สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คาร์บอนเครดิตคืออะไร ?

คาร์บอนเครดิตคืออะไร ?

จากประชาชาติธุรกิจ


ประเทศ ไทย เข้าเป็นภาคีสมาชิกของพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2548 โดยพิธีสารฉบับนี้มีเงื่อนไขให้ประเทศพัฒนาแล้ว ที่เป็นสมาชิกในกลุ่มบัญชี 1 (Annex 1) มีพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ปี 2551-2555 ให้ได้ร้อยละ 5.2 จากปริมาณการปล่อยปี 2533

ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ประเทศกำลังพัฒนา (รวมประเทศไทย) ที่เป็นสมาชิกที่อยู่นอกกลุ่มบัญชี 1 (Non-Annex 1) สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้โดยสมัครใจผ่านทางกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism หรือ CDM) ที่เปิดโอกาสให้ประเทศพัฒนาแล้วเข้ามาดำเนินการลดหรือเลิกการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา




โดย ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เรียกว่า "คาร์บอนเครดิต" ประเทศพัฒนาแล้ว (Annex 1) สามารถซื้อไปใช้เป็นเครดิตได้ โดยไม่ต้องไปดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศของตนเองลง เนื่องจากการลดก๊าซเรือนกระจกตาม พันธกรณีในประเทศพัฒนาแล้วมี "ต้นทุน" ที่สูงกว่าการซื้อคาร์บอนเครดิตจากประเทศกำลังพัฒนา

การซื้อขาย คาร์บอนเครดิตจากโครงการ CDM ในปัจจุบัน เป็นการซื้อขายในลักษณะการตกลงกันระหว่างผู้ดำเนินโครงการ CDM และผู้ที่สนใจจะซื้อคาร์บอนเครดิต ราคาซื้อ-ขายจะเป็นไปตามอุปสงค์-อุปทานของตลาดและช่วงเวลาที่ซื้อขายว่า อยู่ในขั้นตอนใดของการพัฒนาโครงการ หากซื้อขายคาร์บอนเครดิตในช่วงต้นราคาซื้อจะต่ำ เนื่องจากโครงการมีความเสี่ยงสูงกว่า โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อราคาคาร์บอนเครดิตได้แก่ 1) ราคาและสัญญาซื้อ-ขายไม่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากการซื้อขายส่วนใหญ่เป็นการทำสัญญาโดยตรงระหว่างผู้ซื้อกับ ผู้ขาย จึงไม่มีสัญญามาตรฐาน ยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกัน อีกทั้งยังมีเงื่อนไขสัญญาที่ต่างกัน อาทิ การจ่ายเงิน การผิดสัญญา

และ 2) ไม่มีการเปิดเผยราคาซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตที่แท้จริง เนื่องจากไม่มีตลาดกลาง ปัจจุบันจะอ้างอิงจากรายงานปริมาณและราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตของธนาคารโลก ซึ่งเป็นแหล่งทุนสำคัญของประเทศที่พัฒนาแล้ว รวมถึงยังมีกระบวนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อนำมาเก็งกำไรขายต่อเกิดขึ้น


300บริษัทแห่ขายคาร์บอนเครดิต ราคาดี"ปูนใหญ่-ไทยเบฟ"เอาด้วย

จากประชาชาติธุรกิจ

ตลาด คาร์บอนเครดิตคึกคัก เอกชนไทยแห่ขอทำโครงการซื้อขายคาร์บอนเครดิตมากกว่า 300 ราย ทั้งปูนซิเมนต์ไทย-ไทยเบฟ-กฟฝ. แต่มีบริษัทเพียง 2 ราย "เอที ไบโอพาวเวอร์-โคราชเวสท์" ที่ได้รับใบรับรอง CERs จาก UNFCC สามารถซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้ เหตุมีหน่วยงานตรวจสอบรับรองน้อย ชี้แนวโน้มราคาซื้อขายคาร์บอนเฉลี่ย 14 ยูโร/ตันคาร์บอน ตราบเท่าที่ประเทศพัฒนาแล้วยังคงต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามพันธกรณี พิธีสารเกียวโตอยู่



น.ส.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาการตลาด องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการซื้อ-ขายคาร์บอนเดรดิตว่า ปัจจุบันมีโครงการของเอกชน ไทยที่องค์การฯให้ความเห็นชอบและออกหนังสือรับรองสามารถซื้อ-ขายคาร์บอน เครดิตภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) ไปแล้วทั้งสิ้น 123 โครงการ

