สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

แนวโน้มของผู้บริโภค ในการใช้สื่อดิจิทัลปี 54

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

โดย : กติกา สายเสนีย์

เจ้าของ keng.com & คอลัมภ์Connected ในนิวมีเดียกรุงเทพธุรกิจ


ผู้สื่อข่าวหลาย สำนัก ไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวหรือบล็อกต่างๆ เริ่มออกมาให้ความคิดเห็น เกี่ยวกับแนวโน้มการเจริญเติบโตของสื่อดิจิทัลสำหรับปี 2554
  กันอย่างครึกโครม ทำให้ผมเลยต้องออกมาเขียนบ้าง แต่จะเขียนเหมือนเขาก็กระไรอยู่ เลยขอเขียนมุมกลับกันบ้างว่า ผู้บริโภคจะมีแนวโน้มในการใช้สื่อดิจิทัลอย่างไรบ้างในปี 2554

 โดยข้อมูลเหล่านี้เกิดจากการสังเกต และลองนั่งคิดดูว่าผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ นั้น มีการใช้สื่อดิจิทัลอย่างไรบ้าง

 1. มีวิจารณญาณในการเชื่อถือข้อมูลมากขึ้น
 เดี๋ยว นี้ผู้บริโภคสามารถแยกแยะข้อมูลต่างๆ ได้ดีขึ้น และมองออกได้ง่ายว่าอันไหนเป็นโฆษณาและอันไหนเป็นข้อมูลที่ผู้บริโภคเขียน กันจริง โดยข้อมูลที่ทำให้ผมเชื่อในเรื่องนี้ ก็คือ มีกระทู้หนึ่งในเว็บพันทิป ได้เขียนถามไว้ว่า ใครเชื่อบล็อกเกอร์ที่มาเขียนรีวิวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ กันมากแค่ไหน ผมลองอ่านคำตอบดูซึ่งมีหลายสิบคำตอบที่บอกว่า ตัวเองแยกแยะออก และไม่เชื่อไปเสียทั้งหมด บ้างบอกว่าเห็นเลยว่าบทความไหนเป็นบล็อกเกอร์ที่ได้สินค้ามารีวิว หรือบทความไหนเป็นบล็อกเกอร์ซื้อของมาจริง แล้วมารีวิว รวมไปถึงการเห็นข้อความทางสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น ทวิตเตอร์ หรือเฟซบุ๊ค แล้วมีการเช็คแหล่งข่าวกันก่อนที่จะบอกต่อกันอีกด้วย เห็นได้จากที่ผู้บริโภคมีการเขียนข้อความเตือนให้ผู้บริโภคด้วยกันเช็คแหล่ง ข่าว ก่อนการรีทวีตข้อความใดๆ กันอยู่เสมอ

 2. ใช้เวลาการบริโภคสื่อน้อยลง
 เมื่อเวลาของทุกคน มีอยู่ 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ต้องบอกว่าผู้บริโภคมีแนวโน้มในการใช้เวลาบริโภคสื่ออย่างฉลาด เราจะเห็นว่าคนไทยสามารถใช้เทคนิคการอ่านแบบผ่าน แล้วยังสามารถจับใจความได้ดีขึ้น เห็นจากการที่บทความจากหลายเว็บ พยายามเขียนข่าวกันแบบไม่ยาวมาก เพราะผู้บริโภคจะเริ่มไม่สนใจหากข่าวไหนยาวเกินไป หรือกระทู้ในเว็บบอร์ดต่างๆ  ที่มีคนตอบกันยาว หลายสิบคน ผู้บริโภคสามารถเลื่อนหน้าจออ่านแบบเร็วๆ เพื่อหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว อันนี้เห็นได้จากเพื่อนของผมที่อ่านข้อมูลแบบนี้ บางทีผมยังตามแทบไม่ทัน

