สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ถอดบทเรียนบิ๊กรถยนต์ ฟอร์ด ผงาดหลุดวิกฤต ไม่ง้อเงินรัฐ

จากประชาชาติธุรกิจ

ใบ บรรดาบิ๊กทรีแห่งดีทรอยต์ "ฟอร์ด" เป็นค่ายรถยนต์เดียวที่ผ่านพ้นวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มาได้โดยไม่ต้องอาศัยเงิน ช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่าง "เจนเนอรัล มอเตอร์" (จีเอ็ม) หรือขายหุ้นบางส่วนให้ต่างชาติอย่าง "ไครสเลอร์" นั่นเป็นเพราะฟอร์ดเห็นเค้าลางหายนะก่อนอีก 2 ค่ายดัง

ดิ อีโคโนมิสต์รายงานว่า วันที่ อลัน มัลอัลลี ประธานบริหารฟอร์ดคนปัจจุบัน ข้ามห้วยจากโบอิ้งมานั่งเก้าอี้แทน วิลเลี่ยม เคลย์ ฟอร์ด ในปี 2549 นั้น บริษัทอยู่ในสถานการณ์ย่ำแย่ เพราะกำลังจะขาดทุนสูงถึง 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งมีต้นตอมาจากการตั้งแผนกกลุ่มแบรนด์ ไฮเอนด์ ที่รวมแบรนด์ของฟอร์ดเองอย่าง ลินคอล์นและเมอร์คิวรี่ ตลอดจน แบรนด์หรูที่กว้านซื้อมา อาทิ จากัวร์ แอสตันมาติน แลนด์โรเวอร์ และวอลโว่ โดยหวังเป็นแหล่งรายได้หลักเพื่อชดเชยภาวะขึ้น ๆ ลง ๆ ในตลาดแมส แต่โครงการนี้กลับไม่เป็นไปดังหวัง

ดังนั้นมัลอัลลีจึงตัดสินใจกู้ วิกฤตด้วยการหันมาเน้นแบรนด์ของฟอร์ดเอง พร้อมขายทิ้งแบรนด์อื่นในกลุ่ม PAG แม้จะต้องขาดทุนก็ตาม เมื่อลดภาระจำนวนแบรนด์ที่ต้องดูแลแล้วก็มาถึงการปรับปรุงคุณภาพ

ก่อน หน้านี้ในยุคของฟอร์ดมีแนวคิด ง่าย ๆ ว่า รถยนต์ในเครือของฟอร์ดต้องสามารถแข่งขันได้ ดังนั้นฟอร์ดทอรัสจึงต้องชิงตลาดกับคัมรี่รถขายดีของโตโยต้า แต่มัลอัลลีได้เปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่เป็น รถของฟอร์ดทุกแบรนด์จะต้องขายดีที่สุดในแต่ละกลุ่ม

หลังประสบความ สำเร็จในประเทศ ฟอร์ดก็พร้อมก้าวสู่ระดับนานาชาติ โดยยกระดับโรงงานหลัก 8 ใน 10 แห่งให้เป็นฐานผลิตป้อนตลาดโลก แต่ละโรงงานสามารถผลิตรถยนต์ได้หลายโมเดล ซึ่งถูกปรับเปลี่ยนให้ตรงกับรสนิยมและสอดคล้องกับกฎหมายของแต่ละประเทศ เช่น ศูนย์ผลิตรถขนาดเล็กอย่างเฟียสต้ากลายเป็นโรงงานผลิตรถหลายรุ่น ด้วยกำลังการผลิตรวมต่อปีที่ 1.4 ล้านคัน

ในทำนองเดียวกัน แหล่งผลิตรถขนาดใหญ่ขึ้นอย่างโฟกัส ก็ต้องรับหน้าที่ผลิตพาหนะ 2 ล้านคันต่อปี โดยองค์ประกอบราว 80% ของรถทุกรุ่นที่คลอดออกมามีลักษณะเดียวกัน แนวทางดังกล่าวช่วยประหยัดต้นทุนได้มากกว่าสร้างโรงงานขนาดเล็กหลายแห่ง เพื่อผลิตแต่ละรุ่นซึ่งมีจำนวนไม่กี่แสนคัน โดยเฉพาะ

ขั้นตอนที่ยาก ลำบากหนีไม่พ้นการปรับลดพนักงาน นับจากปี 2549 ฟอร์ดลดคนงานในสายการผลิตลงครึ่งหนึ่งและปลดพนักงานในสำนักงานออก 1 ใน 3 พร้อมปิดโรงงาน 17 แห่ง ลดจำนวนดีลเลอร์ลง 1 ใน 5 ทำให้ที่สุดแล้ว พนักงานในอเมริกาเหนือของฟอร์ดลดเหลือ 75,000 คน จากเดิม 128,000 คน

ส่วนการเลย์ออฟในภูมิภาคอื่นนั้นรุนแรงน้อยกว่า เพราะเคยมีปฏิบัติการรีดไขมันในยุโรปมาก่อนหน้านั้นแล้ว

มาตรการข้างต้นทำให้ฟอร์ดลดต้นทุนได้ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปี และแข็งแกร่งพอจะต่อกรกับโรงงานของค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นในสหรัฐได้

และ ปัจจุบันเป้าหมายของฟอร์ดคือ ผลิตรถให้เท่ากับจำนวนที่จะขายได้ ซึ่งกลยุทธ์โรงงานเดียวผลิตหลายโมเดล มีส่วนช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นได้มาก โดยเมื่อดีมานด์ของรถรุ่นใดเริ่มดิ่ง ทางโรงงานก็จะหันไปเพิ่มการผลิตรุ่นที่ขายดีแทน

แต่แม้ผลงานในประเทศ จะดีวันดีคืน ไม่ว่าจะเป็นกำไร 2.1 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งมากกว่าช่วงเดียวกันของปีกลาย 2 เท่า พร้อมผลประกอบการเป็นบวก 5 ไตรมาสติดต่อกัน แต่ฟอร์ดยังไล่ตามจีเอ็มอยู่ในตลาดโลก

เพราะขณะที่ ยอดขาย 2 ใน 3 ของจีเอ็มมาจากนอกสหรัฐและขายรถในจีนไปแล้ว 2 ล้านคัน แต่ฟอร์ด กลับพึ่งพารายได้ในบ้านราวครึ่งหนึ่ง และทำยอดในแดนมังกรได้เพียง 5 แสนคัน

สำหรับแผนของมัลอัลลีตอนนี้ คือ ไม่จำเป็นต้องแย่งลูกค้าชาวจีนมาจากจีเอ็มหรือค่ายรถยนต์ตะวันตกอื่น ๆ แต่ต้องเกาะกระแสความร้อนแรงของตลาดจีนไว้ให้มั่น และเตรียมอุดช่องโหว่ด้วยการลงทุน 4 พันล้านดอลลาร์ ในแถบเอเชีย-แปซิฟิก ในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยมีจีนและอินเดียเป็นแหล่งดึงดูดเงิน ก้อนดังกล่าวมากที่สุด พร้อมทุ่มอีก 2.5 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเสริมธุรกิจในละตินอเมริกาด้วย

Tags : ถอดบทเรียน บิ๊กรถยนต์ ฟอร์ด ผงาดหลุดวิกฤต ไม่ง้อเงินรัฐ

view