สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิด 11แผนระดับ 3 ล่าสุด "แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ20ปี /แผน PDP 20ปี" รับข้อสังเกตบอร์ดสภาพัฒน์ ปรับปรุงเพิ่ม!

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

เปิด 11 แผนระดับ 3 ล่าสุด รับข้อสังเกต "บอร์ดสภาพัฒน์" เฉพาะ"แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ 20 ปี/ แผนการให้ความรู้พื้นฐานทางการเงิน 5 ปี/แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 20ปี (PDP)" ปรับปรุงเพิ่ม เผยถึงสภาพัฒน์แล้ว 69 แผน 24 กระทรวง/หน่วยงาน ผ่านกระบวนการพิจารณาและรายงานให้ ครม.รับทราบแล้ว 33 แผน เฉพาะแผน PDP ให้ตั้งข้อสังเกต เน้นกระจายเชี้อเพลิง สร้างความเข้าใจกับประชาชน เร่งรัดพัฒนากฎระเบียบให้ทันการเปลี่ยนแปลงของตลาด

วันนี้ (11 ก.ค.) มีรายงานจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สภาพัฒน์ ได้รับแจ้งจากหน่วยงานที่ส่งแผนระดับที่ 3 มายังสำนักงานฯ ล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 รวมทั้งสิ้น จำนวน 69 แผน รวม 24 กระทรวง/หน่วยงาน โดยเป็นแผนระดับที่ 3 ซึ่งผ่านกระบวนการพิจารณาและรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบแล้ว จำนวน 33 แผน และเป็นแผนระดับที่ 3 ที่ผ่านการพิจารณาแล้ว และคณะรัฐมนตรี ล่าสุดเมื่อ 9 ก.ค. รับทราบแล้ว จำนวน 11 แผน ได้แก่

1. ร่างแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) คณะกรรมการสภาพัฒน์ มีมติว่าร่างแผนฯ เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และมีความเห็นให้หน่วยงานพิจารณาจัดทำร่างแผนฯ อาทิ ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกำหนดตัวชี้วัด และกลไกการขับเคลื่อน

2. แผนแม่บทความปลอดภัยทางถนน (พ.ศ. 2561-2564) (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย) สำนักงานฯ พิจารณาเห็นควรให้ความเห็นชอบแผนฯ และมีข้อสังเกตให้หน่วยงาน ประกอบการขับเคลื่อนแผนฯ อาทิ การกำหนดกลไกการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางท้องถนนร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและส่วนท้องถิ่น พิจารณากำหนดมอบหมายให้มีหน่วยงานหลักที่ชัดเจน พร้อมทั้งพิจารณากำหนดตัวชี้วัดร่วมไว้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ ด้วย 

3. แผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (กระทรวงคมนาคม) โดยสำนักงานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าแผนฯ มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 และแผนพัฒนาภาคใต้ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ การพัฒนาการท่องเที่ยวระดับโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดของโครงการฯ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นรายโครงการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป 

"มีความเห็นเพิ่มเติมต่อแผนแม่บทนี้ว่า ควรพิจารณาในประเด็นสังเกตที่สำคัญ อาทิ ควรกำหนดสัดส่วนและรูปแบบการเดินทางในพื้นที่ให้ชัดเจนเพื่อลดความซํ้าช้อนของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนาดใหญ่ รวมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ เชื่อมโยงเส้นทางขนส่งสินค้าและพลังงาน จากอันดามันสู่อ่าวไทย" 

นอกจากนี้ยัง ควรศึกษาความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของภาคใต้ และศักยภาพในการรองรับกำลังการผลิตที่เพื่มขึ้นในพื้นที่ ควรระบุให้เห็นถึงแนวทางที่ชัดเจนในการบริหารจัดการเรื่องกระแสเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) ที่ส่งผลให้ที่พักในรูปแบบการแบ่งปันห้องพักออนไลน์ที่เพื่มขี้น ควรบูรณาการร่วมกับการพัฒนาคลสเตอร์ท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้อง และควรพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานก่อนการพัฒนาท่าเรือ พัฒนาบุคลากร ให้ทันต่อตลาดเรือสำราญ พัฒนาฐานข้อมูลที่คอยติดตามทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและการจับจ่ายใช้สอย 

4. ร่างแผนการให้ความรู้พื้นฐานทางการเงิน (พ.ศ.2561-2564) (กระทรวงการคลัง) คณะกรรมการสภาพัฒน์ มีมติให้หน่วยงานรับข้อสังเกตและความเห็นไปพิจารณา ปรับปรุง และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไปในประเด็นดังนี้ 