โดย 40 โครงการได้รับการขึ้นทะเบียนกับทางสำนักงานคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่ สะอาด ภายใต้อนุสัญญาฯ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ (UNFCC CDM-EB) แล้ว นอกจากนี้ยังมีโครงการที่ยื่นความประสงค์จะทำโครงการ CDM อีกกว่า 200 โครงการ

อย่างไรก็ตามจากจำนวนโครงการทั้งหมด 123 โครงการ ปัจจุบันมีเพียง 2 โครงการที่ผ่านการตรวจสอบและได้รับใบรับรอง (CERs) อนุญาตให้ซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต ได้แก่ โครงการผลิตไฟฟ้าเชื้อเพลิงแกลบของบริษัทเอที ไบโอพาวเวอร์ จังหวัดพิจิตร ขายคาร์บอนเครดิตได้ 100,678 ตันคาร์บอน/ปี กับโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากน้ำเสียจากโรงงานผลิตแป้งมัน สำปะหลังของบริษัทโคราชเวสท์ทูเอ็นเนอร์ยี่ จังหวัดนครราชสีมา ขายคาร์บอนเครดิตได้ 74,546 ตันคาร์บอน/ปี

ทั้งนี้ขั้นตอนของการซื้อ ขายคาร์บอนเครดิตภายใต้โครงการ CDM ประกอบไปด้วย 1) ผู้พัฒนาโครงการยื่นความประสงค์จะทำโครงการซื้อขายคาร์บอนเครดิตให้หน่วยงาน ที่ 3 (Third Party) คณะแรก หรือ DOE (a) เข้ามาตรวจสอบ ว่าเป็นโครงการที่สามารถซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้หรือไม่ 2) เมื่อผ่านการตรวจสอบจาก DOE (a) แล้ว องค์การจัดก๊าซเรือนกระจกจะพิจารณาให้ความเห็นชอบ

3) หลังจากนั้นจะต้องนำเสนอโครงการไปที่สำนักงานคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนา ที่สะอาดของอนุสัญญาฯว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCC CDM-EB) พิจารณา 4) UNFCC CDM-EE จะส่งหน่วยงานที่ 3 (Third Party) คณะที่สอง หรือ DOE (b) ตรวจสอบซ้ำอีกครั้งว่า โครงการเป็นตามแผนงานที่เสนอหรือไม่ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและนำมาซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้จริง และ 5) UNFCC CDM-EE รับรายงานจาก DOE (b) พิจารณาออกใบรับรอง CERs เพื่อให้ผู้พัฒนาโครงการนำก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินโครงการไปขาย ในตลาดคาร์บอนเครดิต

ส่วนปัญหาที่ทำให้ประเทศไทยมีโครงการเพียง 2 โครงการที่ได้รับใบรับรอง CERs สามารถซื้อขายคาร์บอนเครดิตได้นั้นเป็นเพราะ 1) หน่วยงานที่ 3 ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ UNFCC CDM-EB ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบโครงการซื้อคาร์บอนเครดิตมีน้อยมาก หรือเพียงแค่ 20 รายเท่านั้น แต่ต้องทำหน้าที่ตรวจสอบโครงการลักษณะนี้ทั่วโลก และ 2) การพิจารณาของหน่วยงานที่ 3 กับแผนการดำเนินงานของผู้พัฒนาโครงการไม่ตรงกัน "ต้องตีกลับมาปรับปรุงแก้ไขหลายครั้ง" จึงทำให้ไทยมีโครงการที่ผ่านการพิจารณาน้อยมาก

สำหรับโครงการทั้ง 123 โครงการที่ผ่านการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ส่วนใหญ่ 50% เป็นโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงาน ชีวมวล, 20% เป็นโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานชีวภาพ, 20% เป็นโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และ 10% อื่น ๆ อาทิ โรงไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ, พลังงานลม โดยผู้ยื่นโครงการมีทั้งบริษัทเอกชนรายใหญ่/รายย่อย และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น

เครือซิเมนต์ไทยได้รับหนังสือรับรองไปแล้ว 7 โครงการ เป็นโครงการผลิตไฟฟ้าจากลมร้อนทิ้งของโรงปูนซีเมนต์, บริษัทไทยเบฟ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ทำโครงการผลิตพลังงานความร้อนจากน้ำเสียกระบวนการผลิตสุรา และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยื่นโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ เป็นต้น

