สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปี 2554 : เราพร้อมจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราไหม ?

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ CSR Talk

โดย ดร.อัศวิน จินตกานนท์ ที่ปรึกษากลุ่มบริษัททีม และที่ปรึกษาอาวุโสมูลนิธิอนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย



2 เดือนที่ผ่านมา เราได้อ่าน ฟัง และดูข่าวเกี่ยวกับน้ำท่วม ได้เห็นสภาพของความเดือดร้อนของชาวบ้านประมาณ 1,000,000 คน ในเกือบ 50 จังหวัดที่ต้องเผชิญกับอุทกภัยทางน้ำที่ท่วมสูงถึง 1.50 เมตร เราเห็นความลำบากและความเสียหายต่อทรัพย์สินของเขาและของชาติ ความเสียหายของประเทศที่รวมแล้วกว่า 50,000 ล้านบาท ความเสียหายเช่นนี้อาจเกิดขึ้นได้ทุกปีหากไม่รีบแก้ไขที่สาเหตุ ซึ่งรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มาเน้นแก้ปัญหาระยะสั้นเพื่อแสดงผลงานต่อประชาชน และไม่ยอมเริ่มแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างจริง ๆ

ปัญหาน้ำท่วมใช่ว่าประเทศ ไทยจะประสบปัญหาแต่ประเทศเดียว ฟิลิปปินส์ พม่า ปากีสถาน ต่างก็ประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับประเทศไทยเนื่องจากพายุ ไซโคลนนาร์กีส ที่อินโดนีเซียโดนทั้งภูเขาไฟระเบิด ถูกสึนามิ และเจอน้ำท่วมซ้ำ สำหรับประเทศไทยพื้นที่ที่จะต้องเฝ้าระวังทุก ๆ ปี คือ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

ก่อนหน้านี้ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์ น้ำ กรมชลประทาน ออกประกาศเตือนว่า ระดับน้ำทะเลใน พ.ศ. 2553 จะหนุนสูงสุดในช่วงวันที่ 25-27 ตุลาคม ซึ่งอาจจะล้นคันกั้นน้ำที่ กทม.ได้สร้างไว้ และในสัปดาห์ต่อไปจังหวัดภาคใต้จะประสบปัญหาน้ำท่วมหลายจังหวัดที่ไม่เคยมี น้ำท่วม เช่น นครราชสีมา ก็ท่วมสูงเป็นเมตร

เดชะบุญที่กรุงเทพฯไม่ ท่วม (หรือ เปล่า ?) สถานการณ์ที่คนกรุงเทพฯบางกลุ่มไม่ต้องลำบากเนื่องจากน้ำท่วม เพราะกรุงเทพฯสามารถสูบน้ำไปนอกเขื่อนทดน้ำโดยไม่มีปัญหาการตอบโต้จากชุมชน บางขุมชนที่ยอมเสียสละให้ แต่สถานการณ์ที่มีความออมชอมเช่นนี้จะอยู่ต่อไปอีกนานเท่าใด

ปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร ?

บ้าง ก็บอกว่าเป็นเพราะมีการก่อสร้างขวางทางระบายน้ำ มีการสร้างอาคาร ขนาดใหญ่ที่ทำให้ระบบระบายน้ำรับไม่ไหว มีถนนสร้างขวางทางน้ำไหลทำให้น้ำระบายไม่ได้ (แต่ทางการอนุญาตให้ก่อสร้างทำไม) แม้สาเหตุเหล่านี้จะมีความจริงอยู่บ้าง แต่ปัญหาหลักอาจเป็นเพราะการดำรงชีวิตแบบมักง่ายของคนทั่วโลกและในประเทศไทย

บางคนก็คิดว่าเป็นเพราะเอลนิโญ "El Nino" และลานิญา "La Nina" เรื่องนี้เกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนอย่างไร ?

องค์กร National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) อธิบายว่า เอลนิโญเกิดจากการที่ น้ำทะเลบางแห่งมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ก่อให้เกิดความกดอากาศต่ำ (ซีกโลกที่เหนือเส้นศูนย์สูตร) ทำให้เกิดฝนตกชุกอย่างที่เห็นอยู่ในเดือนพฤศจิกายนนี้

ในทางตรงกัน ข้าม ลานิญาเกิดจากน้ำทะเลบางแห่งเย็นผิดปกติ ทำให้เกิดความกดอากาศสูง ซึ่งทำให้เกิดความแห้งแล้ง ประกอบกับลมแรงที่เกิดขึ้น จะพัดพาความชุ่มชื้นและไอน้ำในอากาศไปทางอื่น ซึ่งทำให้ไม่มีเมฆในท้องฟ้า ทำให้เกิดความแห้งแล้งในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยประสบอยู่

มีคนสังเกตปรากฏการณ์นี้ในศตวรรษที่ 16 แต่เริ่มมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นจริงเป็นจังใน พ.ศ. 2463 เป็นครั้งแรก

ใน สมัยนั้นปรากฏการณ์เอลนิโญและลานิญาสลับกันไปมาทุก 3-6 ปี แต่เนื่องจากสภาวะโลกร้อนที่ทวีคูณขึ้น ปรากฏการณ์นี้เริ่มถี่ขึ้นเป็นทุก ๆ 1-2 ปี ซึ่งก่อปัญหาให้กับเกษตรกรอย่างมาก