(1) เรื่ององค์ประกอบของคณะกรรมการ ควรเพิ่มผู้แทนจากหน่วยงานภาคเอกชนมาร่วมเป็นคณะกรรมการให้ความรู้พื้นฐานทางการเงินด้วย (2) ควรมีการบูรณาการความร่วมมือร่วมกับสถาบัน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง อาทิ ครอบครัว โรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ สถาบัน/ชุมชนที่ให้ความรู้ทางการเงิน กองทุนบำเหน็จบำนาญช้าราชการ (3) ควรปรับปรุงรูปแบบการให้ความรู้ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและสร้างเสริมทักษะชีวิต ผ่านประสบการณ์โดยตรงที่มีการประยุกต์เนื้อหาทางด้านการเงินที่เหมาะสมกับคนแต่ละช่วงวัย 

(4) แผนงาน ควรกำหนดเป้าหมายที่เป็นภาพใหญ่ระดับยุทธศาสตร์ และทำการประเมินเพื่อทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเทียบกับเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด (5) ควรมีการกำหนดตัวชี้วัดเชิงพฤติกรรมที่จะใช้วัดผลทั้งก่อนและหลังการให้ความรู้ทางการเงิน เพื่อให้สามารถสะท้อนผลลัมฤทธิ์ของการดำเนินการได้อย่างแท้จริง 

5. ยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย (พ.ศ. 2558-2564) (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย (พ.ศ.2558-2562) เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2558 ต่อมา คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน ได้เห็นชอบ ให้ขยายระยะเวลาของแผนยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทยๆ เป็นปี ''พ.ศ. 2558-2564” 

6. ร่างนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) สำนักงานฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่าร่างนโยบายฯ มีความสำคัญในการกำหนดกรอบแนวทางการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ โดยมีข้อสังเกตเพิ่มเติม ดังนี้ (1) กำหนดรูปแบบกลไก การติดตามประเมินผลการดำเนินงานให้มีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง (2) จัดลำดับความสำคัญของ แผนงาน/ใครงการ 

7. ยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์ และ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในภาพรวมของประเทศในระยะยาว (5-10ปี) (กระทรวงสาธารณสุข) คณะอนุกรรมการ ด้านพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพทุนมนุษย์และการสร้างโอกาสความเสมอภาคทางสังคม มีมติเห็นว่ายุทธศาสตร์ดังกล่าว เป็นยุทธศาสตร์สำคัญสำหรับใช้เป็นกรอบทิศทางการบูรณาการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ของประเทศ ในภาพรวมให้มีความเป็นเอกภาพและมีการจัดสรรทรพยากรสาธารณสุขร่วมกันในแต่ละพื้นที่ 

และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ (1) ควรกำหนดเป้าหมายของยุทธศาสตร์ที่ให้ความสำคัญกับการให้บริการประชาชนเป็นอันดับแรก (2) ควรกำหนดจุดเน้นของการดำเนินการสร้างความเป็นเลิศในแต่ละด้านที่สำคัญ อาทิ ด้านศูนย์กลางบริการทางการแพทย์ ด้านการศึกษาวิจัย (3) ควรให้ความสำคัญกับการสร้างความเป็นเลิศด้านการศึกษาเป็นสำดับแรก (4) ควรมีการวิเคราะห์ถึงสมรรถนะหลักทางการแพทย์บนพื้นฐานข้อมูลทางสถิติ ทั้งในส่วนที่เป็นบริการที่มีความเชี่ยวชาญเดิม และส่วนที่จะพัฒนาเพื่อรองรับกับความต้องการบริการด้านสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทย 

(5) ควรมีการกำหนดแนวทางการวิจัยพัฒนาทางการแพทย์ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับบทบาทการดำเนินงานของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และให้ความสำคัญกับการวิจัยที่ช่วยเหลือผู้พิการ รวมถึงแนวทางการป้องกันก่อนการเกิดโรคสำคัญต่าง ๆ (6) ควรพิจารณาเพิ่มเติมแนวทางการพัฒนายา วัคซีน และ อุปกรณ์ทางการแพทย์ 

