ประสาร” ชี้กู้ 2.2 ล้านล้าน “ภาวะการคลังซ่อนเร้น” เล็งยื่นตีความขัด ม.169
จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์
ส.ว.ประสาร” ติงรัฐบาลออกร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาททำโครงสร้างพื้นฐาน จะทำให้ไทยแบกดอกเบี้ยปีละ 1 แสนล้าน เหน็บ “กิตติรัตน์” ไวต์ลายอีกรอบ ชี้การออก พ.ร.บ.เงินกู้ เป็นภาระการคลังซ่อนเร้น เสี่ยงขัด รธน.มาตรา 169 เจอยื่นศาล รธน.ตีความแน่
ที่รัฐสภา มีการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ก่อนเข้าสู่การพิจารณาระเบียบวาระ ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกหารือ โดยนายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า วันนี้กระทรวงการคลังจะเสนอร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ฯ) ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งเป็นเงินที่นอกเหนือจากงบประมาณแผ่นดิน หากรวมกับหนี้เดิมซึ่งในปี 2563 ประเทศไทยจะมีภาระแบกรับดอกเบี้ยปีละ 1 แสนล้านบาท ตนก็คิดว่าจะใช้หนี้อีกกี่ปีกี่ชาติถึงจะหมด
นายประสารกล่าวว่า การที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังระบุว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีมาตรฐานไม่น้อยไปกว่า พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดิน น่าสงสัยว่าเรื่องนี้เป็นไวต์ลายอีกหรือไม่ เพราะหากออกเป็น พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดินจะไม่ใช่การพิจารณาตรวจสอบของสภาฯ เท่านั้น แต่จะเกิดสภาพบังคับให้รัฐบาลต้องรักษาวินัยการคลัง และจะต้องพิจารณาภาพรวมของหนี้ที่เกิดกับประเทศ การขาดดุลงบประมาณ ตลอดจนสัดส่วนเงินกู้กับงบประมาณต่อรายได้ประชาชาติ
ส.ว.สรรหากล่าวว่า วิธีการออกร่าง พ.ร.บ.กู้เงินของรัฐบาลครั้งนี้ ภาษาทางการคลังเรียกว่า ภาระการคลังซ่อนเร้น และยังสุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญตาม มาตรา 169 วรรค 1 ที่ระบุว่าการจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่า ด้วยงบประมาณรายจ่าย เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วน ซึ่งรัฐบาลต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อนและต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ อีกทั้งให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้ เพื่อชดใช้รายจ่าย ตนจึงอยากทราบว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นเร่งด่วนเพียงใดถึงต้องใช้ เงินถึง 3 แสนล้านบาทต่อปี เป็นเวลาถึง 7 ปี ทั้งนี้ รัฐบาลเตรียมตัวได้เลยเพราะเรื่องดังกล่าวจะถูกร้องศาลรัฐธรรมนูญอย่างแน่ นอน
ประสาร"ชี้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2.2 ล้านล้าน ขัด รธน.ม.169 เชื่อถูกร้องแน่
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ก่อนเข้าสู่การพิจารณาระเบียบวาระ ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกหารือ โดยนายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า วันนี้กระทรวงการคลังจะเสนอร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (ร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ฯ) ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งเป็นเงินที่นอกเหนือจากงบประมาณแผ่นดิน หากรวมกับหนี้เดิมซึ่งในปี 2563 ประเทศไทยจะมีภาระแบกรับดอกเบี้ยปีละ 1 แสนล้านบาท ตนก็คิดว่าจะใช้หนี้อีกกี่ปีกี่ชาติถึงจะหมด การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังระบุว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวมีมาตรฐานไม่น้อยไปกว่า พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดิน น่าสงสัยไว้เรื่องนี้เป็นไวท์ลายอีกหรือไม่ เพราะหากออกเป็น พ.ร.บ.งบประมาณแผ่นดิน จะไม่ใช่การพิจารณาตรวจสอบของสภาเท่านั้น แต่จะเกิดสภาพบังคับให้รัฐบาลต้องรักษาวินัยการคลังและจะต้องพิจารณาภาพรวม ของหนี้ที่เกิดกับประเทศ การขาดดุลงบประมาณ ตลอดจนสัดส่วนเงินกู้กับงบประมาณต่อรายได้ประชาชาติ วิธีการเช่นนี้ภาษาทางการคลัง เรียกว่า ภาระการคลังซ่อนเร้นและยังสุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญตามมาตรา 169 วรรค 1 ที่ระบุว่าการจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้ก็เฉพาะได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วน ซึ่งรัฐบาลต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อนและต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ อีกทั้งให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้ เพื่อชดใช้รายจ่าย ตนจึงอยากทราบว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจำเป็นเร่งด่วนเพียงใด ถึงต้องใช้เงินถึง 3 แสนล้านบาทต่อปี เป็นเวลาถึง 7 ปี ทั้งนี้ รัฐบาลเตรียมตัวได้เลย เพราะเรื่องดังกล่าวถึงจะถูกร้องศาลรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน
ที่มามติชนออนไลน์
สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน