สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ก.อุตฯปั้นตัวชี้วัดประสิทธิภาพ 5 ธุรกิจ (3)

จากประชาชาติธุรกิจ

หมายเหตุ : เรื่อง "รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ก.อุตฯปั้นตัวชี้วัดประสิทธิภาพ 5 ธุรกิจ (3)" เป็น ฉบับต่อเนื่องจากฉบับที่ผ่านมา ซึ่ง รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ และคณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำรวจและประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์จากนักธุรกิจ 200 ราย ใน 5 ธุรกิจแถวหน้าของไทยตามโครงการ ศูนย์บริการข้อมูลโลจิสติกส์ของ สำนักโลจิสติกส์ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ กล่าวต่อว่า ในส่วนดัชนีด้านความน่าเชื่อถือ (Reliability index) 1 ใน 3 ที่เป็นดัชนีหลักยังแยกออกเป็น

1.อัตรา ความสามารถในการจัดส่งสินค้าของแผนกขนส่ง เป็นดัชนีประเมินความสามารถในการจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ตามสภาพ ครบตามจำนวนและตรงเวลาตามที่ได้ตกลงกันไว้ โดยแบบประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ที่ให้ผู้ประกอบการประเมิน ได้แก่ บริษัทมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าหลักเป็นจำนวนเท่าใด ต่อวันหรือต่อเดือนมีการส่งมอบสินค้า ครบตามจำนวนให้แก่ลูกค้าหลักเป็นจำนวนเท่าใดต่อวันหรือต่อเดือน และบริษัท ผู้ประกอบการมีการส่งมอบสินค้าตรงตามเวลาให้แก่ลูกค้าหลักเป็นจำนวนเท่าใด ต่อวันหรือต่อเดือน

2.อัตราความแม่นยำการพยากรณ์ ความต้องการของลูกค้า เป็นดัชนีหลักความแม่นยำในการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า โดยเปรียบเทียบจากผลต่างของปริมาณการสั่งซื้อสินค้าจริงกับปริมาณสินค้าที่ ได้พยากรณ์ไว้ โดยแบบประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์จะให้ผู้ประกอบการประเมินอัตราความ แม่นยำของการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละเท่าใดของการพยากรณ์แต่ละครั้ง

3.อัตราการถูก ตีกลับของสินค้า เป็นดัชนีหลักสัดส่วนการถูกตีกลับของสินค้าจากลูกค้าหลังจากได้จัดส่งสินค้า เรียบร้อยแล้ว ซึ่งคำนวณตามคำสั่งซื้อโดยให้ผู้ประกอบการประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ในสัดส่วนสินค้าส่งคืน ได้แก่ กรณีที่ได้รับความเสียหายระหว่างการส่งมอบ กรณีไม่ครบตามจำนวน ที่สั่งกรณีส่งซ่อม กรณีสินค้าหมดอายุ ใช้งาน ต้องการทำลายคิดเป็นร้อยละเท่าใด เทียบกับจำนวนสินค้าที่ส่งมอบทั้งหมด

นอกจากแบบประเมินประสิทธิภาพ ด้านโลจิสติกส์ ที่เป็นดัชนีหลักทั้งดัชนีด้านการบริหารต้นทุน ดัชนีด้านเวลาและดัชนีด้านความน่าเชื่อถือแล้ว ยังมีการประเมิน ประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์จากดัชนีสนับสนุนด้วย ได้แก่

1.ดัชนีโลจิสติกส์ขาเข้า แยกออกเป็น

1.1 สัดส่วนต้นทุนการให้บริการลูกค้าต่อมูลค่ายอดขาย เป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างต้นทุนการให้บริการลูกค้าต่อปี กับยอดขายต่อปีของบริษัท ซึ่งต้นทุนการให้บริการลูกค้า ได้แก่ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของแผนกการตลาดหรือแผนกขาย เช่น เงินเดือนพนักงานฝ่ายบริการลูกค้า ค่าล่วงเวลา เป็นต้น

รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบริการหลังการขายและกิจกรรมสนับสนุนต่าง ๆ แต่ ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ เช่น การโฆษณา

