กรณีส่งออกต่างประเทศให้นับเฉพาะค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากโรงงานไปยัง ท่าเรือหรือสนามบินภายในประเทศเท่านั้น)

ดัชนีด้านเวลา แยกออกเป็น

1.ระยะ เวลาเฉลี่ยการตอบสนองคำสั่งซื้อจากลูกค้า เป็นดัชนีที่ใช้ประเมินระยะเวลาในการตอบสนองคำสั่งซื้อจากลูกค้า โดยนับตั้งแต่บริษัทยืนยันรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ผลิตจนกระทั่งส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า ซึ่งแบบประเมินประสิทธิภาพด้าน โลจิสติกส์ระยะเวลาตั้งแต่บริษัทได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าจนสามารถส่ง สินค้าให้ลูกค้า ได้ มีระยะเวลาเฉลี่ยต่อชั่วโมงหรือต่อวัน (กรณีส่งออกต่างประเทศให้นับเฉพาะระยะเวลาในการขนส่งสินค้าจากโรงงานไปยัง ท่าเรือหรือสนามบินภายในประเทศเท่านั้น)

2.ระยะเวลาเฉลี่ยการจัดส่ง สินค้า เป็นดัชนีที่ใช้ประเมินระยะเวลาในการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า โดยนับตั้งแต่การจัดส่งสินค้าขึ้นรถ และขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ขายของลูกค้าจนกระทั่งลูกค้าได้รับสินค้า ซึ่งแบบประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ผู้ประกอบการต้องดูระยะเวลาโดย เฉลี่ยที่ใช้ในการขนส่งสินค้าจากโรงงานไปยัง สถานที่ของลูกค้าหลักกี่ชั่วโมงหรือกี่วัน (กรณีส่งออกต่างประเทศนับเฉพาะระยะเวลาในการขนส่งสินค้าจากโรงงานไปยังท่า เรือหรือสนามบินภายในประเทศเท่านั้น)

3.ระยะเวลาเฉลี่ยการเก็บสินค้า สำเร็จรูปอย่างเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เป็นดัชนีที่ใช้ประเมินระยะเวลาเฉลี่ยที่บริษัททำการสำรองหรือจัดเก็บ สินค้าสำเร็จรูปมีปริมาณเพียงพอ ต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยแบบประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ที่ผู้ประกอบการจะประเมินคือ ระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่บริษัทใช้สำหรับ เก็บสินค้าสำเร็จรูปภายในคลังสินค้าในปริมาณที่เพียงพอต่อการตอบสนองความ ต้องการของลูกค้าได้กี่ชั่วโมงหรือได้กี่วัน รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ แห่งศูนย์วิจัยด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว

Tags : รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ

view