สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิวาทะว่าด้วยประสิทธิภาพและความยุติธรรมในนิติเศรษฐศาสตร์ : แนวคิดประสิทธิภาพในหลักเศรษฐศาสตร์

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ มองซ้ายมองขวา

โดย ปกป้อง จันวิทย์ pokpongj@econ.tu.ac.th



แนวคิดพื้นฐานว่าด้วยประสิทธิภาพและความยุติธรรม

นัก เศรษฐศาสตร์มักเปรียบเปรยแนวคิดเรื่อง "ประสิทธิภาพ" กับ"ความยุติธรรม" ว่า "ประสิทธิภาพ" เปรียบได้กับ "ขนาดของขนมพาย" สังคมที่มีประสิทธิภาพคือสังคมที่สามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อผลิต ขนมพายให้ได้ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่วน "ความยุติธรรม" เปรียบได้กับ "การแบ่งสรรขนมพาย" สังคมที่มีความยุติธรรมคือสังคมที่มีการแบ่งสันปันส่วนขนมพายให้แก่สมาชิก ของสังคมผ่านหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรม

ควรกล่าวด้วยว่า ทั้ง "ประสิทธิภาพ" และ "ความยุติธรรม" ต่างก็เป็นเป้าหมายที่สังคมต้องการบรรลุ สังคมในอุดมคติ คือ สังคมที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความยุติธรรม

โจทย์ เรื่อง "ประสิทธิภาพ" คือ การตอบคำถามว่าด้วยการจัดสรร (allocation problem) หรือการตัดสินใจว่าควรจะใช้ทรัพยากรที่มีในการผลิตอะไร จำนวนเท่าใด ผลิตอย่างไร เป็นต้น ซึ่งวิชาเศรษฐศาสตร์ทุ่มเทและใส่ใจในการตอบคำถามดังกล่าว ส่วนโจทย์เรื่อง "ความยุติธรรม" เป็นการตอบคำถามว่าด้วยการแบ่งสรรและกระจาย (distribution problem) หรือการตัดสินใจว่าจะแบ่งสรรผลผลิต/ผลได้/กำไร/ส่วนเกินด้วยหลักเกณฑ์ใด ใครหรือกลุ่มใดควรได้ส่วนแบ่งเป็นสัดส่วนเท่าใด เป็นต้น ซึ่งวิชาเศรษฐศาสตร์ดูจะสนใจในการตอบคำถามหลังน้อยกว่าคำถามแรก ขณะที่วิชานิติศาสตร์เหมือนจะให้น้ำหนักความสำคัญกับการตอบคำถามหลังมากกว่า

แนวคิดประสิทธิภาพในหลักเศรษฐศาสตร์ : ประสิทธิภาพในการจัดสรร (allocative Efficiency) และสวัสดิการของสังคม (social welfare)

เมื่อ กล่าวถึงคำว่า "ประสิทธิภาพ" คนทั่วไปในสังคมมักเข้าใจว่าหมายถึง ผลิตภาพ (productivity) ขีดความสามารถในการแข่งขัน (competitiveness) หรือผลประกอบการของเศรษฐกิจ (performance of the economy) ซึ่งวัดมูลค่าออกมาเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product - GDP) หรืออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic growth) เป็นต้น แต่หากนิยามประสิทธิภาพในเชิงเศรษฐศาสตร์อย่างเคร่งครัดแล้ว ประสิทธิภาพหมายถึง การที่สังคมได้รับประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มี หากสังคมมีเป้าหมายของการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างชัดเจน และมรรควิธีสู่เป้าหมายดังกล่าวมีหลายทาง สังคมควรเลือกทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด ตัวอย่างเช่น เลือกทางที่ให้ผลลัพธ์มากที่สุด ใช้ต้นทุนต่ำที่สุด สมาชิกในสังคมพึงพอใจมากที่สุด หรือสังคมได้รับสวัสดิการสูงสุดตามแต่เป้าหมายที่สังคมต้องการ

การ บรรลุซึ่งสังคมที่มีประสิทธิภาพ เป็นปัญหาว่าด้วยการจัดสรรทรัพยากร การจัดสรรทรัพยากรส่งผลกระทบความมีชีวิตความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจ (economic well-being) ของตัวละครต่าง ๆ ในสังคม การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (allocative efficiency) ช่วยยกระดับสวัสดิการของสังคมให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไข และข้อจำกัดที่สังคมเผชิญ

