http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

บสย.ตั้งวงเงินค้ำ5หมื่นล้านช่วยเอสเอ็มอีหนี้เสีย

จากกรุงเทพธุรกิจ

บสย.ตั้งวงเงินค้ำ5หมื่นล้านช่วยเอสเอ็มอีหนี้เสีย
19 สิงหาคม 2563
 19

บสย.เตรียมคลอดโครงการPGS9วงเงิน 1.5 แสนล้านบาทในช่วงต.ค.นี้ เพื่อค้ำประกันสินเชื่อให้แก่เอสเอ็มอี โดยจะกันไว้ 5 หมื่นล้านบาท เพื่อค้ำสินเชื่อแก่เอสเอ็มอีที่ตกชั้นและกำลังจะตกชั้นจากมาตรการพักชำระหนี้ของรัฐบาล

นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)เปิดเผยว่า ขณะนี้ บสย.เตรียมโครงการค้ำประกันสินเชื่อตามนโยบายรัฐระยะที่ 9 (PGS9) วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท เพื่อค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี โดยวงเงินดังกล่าวจะทำให้สถาบันการเงินสามารถปล่อยสินเชื่อได้ประมาณ 1 แสนราย เป็นยอดสินเชื่อกว่า 1 แสนล้านบาท

เขากล่าวว่า บสย.ตั้งเป้าหมายว่า โครงการค้ำประกันเอสเอ็มอีไทยชนะดังกล่าว จะสามารถเริ่มดำเนินการได้ในช่วงเดือนต.ค.นี้ โดยบสย.จะกันวงเงินค้ำประกันส่วนหนึ่งหรือประมาณ 5 หมื่นล้านบาทไว้สำหรับช่วยเหลือลูกหนี้ที่ตกชั้นและกำลังจะตกชั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในโครงการพักชำระหนี้ของรัฐบาล ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาของมาตรการในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้น โครงการนี้ ก็จะมารับช่วงต่อ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว

ทั้งนี้ ขณะนี้ มียอดหนี้ในระบบสถาบันการเงินที่พักชำระเงินต้นอยู่ประมาณ 6.7 ล้านล้านบาท จาก 10 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้ราว 40% เป็นหนี้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเอสเอ็มอีที่อาจจะตกชั้นเป็นหนี้เสีย ขณะที่ ยอดหนี้เสียในปัจจุบันอยู่ที่ 5.98% หากบสย.ออกโครงการค้ำประกันเอสเอ็มอีไทยชนะ เชื่อว่า จะช่วยลดหนี้เสียลงเหลือ 5.6%

ปัจจุบัน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่อยู่ในระบบมีอยู่จำนวน 6 ล้านราย ในจำนวนมีอยู่ 3 ล้านรายที่ลงทะเบียนอยู่ในระบบ ดังนั้น จึงเหลืออีก 3 ล้านราย ที่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในระบบ ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้ ดังนั้น เอสเอ็มอีกลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่บสย.จะเข้าไปช่วยเหลือ

สำหรับ 7 เดือนแรกของปีนี้ บสย.ค้ำสินเชื่อให้เอสเอ็มอีไปแล้ว1.15 แสนล้านบาทสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 167% สวนทางกับเศรษฐกิจที่ถดถอย ส่วนจำนวนการอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ(LG)นั้น มีจำนวน 1.32 แสนฉบับ เพิ่มขึ้น 223% และช่วยลูกค้าใหม่ได้รับสินเชื่อจำนวน 9.8 หมื่นราย เพิ่มขึ้น 222% คาดว่า จนถึงสิ้นีนี้จะสามารถอนุมัติยอดค้ำประกันสินเชื่อได้มากกว่า 1.5 แสน ล้านบาท และช่วยผู้ประกอบการเข้าถึงสินเชื่อได้มากกว่า 1.2 แสนราย

นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างเดือนมี.ค.- 17 ส.ค.นี้ ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 บสย. ยังช่วยผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีค้ำประกันสินเชื่อได้จำนวน 1.17 แสนราย คิดเป็นวงเงินค้ำประกันสินเชื่อรวม 9.47หมื่นล้านบาท

สำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรีวานนี้ (18 ส.ค.) มีมติเห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและเสนอมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อแก้ไขปัญหาข้อติดขัดในการดำเนินโครงการเพื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีสภาพคล่อง สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ทั่วถึงและเพียงพอ 3 โครงการ

ได้แก่ 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS Soft Loan พลัส วงเงิน 5.7 หมื่นล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีคุณสมบัติตาม พ.ร.ก.ซอฟท์โลน แต่ยังไม่ได้รับสินเชื่อตามพ.ร.ก.ดังกล่าวเริ่มค้ำประกันและเก็บค่าธรรมเนียมในต้นปีที่ 3 นับจากวันที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับสินเชื่อ ค้ำประกันสูงสุดต่อราย 100 ล้านบาท

2.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS ระยะที่ 8 หรือ “บสย.SMEs ชีวิตใหม่” วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทั่วไป วงเงินไม่เกิน 20 ล้านต่อรายรวมทุกสถาบันการเงิน ในอัตราค่าธรรมเนียม1.75% ต่อปี ระยะเวลาค้ำประกัน 10 ปี

3.โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro Entrepreneur ระยะที่ 3 วงเงิน 15,000 ล้านบาท ซึ่งมติ ครม.อนุมัติขยายเวลาจากเดิมสิ้นสุดวันที่ 23 ก.ค.นี้ เป็น สิ้นสุดวันที่ 30 ธ.ค.นี้ ปัจจุบันมีวงเงินคงเหลือ 2.5 พันล้านบาท คิดอัตราค่าธรรมเนียม1-2% ต่อปี ระยะเวลาค้ำประกัน 10 ปี


#สำนักงานบัญชี,#สำนักงานสอบบัญชี,#ทำบัญชี,#สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : บสย.ตั้งวงเงินค้ำ5หมื่นล้านช่วยเอสเอ็มอีหนี้เสีย

view

*

view