สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ภาษีอากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (2)

จาก เดลินิวส์ออนไลน์

คอลัมน์ มุมภาษี
อ.สุเทพ พงษ์พิทักษ์


ในการศึกษาสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของประเทศไทยจากอดีตจวบจนปัจจุบัน มีได้หลายวิธี

ภาพ การจัดเก็บและการเสีย “ภาษีอากร” และรายละเอียดของประเภทภาษีอากรที่มีการจัดเก็บในประเทศไทยในแต่ละช่วงเวลา แล้ว ก็จะได้เห็นสภาพบ้านเมือง ความเป็นอยู่ ระบบเศรษฐกิจได้อย่างชัดเจนอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ
   
ในสมัยสุโขทัยมีการจัดเก็บ “จัง กอบ จำกอบ หรือจกอบ” หรือภาษีที่เก็บจากสัตว์และสิ่งของที่นำเข้ามาจำหน่าย โดยวิธีเก็บจังกอบในสมัยนั้นจะเก็บในอัตรา 10 ชัก 1 ซึ่งตามศิลาจารึกหลักที่ 1 แจ้งว่าในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้น ได้มีการยกเว้นให้แก่ประชาชน  
   
การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่เรียกว่า “ส่วยสาอากร” ได้มีการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท คือ
   
จังกอบ ภาษีที่เรียกเก็บจากการชักส่วนสินค้า ที่นำเข้ามาจำหน่าย
   
อากร หมายถึง ส่วนที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหาได้ในการประกอบการต่าง ๆ เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน ฯลฯ หรือการได้รับสิทธิจากรัฐบาลไปกระทำการ เช่น ต้มกลั่นสุรา เก็บของในป่า จับปลาในน้ำ ฯลฯ เช่น อากรค่านา อากรสวน อากรสุรา อากรค่าน้ำ เป็นต้น การเก็บอากรอาจจัดเก็บเป็นตัวเงินหรือเป็นสิ่งของ
   
ส่วย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงสันนิษฐานว่า คำว่า ส่วย หมายถึง
    - สิ่งของที่รัฐบาลเรียกร้องเอาจากเมืองที่อยู่ภายใต้ปกครอง หรืออยู่ในความคุ้มครองเป็นค่าตอบแทนการปกครองหรือคุ้มครอง ส่วยตามความหมายนี้จึงมีลักษณะเป็นเครื่องราชบรรณาการ
    - เงินช่วยราชการตามที่กำหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่มิได้รับราชการทหารเป็น รายบุคคล โดยผู้ที่ไม่มารับราชการเมื่อถึงเวรของตน จะต้องเสียส่วยเรียกว่า ส่วยแทนแรง เพื่อที่ราชการจะได้จ้างคนมาทำงานแทน เปลี่ยนชื่อเป็นเงินรัชชูปการในรัชกาลที่ 6
    - เงินที่ทางราชการกำหนดให้ราษฎรร่วมรับภาระในการกระทำบางอย่าง เช่น เกณฑ์ให้ช่วยสร้างป้อมปราการ เป็นต้น
    - ทรัพย์มรดกของผู้มรณภาพซึ่งต้องถูกริบเป็นของหลวง อันเนื่องจากเกินกำลังของทายาทที่จะเอาไว้ใช้สอย เป็นต้น
   
ฤชา คือค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บจากราษฎรซึ่งได้รับประโยชน์จากรัฐเป็นการเฉพาะตัว
   
การจัดเก็บ “ส่วยสาอากร” ทั้ง 4 ประเภท ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้ถูกกำหนดเป็นรูปแบบการจัดเก็บต่อเนื่องมาจนถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี และรัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 2 ตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์.

Tags : ภาษีอากร การพัฒนาเศรษฐกิจไทย

view