สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แนวโน้มตลาดแรงงาน ปี 2020 Talent คุมชะตาความสำเร็จองค์กร ภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงคนหางาน

จากประชาชาติธุรกิจ

"ต่อ ไปองค์กรจะเป็นผู้ถูกเลือก ไม่ใช่ผู้เลือกอีก ต่อไป ดังนั้นทุกองค์กรต้องกลับมามองดูตัวเองว่าจะทำอย่างไรให้เป็น employer of choice เพราะตลาดถูกโยนไปอยู่ในมือ ของผู้สมัครงาน (candidate)"

นี่ คือความเปลี่ยนแปลงตลาดแรงงาน ในปี 2011 ที่ "ธิดารัตน์ กาญจนวัฒน์" ผู้จัดการประจำประเทศ บริษัทอเด็คโก้ กรุ๊ป (ประเทศไทย) ผู้ดำเนินธุรกิจให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลแบบครบวงจร (HR solutions) บอกให้นายจ้างเตรียมรับมือ

จากข้อมูลที่เก็บได้ในการดำเนินธุรกิจรอบ ปีที่ผ่านมา "ธิดารัตน์" มองว่า ในปี 2554 ตลาดแรงงานในประเทศไทยมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เพราะทั้งภาคอุตสาหกรรมทั่วไป ธุรกิจไอที การสื่อสาร กลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรมรถยนต์ รวมถึงธุรกิจ การเงินการธนาคารที่มีการควบรวมกิจการ ได้ฟื้นตัวขึ้นมาระดับหนึ่ง ดังนั้นจึงคาดว่า ในส่วนของบริษัทจัดหางานจะเติบโต ไม่น้อยกว่า 10-15% เมื่อเปรียบเทียบกับรอบปี 2553

ซึ่งหากมองความต้องการของ ตลาดแรงงานในรอบปีที่ผ่านมา จะพบว่าตลาด ที่มีความต้องการคนจำนวนมากจะยังเป็น กลุ่มของเซลส์ที่มีมากถึง 18% รองลงมาเป็นกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ 15% ตามมาด้วยกลุ่มวิศวกร ตลาดยังมีความต้องการอยู่มากถึง 12%

พนักงานในส่วนของแอดมินและเลขานุการ ตลาดมีความต้องการอยู่ 11% เท่ากับพนักงานในกลุ่มของบัญชี

นี่ คือมุมของตลาดที่อยากหาคน แต่ในมุมกลับกันคนหางานอยากทำงานอะไร จากข้อมูลที่เก็บได้พบว่าคนส่วนใหญ่อยากทำงาน PR marketing รองลงมาเป็นเลขานุการ ในขณะที่ตำแหน่งพนักงานบัญชีและวิศวกรในปี 2553 มีคนสนใจสมัครงานน้อยลง

ภาพสะท้อนตลาดแรงงานที่เกิดขึ้น อาจทำให้หลายคนหายข้องใจว่า เพราะเหตุใดนักศึกษาจบใหม่ถึงหางาน ทำไม่ได้ เพราะจากข้อมูลชัดเจนว่าดีมานด์กับซัพพลายในตลาดไม่สอดคล้องกันนั่นเอง

และ จากการเก็บข้อมูลในแง่ของการปรับเงินเดือนและการจ่ายโบนัส พบว่า "ธิดารัตน์" บอกว่าธุรกิจที่ใคร ๆ ก็อยากจะกระโจนเข้าไปอยู่นั่นคือ ธุรกิจยา (pharmaceutical) เพราะมีการจ่ายโบนัสและปรับเงินเดือนสูงมาก เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีส่วนต่างของกำไรกับต้นทุนที่สูงจึงสามารถจ่ายผลตอบ แทนกลับคืนให้พนักงานได้เยอะ

แต่ความเป็นจริงในขณะที่ตลาดมีการขยาย ตัว ความต้องการแรงงานมีสูงแต่ทั้งหมอและพยาบาลกลับทำงานอยู่ในสายวิชาการเสีย เป็นส่วนใหญ่ ตรงนี้จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการที่จะเคลื่อนย้ายคนเหล่านี้ มาทำงานในเชิงพาณิชย์ได้อย่างไร เพื่อขยายส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจยาให้เพิ่มมากขึ้น

