สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

Lean Accounting 3

เทคนิคที่ใช้กับลีน

นิพนธ์ กาญจนพิพัฒน์กุล
ฺB.A.(accounting),H.D.(Auditing)
M.S.(Accounting),CPA_Thailand




1. 5 ส และการควบคุมด้วยสายตา
    ป้าย ,สี , สัญญลักษณ์ , อะไรก็ได้ที่ทำให้เข้าใจง่าย ทำให้ง่ายต่อการสื่อสาร ต้องทำอย่างไรให้เห็น และเข้าใจง่าย

2. มีมาตรฐานการทำงาน มีระบบเอกสารที่เป็นมาตรฐาน ใช้สื่อกับพนักงานได้ง่ายขึ้น

3. Value Stream Mapping จะทำผังการไหลของกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ (รับวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ จนถึง ส่งสินค้าให้ลูกค้า) ต่างจาก ผังการไหลของงานเก่าๆ และ มีการระดมสมองทำ ผังการไหลของงานใหม่  มีตัวชี้วัด ในผังเท่าที่จำเป็นเฉพาะที่บ่งบอกถึงความสูญเปล่า จะดูระยะเวลารวมการรอของสินค้า ต่อ ระยะเวลาการผลิต เป็นหลัก (ยิ่งน้อยยิ่งดี)

4. TPM (Total Production Maintanance) เน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพของคนในการทำงานร่วมกับเครื่องจักรให้ได้สูงสุด (เน้นการบำรุงรักษามากกว่าเสีย และค่อยซ่อม) ผลคือ ความสามารถการผลิตดีขึ้น ต้นทุนต่ำลง ส่งของตรงเวลา ปลอดภัย กำลังใจดี (TPM ต้องมี KPI บางตัวไว้ด้วยเกี่ยวกับประสิทธิผลของเครื่องจักรโดยรวม)

5. ลดเวลาการเปลี่ยนรุ่นการผลิต โดย
    - สร้างมาตรฐานการทำงาน
    -แยกการปรับตั้ง ภายนอก/ภายใน เป็น ภายนอกให้ได้
    -ปรับการปรับตั้งภายในให้เป็นภายนอกให้ได้
    -หาวิธีลดการปรับภายใน
    -คิดวิธีลดเวลาการปรับตั้งภายนอก
    -ทดลองทำ
    -ดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
    -ทำเป็นมาตรฐานการทำงานไว้

6. ป้องกันความผิดพลาดในงาน
    การทำให้เกิกการป้องกัน คนและเครื่องจักรไม่ให้เกิดควาผิดพลาด เพื่อไม่ให้มีของเสีย เพื่อสินค้าที่ดี ลดความ ผิดพลาดในงาน เป็นการป้องกันตั้งแต่เริ่มแรก ไม่มีการข้ามขั้นตอน ไม่มีการไม่ทำตามวิธีการ ไม่ใช้เครื่องมือผิด ไม่มีการลืมประกอบชิ้นส่วน และ ความผิดพลาดจากการซ่อมแซม

7. ผลิตสินค้าในปริมาณน้อยๆ
    ทำให้เวลาลดลง เกิดการไหลของงาน งานระหว่างทำลดลง Lead Time ลดลง  ใช้พื้นที่ในการทำงานให้คุ้มค่า สนองความต้องการของลูกค้าให้เร็วขึ้น

8. เน้นการไหลของงาน
    ต้องทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้การผลิตเกิดความไม่ราบเรียบ การทำงานไม่ต่อเนื่อง ไม่มีการขัดจังหวะการผลิต โดยไม่จำเป็น ไม่มีการเดินเครื่องจักรเปล่าหรือไม่ทำงาน

9. ทฤษฎีข้อจำกัด
    คือการเกิดขบวนการคอขวดของงาน มีการรอรอบ จะต้องสร้างความสมดุลย์การผลิตให้ดี เพื่อไม่ให้เกิด คอขวดในขั้นตอนการผลิต

10. การจัดการผลิตแบบหน่วยเล็กๆ (Cell)
    เป็นการจัดการการผลิต โดยการเอาเครื่องจักรมาวางไว้ใกล้ๆกันตามลำดับการผลิต แต่จะเป็นหน่วยเล็กๆ เพื่อลดเวลาการขนย้ายและมีการทำงานเป็นทีม มีการควบคุมการผลิตง่าย การไหลของงานเร็ว กรณีที่สินค้า ไม่เหมาะสมอาจต้องมีการใช้วิธีอื่นเข้าช่วย ทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าเร็วขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง
Lean Accounting 1
Lean Accounting 2
Lean Accounting 3
Lean Accounting 4
Lean Accounting 5
Lean Accounting 6

Tags : Lean Accounting 3 บัญชี สำนักงานบัญชี ทุจริต ทำบัญชี ที่ปรึกษา สอบบัญชี นิพนธ์ กาญจนพิพัฒน์กุล นิพนธ์

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

* *

 

*

view