สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ก.อุตฯปั้นตัวชี้วัดประสิทธิภาพ 5 ธุรกิจ (6)

จากประชาชาติธุรกิจ

หมายเหตุ : เรื่อง "รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ก.อุตฯปั้นตัวชี้วัดประสิทธิภาพ 5 ธุรกิจ (6)" เป็น ฉบับต่อเนื่องจากฉบับที่ผ่านมา ซึ่ง รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ และคณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำรวจและประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์จากนักธุรกิจ 200 ราย ใน 5 ธุรกิจ แถวหน้าของประเทศไทย ตามโครงการศูนย์บริการข้อมูลโลจิสติกส์ของสำนักโลจิสติกส์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ กล่าวต่อว่า สำหรับแบบประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ในกลุ่มดัชนีโลจิสติกส์กระบวนการ ข้อ 2.6 จำนวน ร้อยละการเติมเต็มคำสั่งซื้อสมบูรณ์นั้น

วิธีการคำนวณจำนวนร้อยละ และการเติมเต็มคำสั่งซื้อสมบูรณ์จะเท่ากับ บริษัทส่งมอบสินค้าครบตามจำนวนให้แก่ลูกค้าเท่าใดต่อวันหรือต่อเดือน แล้ว หารด้วย บริษัทได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้า เป็นจำนวนเท่าใดต่อวันหรือต่อเดือน

จากนั้นนำไปบวกกับผลรวมของที่ บริษัทได้ส่งมอบสินค้าตรงตามเวลาให้แก่ลูกค้าจำนวนเท่าใดต่อวันหรือต่อเดือน แล้วหารด้วย บริษัทส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นจำนวนเท่าใดต่อวันหรือต่อเดือน ทั้งนี้ต้องระวังหน่วยนับด้วย โดยต้องเปลี่ยนเป็นหน่วยเดียวกัน

2.7 อัตราความแม่นยำของสินค้าคงคลัง เป็นดัชนีชี้วัดความแม่นยำของสินค้าคงคลังที่แสดงความแตกต่างระหว่างจำนวน สินค้าคงคลังที่ได้บันทึกไว้ กับจำนวนสินค้าคงคลังที่ได้จากการนับจริง โดยมีแบบประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ดังนี้คือ จำนวนสินค้าคงคลังที่ได้มีการบันทึกไว้ ณ สิ้นปีที่ผ่านมา (ต้องระบุหน่วยนับ), จำนวนสินค้าคงคลังที่ได้จากการนับจริง ณ สิ้นปีที่ผ่านมา (ต้องระบุหน่วยนับ)

วิธีการคำนวณอัตราความแม่นยำของ สินค้าคงคลังจะเท่ากับ 1 ลบด้วย ค่าสัมบูรณ์ของจำนวนสินค้าคงคลังที่ได้ จากการนับจริง ณ สิ้นปีที่ผ่านมาลบด้วย จำนวนสินค้าคงคลังที่ได้จากการบันทึกไว้ ณ สิ้นปีที่ผ่านมา แล้วหารด้วย จำนวนสินค้าคงคลังที่ได้จากการนับจริง ณ สิ้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องหน่วยนับด้วย ต้องเปลี่ยนเป็นหน่วยเดียวกัน ส่วนค่าสัมบูรณ์ หมายถึง ค่าของจำนวนจริงที่ไม่คำนึงถึงเครื่องหมาย

2.8 อัตราจำนวนสินค้าสำเร็จรูปขาดมือ เป็นดัชนีชี้วัดถึงความถี่หรือจำนวนครั้งที่บริษัทไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้ กับลูกค้าได้ เนื่องจากสินค้าสำเร็จรูปมีไม่เพียงพอ ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการบริหารสินค้าสำเร็จรูปของบริษัท โดยมีแบบประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์คือ จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดในปี 2552 มีกี่ครั้งต่อเดือนหรือต่อปี, จำนวนครั้งของการขาดสินค้าสำเร็จรูปในคลังที่เพียงพอสำหรับการส่งมอบให้แก่ ลูกค้าโดยเฉลี่ยในปี 2552 มีกี่ครั้งต่อเดือนหรือต่อปี

วิธีการคำนวณ อัตราจำนวนสินค้าสำเร็จรูปขาดมือ จะเท่ากับ จำนวนครั้งของการขาดสินค้าสำเร็จรูปในคลังที่เพียงพอ หารด้วย จำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดในปี 2552 แล้วคูณด้วย 100 ทั้งนี้ต้องระวังเรื่องหน่วยนับด้วย โดยต้องเปลี่ยนเป็นหน่วยเดียวกัน

Tags : รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ก.อุตฯ ปั้น ตัวชี้วัด ประสิทธิภาพธุรกิจ

view