อีกตำแหน่งงาน หนึ่งที่กำลังเป็นที่ต้องการของทุกองค์กรนั่นคือ Helpdesk and general IT support หรือผู้ให้บริการดูแลการใช้งานคอมพิวเตอร์ในองค์กร เพราะการทำงานในปัจจุบันต้องพึ่งพาเทคโนโลยี อาศัยดาต้าเบส พนักงานต้องมีคอมพิวเตอร์ประจำตัว คนที่จะเข้ามาดูแลคอมพิวเตอร์จึงขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยเหตุนี้วันนี้เราจึงต้องกลับมาถามว่าในตลาดประเทศไทยมีคนลักษณะนี้เพียง พอหรือเปล่า

นอกจากนั้น จากข้อมูลที่เก็บได้ยังพบอีกว่า บุคลากรในส่วนของอุตสาหกรรมพลังงาน น้ำมัน ก๊าซ พร็อพเพอร์ตี้ ยังขาดอยู่ทั่วโลก เป็นโจทย์ที่ภาคการศึกษาต้องผลิตคนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

"ธิดา รัตน์" บอกว่า จากการติดตามสถานการณ์ในตลาดทรัพยากรมนุษย์มาอย่างต่อเนื่อง พบว่าสิ่งที่เปลี่ยนจาก 10 ปีที่ผ่านมาแล้วกำลังจะพัฒนาไปในอีก 10 ปีข้างหน้านั้นมีมากมายหลายเรื่อง

ที่น่าสนใจ เรื่องแรกองค์กรต่าง ๆ มีลักษณะที่ Lean ขึ้น มีชั้นการบังคับบัญชาที่เตี้ยลงเรื่อย ๆ แม้แต่พนักงานตัวเล็ก ๆ ก็สามารถเดินเข้าไปคุยกับซีอีโอได้

เรื่อง ที่ 2 รูปแบบการจ้างงานจะเปลี่ยนไปจากในอดีตอย่างมาก จากเดิมที่เด็กจบใหม่มุ่งเน้นการจ้างงานแบบประจำอย่างเดียว ถ้าต้องไปทำงานชั่วคราวขอลอยตัวให้พ่อแม่เลี้ยงไปก่อน แต่ปัจจุบันเด็กจบใหม่ได้เปลี่ยนค่านิยมขอให้ได้งานก็แล้วกัน งานอะไรก็ได้ แม้จะเป็นลูกจ้างชั่วคราว เซ็นสัญญาปีต่อปีก็ยังดีกว่าตกงาน ซึ่งในอนาคตแนวโน้มการจ้างงานก็จะเป็นลักษณะเช่นนี้

เรื่องที่ 3 ในแง่ขององค์กรก็ไม่จ้างคนทำงานประจำเพียงอย่างเดียว แต่จะจ้างลูกจ้างในลักษณะสัญญาจ้างหรือเอาต์ซอร์ซงานตามสภาพธุรกิจที่ เปลี่ยนไปมากขึ้น

เรื่องที่ 4 ไลน์สไตล์ในการทำงานของเด็กรุ่นใหม่เจเนอเรชั่นเอ็กซ์และเจเนอเรชั่นวาย ก็จะแตกต่างจากยุคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ หรือเบบี้บูมที่จะทำงานที่เดียว 10 ปี 20 ปี แต่เด็กรุ่นใหม่จะทำงานบริษัทละ 2-3 ปีก็จะเปลี่ยนงาน เปลี่ยนบริษัท

เรื่องที่ 5 จำนวนคนเก่ง (talent) ที่มีจำนวนเยอะมากขึ้นในช่วง 2-3 ปี เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ทุกองค์กรรู้ดีว่าต่อจากนี้ไปองค์กรไม่มีคน เก่งไม่ได้แล้ว หากองค์กรใดไม่มีคนเก่งโอกาสเติบโตก็แทบไม่มี ดังนั้นทุกองค์กรต้องแสวงหา คนเก่งเข้ามาทำงานในองค์กรตลอดเวลา