ประเทศที่ผลิตอาหารเพื่อการส่งออก

จะกลายเป็นผู้ซื้ออาหาร

จาก การพยากรณ์ของธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย ประเทศที่เคยเป็น ผู้ผลิตอาหารเนื่องจากเป็นประเทศกสิกรรมเช่นประเทศไทย จะกลายเป็นประเทศที่จะต้องซื้ออาหารเพราะจะผลิตอาหารไม่เพียงพอกับความต้อง การ เนื่องจากที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สามารถใช้เพาะปลูกจะจมอยู่ ใต้น้ำ แหล่งน้ำในหน้าแล้งจะเหลือน้อยมากไม่สามารถเพาะปลูก โรคระบาดจะรุนแรง ยุงจะเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ เราจะเห็นแผ่นดินไหวในบางประเทศมากขึ้น แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นถี่ ๆ จะทำให้เกิดสึนามิมากขึ้น ภูเขาไฟจะระเบิดบ่อยขึ้น (ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย) และอาจมีเมกะสึนามิจนส่งผลกระทบไปถึงที่สูงนั่นคือ ฝนตกมากขึ้น และมีน้ำท่วมในแถบที่สูงด้วย

เมื่อถึงเวลานั้นประเทศไทยจะต้องซื้อ อาหารเพื่อบริโภคแทนที่จะเป็นผู้ส่งออกอาหารอย่างที่เคยเป็นมา เพราะพื้นที่เพาะปลูกจะอยู่ใต้น้ำ น่ากลัวนะครับเพราะประเทศไทยไม่เคยอยู่ในสถานภาพนี้มาก่อน

บ่อเกิดของก๊าซเรือนกระจก

มนุษย์เป็นผู้ร้ายที่สำคัญที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากการกระทำดัง ต่อไปนี้

1.จาก การเผาพลังงานจากฟอสซิล (fossil) ซึ่งได้แก่ พลังงาน 3 ชนิด คือ น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน พลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืชและซากสัตว์นับล้าน ล้านปีก่อตัวเป็นถ่านหิน หินน้ำมัน น้ำมันดิบ ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ

2.การ ตัดไม้ทำลายป่า ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เพิ่มขึ้น และมีความเข้มข้นขึ้นในบรรยากาศ และผลอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่มีต้นไม้ที่จะดูดซับน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วม และเมื่อน้ำท่วมทาง ภาคเหนือในที่สุดน้ำก้อนนี้แหละที่จะไหลมาท่วมภาคอีสานและภาคกลาง

3.ภาค การเกษตรสร้างก๊าซเรือนกระจกเหมือนกัน เช่น อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ และการจัดการเรื่องมูลสัตว์ การจัดการขยะที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ตลอดจนน้ำเสียที่เกิดจากการผลิตน้ำมันปาล์ม การผลิตแป้ง จากมันสำปะหลัง ท่านจำได้ไหมเมื่อ 7-8 ปีมานี้เอง เมื่อท่านขับรถผ่านเมืองชลบุรีหรือฉะเชิงเทรา ท่านเคยได้กลิ่นเหม็นที่รุนแรงมาก นั่นแหละครับคือก๊าซเสียที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก การใช้ปุ๋ยในการเพาะปลูกก็ทำให้เกิดก๊าซไนตรัสออกไซด์

4.การใช้คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC) ในระบบเครื่องทำความเย็น การใช้ฮาลอน ในเครื่องดับเพลิงทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น

ท่านคงเห็นนะครับว่าสภาวะโลกร้อน เกิดขึ้นจากน้ำมือของคนอย่างไร

เราพร้อมจะเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราไหม ?

แม้ว่าในขณะนี้ยังมีการโต้เถียงกันมากว่า ปัญหาอากาศวิปริตแปรปรวนไม่ได้เกิดขึ้นเพราะปัญหาสภาวะโลกร้อนหรือว่าใช่ ?

ไม่มีใครตอบได้ เพราะมีคนถือหางทั้งสองด้าน

ผม ขอเสนอความคิดว่า ไม่ว่าที่มาที่ทำให้เกิดปัญหาอากาศแปรปรวน น้ำแล้งบ้าง น้ำท่วมบ้าง จะเป็นผลจากสภาวะโลกร้อนหรือไม่ ก็ไม่ควรสรุปว่า ดังนั้นเราควรดำเนินชีวิตอย่างมักง่าย อยู่กันอย่างฟุ่มเฟือย ใช้น้ำ ใช้ไฟฟ้าอย่างไม่มีความรับผิดชอบ แต่ตรงกันข้ามเราควรที่จะเริ่มใช้ทรัพยากรของโลกอย่างระมัดระวัง

ผม จึงขอจบลงตอนนี้ว่า การมีชีวิตที่อยู่แบบพอเพียงสำคัญไฉน การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยไม่ระมัดระวังทำให้ทรัพยากรสูญเสียโดยไร้ ประโยชน์ ทำให้โลกเสียทรัพยากรไปเท่าใด

ท่านทราบหรือไม่ว่า ถ้าก๊อกน้ำบ้านท่านรั่วและน้ำหยดวินาทีละ 1 หยด ใน 1 ชั่วโมงจะสูญเสียน้ำ 30.27 ลิตร และใน 1 ปีจะเสียน้ำ 11,924.05 ลิตร

(ข้อมูลจาก Latta Plantation Park, Huntersville, North Carolina)

ฉะนั้น ต่อไปนี้เวลาท่านเดินผ่านท่อน้ำที่แตกและมีน้ำไหล โปรดเสียเวลาสักนิดโทร.แจ้งการประปานครหลวง หรือการประปาส่วนภูมิภาค ท่านจะได้บุญ

Tags : ปี 2554 เราพร้อม เปลี่ยนวิถีชีวิต

view