"การซื้อขายคาร์บอน เครดิตขณะนี้ค่อนข้างได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก เพราะได้ประโยชน์หลายทาง เช่น โรงไฟฟ้านำน้ำหมักน้ำเสียมาใช้ผลิตไฟฟ้า ส่วนหนึ่งใช้ในโรงงานของตนเอง อีกส่วนหนึ่งขายให้กับการไฟฟ้าและเมื่อประเมินว่า โครงการสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ก็สามารถยื่นความประสงค์ขอขายคาร์บอนเครดิตเป็นรายได้เสริมให้กับธุรกิจอีก ด้านหนึ่ง ภาพลักษณ์ขององค์กรก็ดีด้วย" น.ส.พงษ์วิภากล่าว

ส่วนการ ซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดปัจจุบันราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 12-14 ยูโร/ตันคาร์บอน จากก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2551 ราคาซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตเคยขึ้นไปสูงถึง 20 ยูโร/ตันคาร์บอน เนื่องจากยังมีผู้พัฒนาโครงการ CDM ไม่มาก ขณะปีที่ผ่านมาลงไปอยู่ที่ 10 ยูโร/ตันคาร์บอน เพราะปริมาณการซื้อขายมากขึ้น

ประกอบกับการชะลอ ซื้อคาร์บอนเครดิตของประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นสมาชิกในกลุ่มบัญชี 1 (Annex 1) เพื่อรอผลการประชุมเจรจาอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศโลกที่เมืองแคนคูน ช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ว่าจะลดภาระการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศพัฒนาแล้วหรือไม่ แต่ผลก็คือ ประเทศพัฒนาแล้วยังต้องลดเหมือนเดิม ดังนั้นปริมาณการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิตจึงกระเตื้องขึ้น

ปัจจุบันจีน ได้กลายเป็นประเทศที่มีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตสูงสุด โดยมีโครงการที่ได้รับรองจาก UNFCC CDM-EB แล้วจำนวน 1,362 โครงการ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 296.38 ล้านตันคาร์บอน/ปี อันดับสอง ได้แก่ ประเทศอินเดีย ขึ้นทะเบียนโครงการไปแล้วเป็นจำนวน 690 โครงการ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 56.18 ล้านตันคาร์บอน/ปี จากปริมาณรวมทั่วโลก 487.46 ล้านตันคาร์บอน/ปี

สำหรับทิศทางการตลาด คาร์บอนเครดิตค่อนข้างมีแนวโน้มดี ประกอบกับมีการร้องขอให้ภาครัฐสร้างแรงจูงใจในการดำเนินโครงการ CDM ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทยมากขึ้น ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติมาตรการสนับสนุนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย "ยกเว้น" ภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกำไรสุทธิเป็นเวลา 3 ปี ขณะนี้อยู่ระหว่างการให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความร่างกฎหมาย คาดว่าต้นปีหน้าจะประกาศบังคับใช้ได้ ซึ่งก็จะเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบการสนใจพัฒนาโครงการ CDM มากขึ้น

ด้าน นายนที สิทธิประศาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ.ที.ไบโอ พาว เวอร์ จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน 2 บริษัทที่ได้รับใบรับรอง CERs สามารถซื้อขายคาร์บอนเครดิต กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงโครงการซื้อขายคาร์บอนเครดิตลอต 2 ของ โรงไฟฟ้าแกลบ กำลังผลิตติดตั้ง 22 เมกะวัตต์ว่า ที่ผ่านมาบริษัทที่ปรึกษาคือ บริษัทเอสจีเอส (SGS) จากอังกฤษ ที่จะเข้ามาประเมินและตรวจสอบอยู่ระหว่างถูกพักใบอนุญาตจากปัญหาภายใน ทำให้โครงการซื้อขายคาร์บอนเครดิตลอต 2 ของบริษัทล่าช้าออกไป

แต่ขณะ นี้บริษัท SGS อังกฤษ กลับมาดำเนินการประเมินและตรวจสอบโรงไฟฟ้าแกลบของบริษัทได้แล้ว เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา แต่กว่าจะผ่านการพิจารณาไปจนกระทั่งถึงกระบวนการขอใบรับรอง CERs ยังต้องใช้เวลาพอสมควร กว่าจะลงนามซื้อขายคาร์บอนเครดิตจำนวน 43,000 ตันคาร์บอน กับลูกค้าในครึ่งปีแรกของปี 2554 ได้ หลังจากนั้นจึงจะทำสัญญาแบบปีต่อปีในจำนวน 60,000-70,000 ตันคาร์บอนต่อไป

Tags : คาร์บอนเครดิต

view