สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ก.อุตฯปั้นตัวชี้วัดประสิทธิภาพ 5 ธุรกิจ (8)

จากประชาชาติธุรกิจ

หมายเหตุ : เรื่อง "รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ก.อุตฯปั้นตัวชี้วัดประสิทธิภาพ 5 ธุรกิจ (8)" เป็นฉบับต่อเนื่องจากฉบับที่ผ่านมา ซึ่ง รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ และคณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำรวจและประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์จากนักธุรกิจ 200 ราย ใน 5 ธุรกิจแถวหน้าของประเทศไทย ตามโครงการศูนย์บริการข้อมูลโลจิสติกส์ของ สำนักโลจิสติกส์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ ด้านโลจิสติกส์

รศ.ดร.รุ ธิร์ พนมยงค์ กล่าวต่อว่า สำหรับตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์จะมีกระบวนการประเมินและเปรียบ เทียบผลิตภัณฑ์ บริการและวิธีปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเองที่มุ่งสู่ความ เป็นเลิศ วิธีการเช่นนี้เรียกว่า การทำ bench marking ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่




(1) การเปรียบเทียบตัวประเมิน (bench marking) จะต้องมีการกำหนดตัวชี้วัด หรือที่เรียกว่า key performance indicater (KPI) ซึ่งต้องรู้ว่าจะเปรียบเทียบกับใครในเรื่องใด

(2) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ดี/เป็นเลิศ (best practices) จากผู้ที่ทำได้ดีกว่า โดยเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายหลังการเปรียบเทียบตัวประเมินเพื่อให้รู้ถึง ผู้ที่ทำได้ดีกว่า และเข้าไปเรียนรู้วิธีการปฏิบัติซึ่งทำให้ประสบความสำเร็จ หรือมีค่า bench mark สูง และนำวิธีการปฏิบัติดังกล่าวมาใช้ปรับปรุงองค์กรของตนเองค่าของข้อมูลที่ เป็นตัวชี้วัดนี้จะถูกเรียกว่า ค่า bench mark

เช่น บริษัท ก.ต้องการปรับปรุงเวลาที่ใช้ในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า สมมติว่าปัจจุบันใช้เวลา 1 วัน และทราบข้อมูลว่าภายใต้เงื่อนไขและกระบวนการเดียวกันมีบริษัท ข.ซึ่งใช้เวลาส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้แก่ลูกค้า คือ ค่า bench mark ที่ใช้ในการเปรียบเทียบในการกำหนดว่าองค์กรควรเปรียบเทียบกับผู้มีผลการ ปฏิบัติได้ดีกว่าในระดับใดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการขององค์กรว่าต้องการปรับปรุงไปสู่ระดับใด หรือต้องการแข่งขันกับคู่แข่งระดับใด เช่น ระดับอุตสาหกรรม ระดับภูมิภาค หรือระดับโลก

อย่างไรก็ตาม ในการทำ bench marking ยังมีความสับสนกับคำว่า best ของ best practices โดยคิดว่าเป็นการยากที่จะพูดว่าเป็นวิธีปฏิบัติ "ที่ดีที่สุด" ทำให้หลายองค์กรที่ทำ bench marking ใช้คำว่า good practices หรือ better practices แทน ซึ่งในที่นี้ best practices หมายถึง วิธีปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือวิธีปฏิบัติที่นำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งเหมาะสมกับองค์กรนั้น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งที่สามารถทำได้หรือเหมาะสมกับทุกองค์กร

ดัง นั้นการเรียนรู้ best practices จากผู้ที่ทำได้ดีกว่าเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเอง และผู้ที่จะใช้ต้องนำมาประยุกต์ให้เหมาะกับองค์กรของตนเองด้วย

Tags : รู้เขารู้เรา รบร้อยชนะร้อย ก.อุตฯ ปั้นตัวชี้วัดประสิทธิภาพ 5 ธุรกิจ

view