 3. สนใจเรื่องความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
 เรามักจะ เห็นข่าวว่าเว็บไซต์ดังในระดับโลกมีปัญหาถูกร้องเรียนเรื่องการเปิดเผย ข้อมูลความเป็นส่วนตัวมากขึ้น นั่นเป็นเพราะว่าผู้บริโภคเริ่มตระหนักแล้วว่า การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในสื่อดิจิทัลที่มากเกินไป อาจนำมาซึ่งความรำคาญจากการเกิดอีเมลขยะ หรือแม้กระทั่งมีภัยมาถึงตัว ดังนั้น ผู้บริโภคบางคนจะมีอีเมลหลายชื่อ เพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ เช่น อีเมลที่ใช้จริงจัง อันนี้จะใช้กับเว็บที่เป็นเว็บไซต์หลักๆ ที่ตนเองใช้ และมีอีเมลสำรองเอาไว้ใช้สมัครบริการหรือเว็บไซต์บางเว็บที่ตนเองคิดว่าไม่ ได้ใช้บ่อย เพื่อหลีกเลี่ยงอีเมลขยะที่จะมาจากการสมัครใช้บริการที่มักจะมามากขึ้น เรื่อยๆ เมื่อผ่านไปหลายปี

 4. ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้นในการเข้าใช้บริการ
 จำนวน เว็บไซต์ที่เพิ่มขึ้นมากมายก่ายกอง ทำให้ผู้บริโภคต้องการความสะดวกสบายและต้องการชื่อผู้ใช้ของตนแบบไม่กี่ตัว เรามักจะเห็นว่าหากเว็บไซต์ไหนมีให้เข้าสู่ระบบด้วยการใช้ชื่อผู้ใช้ของเฟซ บุ๊คหรือทวิตเตอร์ (Single Sign-On) ซึ่งผู้บริโภคใช้กันอยู่เป็นประจำอยู่แล้วนั้น มักจะได้รับการตอบรับที่ดี แน่นอนว่า ผู้บริโภคอย่างเราท่านย่อมชอบแน่นอน เมื่อไม่ต้องจำรหัสผ่านหลายตัว

 5. คุ้นเคยกับการถ่ายรูปและโทรศัพท์มือถือกันเป็นอย่างดี
 เคย ไปนั่งรับประทานอาหารแล้วมองไปที่โต๊ะข้างๆ ไหมครับ เราอาจจะเห็นคนควักโทรศัพท์มือถือขึ้นมาถ่ายรูปอาหาร ก่อนที่ตัวเองจะลงมือรับประทานอาหารมื้อนั้นของตน หรือไปตามห้าง เห็นคนหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาถ่ายรูปเมื่อเจอดารา และหากได้มีโอกาสขึ้นรถไฟฟ้า จะเห็นคนเล่นเฟซบุ๊คผ่านโทรศัพท์มือถือกันเยอะเชียว

 สิ่งเหล่านี้บอกเราได้ว่าผู้บริโภคคุ้นเคยกับการถ่ายรูป การอัพโหลดรูปภาพ และการใช้สื่อโซเชียลมีเดียผ่านอุปกรณ์มือถือกันเป็นอย่างดี หากแคมเปญโฆษณาใดเป็นการให้ผู้บริโภคส่งรูปถ่ายเข้ามาร่วมกัน ก็เริ่มจะมีคนร่วมกิจกรรมมากขึ้น เพราะเป็นรูปแบบที่เขาคุ้นเคยอยู่แล้ว แนวโน้มปีหน้าก็ยังไม่น่าจะหายไป แถมยังน่าจะมากขึ้นอีกด้วย

 ว่าแล้วขอไปถ่ายรูปโจ๊กมื้อเช้าร้อนๆ อันแสนน่ากินของผม ก่อนที่ควันมันจะหายไปก่อนนะครับ

Tags : แนวโน้มของผู้บริโภค การใช้สื่อดิจิทัลปี 54

view