8. ร่างแผนพัฒนางานสวัสดิการสังคมไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2565) (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) คณะอนุกรรมการด้านพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพทุนมนุษย์และการสร้างโอกาสความเสมอภาคทางสังคม มีมติเห็นชอบในหลักการ และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้ (1) แผนพัฒนางานสวัสดิการสังคมไทยๆ ควรเป็นภาพใหญ่ของการจัดสวัสดิการสังคมในประเทศที่เชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (2) ควรมีการจัดข้อมูลการจัดสรรและการกระจายงบประมาณด้านสวัสดิการสังคมของประเทศในภาพรวมและภาพการกระจาย ในแต่ละกลุมคนและแต่ละพื้นที่ (3) แนวทางการพัฒนายังขาดมิติของการสร้างความเข้มแข็งให้สามารถพึงพาตนเองได้ (4) ควรเพิ่มเติมการวิเคราะห์บริบทที่ส่งผลต่อการจัดสวัสดิการสังคม 


นอกจากนี้ ในประเด็นเชิงยุทธศาสตร์ ควรเพิ่มเติม แนวทางการจัดสวัสดิการในเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัย ควรมีมาตรการจูงใจให้ภาคประชาสังคม ภาคประชารัฐ ภาคธุรกิจเอกชน เข้ามาร่วมสนับสนุนงบประมาณในการจัดสวัสดิการสังคม อีกทั้งควรทบทวนการยกระดับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ เป็นองค์กรอิสระที่มีกฎหมายรองรับ โดยควรสนับสนุนให้องคักรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีกลไกบริหารจัดการในระดับพื้นที่ สามารถดำเนินการแทนการจัดดั้งหน่วยงานใหม่ และควรปรับกรอบระยะเวลาของร่างแผนฯ จาก พ.ศ. 2560-2565 เป็น "พ.ศ.2561-2565" เพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 

9. แผนพัฒนาศักยภาพกำลังคนภาครัฐให้พร้อมเข้าสู่สังคมสูงอายุ (สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน) คณะอนุกรรมการด้านพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพทุนมนุษย์และการสร้างโอกาสความเสมอภาคทางสังคม มีมติเห็นชอบในหลักการ และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้ 

(1) ควรมุ่งเน้นการเพิ่มทักษะที่เป็นช่องว่างในการพัฒนาศักยภาพกำลังคนภาครัฐเพื่อรองรับสังคมสูงวัย (2) ควรให้ความสำคัญกับการออกแบบมาตรการที่เป็นการเพิ่มและเสริมทักษะใหม่ ควรพิจารณาปรับปรุงกฎระเบียบการจ้างงานผู้เกษียณอายุให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับงานแต่ละประเภท รวมถึงการจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่ระบุถึงทักษะ ความเชี่ยวขาญ ของแต่ละบุคคลอย่างเป็นระบบ (3) ควรกำหนดให้มีกลไกการใขช้ประโยชน์ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ อาทิ การจัดตั้งสถาบันเพื่อเป็นศูนย์กลางการนำความรู้และประสบการณ์ของผู้ที่กำลังจะเกษียณอายุและผู้ที่เกษียณอายุแล้วเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน 

นอกจากนี้ ควรพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างมาตรการภายใต้แผนและการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกับอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งบูรณาการการดำเนินงานกับ (ร่าง) มาตรการพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2566 และในส่วนของการขับเคลื่อนและการติดตามประเมินผล ควรกำหนดให้มาตรการภายใต้แผนเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัด การประเมินส่วนราชการ อาทิ ความสำเร็จของหน่วยงานภาครัฐในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย และ ควรกำหนดค่าเป้าหมายตัวชี้วัดในภาพรวมที่สะท้อนความสำเร็จของแผนในการบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด์ไวั อย่างมีประสิทธิผล 

10. ร่างแผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย (กระทรวงสาธารณสุข) ตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2562 ได้เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอและให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นและข้อสังเกดของสำนักงานฯ เพิ่มเติมดังนี้ (1) ควรพิจารณากำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนผลลัพธ์ของการยกระดับสุขภาพของประชาชน (2) การกำหนดกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการ ควรให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการที่เป็นการสรัางความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะหน่วยงานวิจัย/สถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพจากต่างประเทศ

11. แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน) คณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีมติ เห็นควรให้ความเห็นชอบแผนฯ โดยมีข้อสังเกตและความเห็นเพิ่มเติม อาทิ ประเด็นการกระจายเชี้อเพลิง การสร้างความเข้าใจกับประชาชน การเร่งรัดพัฒนากฎระเบียบให้ทันการเปลี่ยนแปลงของตลาด.

#สำนักงานบัญชี,#สำนักงานสอบบัญชี,#ทำบัญชี,#สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เปิด 11แผนระดับ 3 ล่าสุด "แผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ20ปี /แผน PDP 20ปี" รับข้อสังเกตบอร์ดสภาพัฒน์ ปรับปรุงเพิ่ม!

view