โดย มีแบบประเมินประสิทธิภาพด้าน โลจิสติกส์ คือ ยอดขายรวมของบริษัท ในปีที่ผ่านมามีเท่าใด ส่วนต้นทุนการให้บริการลูกค้าที่ผู้ประกอบการต้องประเมินก็มีค่าใช้จ่ายของ พนักงานแผนกการตลาด เช่น เงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าน้ำมันจำนวนเท่าใดต่อเดือนหรือต่อปี ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินการจัดซื้อ เช่น อุปกรณ์เครื่องเขียน ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านการ ประชาสัมพันธ์และค่าโฆษณาต่าง ๆ มีจำนวนเท่าใดต่อเดือนหรือต่อปี นอกนั้นให้ประเมินต้นทุนอื่น ๆ เข้าไปด้วยว่ามีจำนวนเท่าใด ต่อเดือนหรือต่อปี จากนั้นให้รวม ค่าใช้จ่ายทั้ง 3 ส่วนแล้วหารด้วยมูลค่า ยอดขายซึ่งการคำนวณต้องระวังเรื่อง หน่วยนับด้วย โดยต้องเปลี่ยนเป็นหน่วยบาทต่อปี

1.2 สัดส่วนต้นทุนการจัดซื้อจัดหาต่อมูลค่ายอดขาย เป็นการเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างต้นทุนการจัดซื้อจัดหาต่อปีกับ ยอดขายต่อปีของบริษัท ซึ่งต้นทุนการจัดซื้อจัดหา ได้แก่ ค่าใช้จ่ายของพนักงานแผนกจัดซื้อ เช่น เงินเดือน ค่าล่วงเวลา ค่าน้ำมัน เป็นต้น มีจำนวนเท่าใดต่อเดือนหรือต่อปี และค่าโสหุ้ยสำหรับการดำเนินการจัดซื้อ เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น มีจำนวนเท่าใดต่อเดือนหรือต่อปี จากนั้นเอายอดขายรวมของบริษัท ในปีที่ผ่านมามีมูลค่าเท่าใดไปหารก็จะได้สัดส่วนต้นทุนการจัดซื้อจัดหาต่อ มูลค่า ยอดขาย

1.3 สัดส่วนต้นทุนการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าต่อยอดขาย เป็นดัชนีที่ใช้วัดต้นทุนของบริษัทที่ใช้ในการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า โดยเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างต้นทุนการพยากรณ์ ความต้องการของลูกค้าต่อปีกับยอดขาย ต่อปีของบริษัท ต้นทุนการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า ได้แก่ เงินเดือนเฉลี่ยของพนักงานที่เกี่ยวข้อง กับการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าคูณกับระยะเวลาที่พนักงานที่เกี่ยวข้อง ใช้ในการพยากรณ์

โดยแบบประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการต้องกรอกจำนวนพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำการพยากรณ์ความ ต้องการของลูกค้ามีจำนวน กี่คน ระยะเวลาโดยเฉลี่ยที่ใช้ในการจัดทำการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า กี่วัน และเงินเดือนเฉลี่ยของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำการพยากรณ์ความต้อง การของลูกค้ากี่บาทต่อเดือน จากนั้นนำค่าใช้จ่ายทั้ง 3 ส่วนรวมกันแล้วหารด้วยยอดขายรวมของบริษัทในปีที่ผ่านมา แต่การหาสัดส่วนต้นทุนการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าต่อยอดขายต้องระวัง เรื่องหน่วยนับ โดยต้องเปลี่ยนเป็นหน่วยบาทต่อปีด้วย

1.4 รอบระยะเวลาการจัดซื้อวัตถุดิบ เป็นดัชนีที่ใช้วัดระยะเวลาในการจัดซื้อวัตถุดิบหรือสินค้า โดยนับตั้งแต่บริษัท ได้รับการยืนยันรับคำสั่งซื้อจากซัพพลายเออร์ จนกระทั่งซัพพลายเออร์ส่งมอบวัตถุดิบหรือสินค้าให้กับบริษัท โดยมีแบบประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ให้ ผู้ประกอบการกรอก คือ ระยะเวลาตั้งแต่บริษัทออกใบสั่งซื้อให้กับซัพพลายเออร์หลัก จนกระทั่งซัพพลายเออร์หลักจัดส่งวัตถุดิบให้กับบริษัทมีระยะเวลาโดยเฉลี่ย กี่วัน หรือกี่เดือน

1.5 รอบเวลาของการพยากรณ์ ความต้องการของลูกค้า เป็นดัชนีที่ทำให้ทราบถึงช่วงเวลาส่วนใหญ่ที่บริษัท ใช้ในการพยากรณ์ความต้องการของ ลูกค้า แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะการประกอบธุรกิจของแต่ละบริษัท โดยมีแบบประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ให้ผู้ประกอบการกรอก คือ บริษัทของผู้ประกอบการได้ทำการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าล่วงหน้าประมาณ กี่วันหรือกี่เดือน

Tags : รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ก.อุตฯ ปั้น ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ ธุรกิจ

view