แนวคิดเรื่อง "ประสิทธิภาพ" จึงสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับแนวคิดเรื่อง "สวัสดิการ" อย่างแยกไม่ออก หากสังคมมีประสิทธิภาพมากขึ้น สวัสดิการของสังคมย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย นี่คือแก่นแกนของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ (welfare economics) ซึ่งพยายามพัฒนาเกณฑ์การวัดประสิทธิภาพและสวัสดิการ รวมถึงประเมินผลของนโยบาย กฎหมาย ระบบกำกับดูแล ต่อตัวละครฝ่ายต่าง ๆ ในสังคมและเศรษฐกิจส่วนรวม

ในด้านหนึ่งเศรษฐศาสตร์สวัสดิการเป็นการ ศึกษาตามสภาพที่เป็นจริง (positive welfare economics) โดยพยายามอธิบายว่านโยบาย กฎหมาย ระบบกำกับดูแล ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไร ขณะที่อีกด้านหนึ่งเป็นการศึกษาตามสภาพที่ควรจะเป็น (normative welfare economics) โดยพยายามประเมินคุณค่าของนโยบายเหล่านั้นว่าเป็นนโยบายที่ควรส่งเสริมหรือ คัดค้าน โดยพิจารณาจากเกณฑ์ด้านประสิทธิภาพและสวัสดิการ ทั้งนี้ข้อเสนอเชิงนโยบายคือควรส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเสริมสร้างประสิทธิภาพ เพราะจะช่วยยกระดับสวัสดิการในสังคม

คำว่า "สวัสดิการ" ในทางเศรษฐศาสตร์คือผลประโยชน์สุทธิที่แต่ละคนได้รับจากปฏิสัมพันธ์ในตลาด นั่นเอง ไม่ว่าจะในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ผลิต สำหรับผู้บริโภคสวัสดิการวัดจากความสุขหรืออรรถประโยชน์ (utility) ที่ได้รับจากการบริโภคสินค้าและบริการ สำหรับผู้ผลิตสวัสดิการวัดจากกำไร (profit) ที่ได้รับจากการขายสินค้าและบริการ ส่วนสวัสดิการของสังคม (social welfare) คือผลประโยชน์สุทธิที่สังคมส่วนรวมได้รับ ซึ่งมีที่มาจากการนำผลประโยชน์ของสมาชิกในสังคมทุกคน

(ทั้งในฐานะผู้บริโภคและผู้ผลิต) มาบวกรวมกัน หักลบด้วยต้นทุนทั้งหมดที่สังคมเผชิญ

ทั้ง นี้ นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า กลไกราคาในระบบตลาดแข่งขันสมบูรณ์เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมี ประสิทธิภาพมากที่สุด และนำพาสังคมไปสู่ระดับสวัสดิการสูงสุด

ภายใต้ กรอบแนวคิดดังกล่าว สวัสดิการของสังคมจะอยู่ในระดับที่สูงที่สุดภายใต้ระบบตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ซึ่งปัจเจกบุคคลที่มีเหตุมีผลทางเศรษฐกิจตัดสินใจในทางที่ทำให้ตนได้รับ ประโยชน์สูงสุดภายใต้ข้อจำกัดที่เผชิญ โดยภาครัฐไม่ควรมีบทบาทเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ เช่น การแทรกแซงกลไกราคาผ่านการกำหนดราคาขั้นสูงหรือราคาขั้นต่ำเพื่อบังคับการ แลกเปลี่ยนในตลาด เพราะจะทำให้ระดับสวัสดิการของสังคมส่วนรวมลดลงเมื่อเทียบกับสภาพตลาดแข่ง ขันสมบูรณ์

ในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์ ระบบกฎหมายจึงควรส่งเสริมประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจแก่สังคม กฎกติกาต่าง ๆ ควรส่งเสริมการแข่งขันและแลกเปลี่ยนภายใต้ระบบตลาด เช่น กฎหมายต่อต้านการผูกขาด (antitrust law) กฎหมายสัญญา (contract law) ฯลฯ และแก้ไข จัดการ หรือกำกับปัญหาความล้มเหลวของระบบตลาด (market failure) เช่น ปัญหาผลกระทบภายนอก (externalities) ข้อมูลข่าวสารไม่สมบูรณ์ (imperfect information) ต้นทุนธุรกรรมสูงเกินไป (high transaction cost) ทั้งนี้ เพื่อทำให้ผลลัพธ์บั้นปลายของปฏิสัมพันธ์ในตลาดที่ล้มเหลวมีลักษณะเสมือน หรือใกล้เคียงผลลัพธ์ในกรณีตลาดแข่งขันสมบูรณ์

Tags : วิวาทะว่าด้วย ประสิทธิภาพและความยุติธรรม นิติเศรษฐศาสตร์ แนวคิด ประสิทธิภาพ หลักเศรษฐศาสตร์

view