และ เมื่อองค์กรต้องการคนเก่ง มีคนกลุ่มเจเนอเรชั่นวายเข้ามาเสริมทีม ผู้จัดการในอดีตเมื่อ 10 ปีที่แล้วจึงไม่สามารถบริหารจัดการองค์กรในปัจจุบันได้ ผู้ที่จะมาเป็นผู้นำองค์กรนับจากนี้ไปจะต้องบริหารจัดการคนในเจเนอเรชั่น เอ็กซ์และ เจเนอเรชั่นวายได้ต้องสามารถสร้างแรงจูงใจพนักงานให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ ตรงนี้เป็นเรื่องที่ 5 ที่จะเปลี่ยนแปลงไปในตลาดแรงงาน

ซึ่งจุด เชื่อมต่อที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง "ธิดารัตน์" มองว่า วันนี้บุคลากรใน ยุคเบบี้บูมกำลังจะรีไทร์ตัวเองออกจากการทำงานในขณะที่คนกลุ่มนี้สะสมองค์ ความรู้ในวิชาชีพต่าง ๆ ไว้มากมาย หากคนกลุ่มนี้ต้องหลุดออกจากองค์กรไปจริง ๆ ผู้บริหารต้องมองว่าจะบาลานซ์ทักษะความรู้ประสบการณ์ของคนที่กำลังจะออกไป ให้สามารถทำงานต่อแล้วถ่ายทอดองค์ความรู้ให้บุคลากรรุ่นหลังได้อย่างไร

ซึ่งบางองค์กรเลือกให้คนรุ่นเบบี้บูม กลับมาเพื่อส่งไม้ต่อให้กับคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในธุรกิจน้ำมันและก๊าซที่ขาดแคลนบุคลากร

สำหรับ ภาพที่จะเห็นในอีก 10 ปี ข้างหน้าที่สำคัญ คือ คนที่กำหนดความเคลื่อนไหวในตลาดแรงงานในเมืองไทย จะไม่ใช่นายจ้างอีกต่อไปแต่จะเป็นกลุ่ม คนเก่ง จะเป็นคนกำหนดว่าเขาควรจะได้ค่าตัวเท่าไร อยากทำงานอะไร เพราะคนกลุ่มนี้ในตลาดมีน้อย แล้วที่สำคัญเก่งก็มักจะมีงานที่ดีมีค่าตอบแทนสูงทำอยู่แล้ว ดังนั้นทุกคนจะรู้ดีว่าค่าตัวเขาต้องเป็นเท่าไรถ้าจะโยกย้ายไปทำงานใหม่

เรียกว่าถ้าไม่มีเหตุการณ์หรือเหตุผลเพียงพอ คนเหล่านี้ก็จะไม่ย้ายงาน

ใน การมองหาคนใหม่ ๆ ขององค์กร จึงไม่สามารถใช้วิธีลงโฆษณาแบบในอดีตได้อีกแล้ว เนื่องจากปัจจุบันทุกอย่างเป็นโซเชียล มีเดีย มีทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไอโฟน

ธุรกิจรีครูตเมนต์ก็จะต้องแข่งกันหา talent เพราะ talent คือกุญแจสำคัญที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

ซึ่ง การหา talent ว่ายากแล้ว การรักษาไว้ยิ่งยากกว่า องค์กรจะต้องคิดสารพัดวิธีที่จะรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์กรที่เหนือคู่แข่ง

"ใน อดีตองค์กรมักมองเรื่องการ ลงทุนว่าจะต้องได้กลับคืนมาในรูปของ เม็ดเงินว่าเป็นเท่าไร แต่จากนี้ไปคอนเซนต์ของการลงทุนจะขยายไปในเรื่องการจ้างบุคลากรด้วย เพราะคำว่าทรัพยากร บุคคลได้ข้ามมาเป็นทุนมนุษย์ ดังนั้นทุกองค์กรจึงมองว่าสิ่งที่เขาลงทุนไปใน เรื่องคน คนเหล่านี้จะเอาอะไรกลับคืนมา ให้องค์กรบ้าง"

นี่คือภาพต่อเนื่อง ของตลาดแรงงานที่จะเห็นในปี 2020 ในมุมมองของที่ปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์ที่คร่ำหวอดในวงการนี้มาอย่างยาวนาน มากกว่า 10 ปี

Tags : แนวโน้มตลาดแรงงาน ปี 2020 Talent คุมชะตา ความสำเร็จองค์กร ภาพสะท้อน ความเปลี่ยนแปลง คนหางาน

view