สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิกฤตการณ์น้ำยังอีกยาวไกล มวลน้ำ 12,360 ล้าน ลบ.ม. รอถล่มกรุงเทพฯ

จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 

แม้ ว่าเขื่อนขนาดใหญ่จะลดการระบายน้ำลงไปเป็นลำดับ กล่าวคือ เขื่อนภูมิพล ปริมาตรน้ำ 13,397 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 31.38 ล้าน ลบ.ม. ปริมาตรน้ำระบาย 30 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ ปริมาตรน้ำ 9,492 ล้าน ลบ.ม. น้ำไหลลงอ่าง 16.35 ล้าน ลบ.ม. น้ำระบาย 18 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ปริมาตรน้ำ 1,016 ล้าน ลบ.ม. น้ำไหลลงอ่าง 5.79 ล้าน ลบ.ม. น้ำระบาย 3.49 ล้าน ลบ.ม. ส่งผลให้น้ำไหลผ่าน อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยาลดลงเหลือเพียง 3,090 ลบ.ม./วินาทีเท่านั้น

แต่ ปริมาตรน้ำทั้ง 3 เขื่อนก็ยังเกินอยู่ร้อยละ 100-100-129 ของความจุอ่างตามลำดับ นั่นหมายความว่า เขื่อนยังมีความจำเป็นต้องเร่งพร่องน้ำด้วยการบริหารจัดการไม่ให้พื้นที่ใต้ เขื่อนได้รับผลกระทบต่อไปอีกระยะหนึ่ง

สำหรับสถานการณ์น้ำเหนือ กรุงเทพมหานคร จากการประเมินแผนที่จากดาวเทียมล่าสุด ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554 กรมชลประทานได้คาดการณ์มวลน้ำที่เหลือแบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ระหว่างเหนือกรุงเทพมหานครขึ้นไปถึงบริเวณจังหวัดชัยนาท กับบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ขึ้นไปจนถึงจังหวัดพิษณุโลก-สุโขทัยพบว่า ยังเหลือมวลน้ำค้างทุ่งอยู่ประมาณ 12,360 ล้าน ลบ.ม.

มวลน้ำจำนวนนี้ สามารถแบ่งแนวการไหลลงสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นแนวตะวันตก 4,571 ล้าน ลบ.ม. (นนทบุรี-ปทุมธานี-พระนครศรีอยุธยา-อ่างทอง-สิงห์บุรี-ชัยนาท) กับแนวตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา 7,790 ล้าน ลบ.ม. (ทุ่งรังสิตฝั่งตะวันออก-อ.อุทัย/มหาราช-นครสวรรค์) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า แนวการไหลของน้ำทุ่งในฝั่งตะวันออกจะมากกว่าฝั่งตะวันตก แต่ไม่ได้หมายความว่า มวลน้ำกว่า 12,360 ล้าน ลบ.ม.จะไหลเข้าสู่กรุงเทพมหานครทั้งหมด เพราะตามธรรมชาติของพื้นที่แล้ว น้ำย่อมถูกขังหรือท่วมอยู่ในพื้นที่สูงต่ำพอสมควร และถูกระบายผ่านทุ่งเจ้าพระยาออกไปทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก ก่อนที่น้ำจะมาถึงกรุงเทพฯ

ส่วนแผนการระบายน้ำของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือ

ผู้ ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ยังคงยึดแผนเดิม กล่าวคือ น้ำในฝั่งตะวันออกจะถูกระบายผ่านคลองรังสิตประยูรศักดิ์ เพื่อผ่านไปยังพื้นที่รับน้ำในเขตมีนบุรี-คลองสามวา-หนองจอก และลาดกระบัง เข้าสู่คลองติดชายทะเล-แม่น้ำนครนายก-แม่น้ำบางปะกง แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ น้ำระบายออกสู่คลองชายทะเลน้อยมาก ทำให้ต้องมีการเปิดทางระบายน้ำบริเวณคลองหกวา แต่ขาดการบริหารจัดการน้ำที่ดี ทำให้เกิดข้อพิพาทกับประชาชนที่อยู่ตอนเหนือของคลองรังสิตประยูรศักดิ์เรียก ร้องให้มีการเปิดบานประตูระบายน้ำมากขึ้น จนกลายเป็นอันตรายและเสี่ยงต่อการที่นิคมอุตสาหกรรมบางชัน กับนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง จะถูกน้ำท่วมจากปริมาณน้ำที่ถูกระบายออกมาจนล้นเกิน ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ต่อไป

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากแผนที่ดาวเทียมล่าสุดพบว่า ปริมาณน้ำจำนวนมากได้ไหลเข้าจนเต็มพื้นที่ระหว่างคลองรังสิตประยูรศักดิ์และ คลองหกวาสายล่างไปเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ยังมีน้ำที่ล้นจากแนวคลองหกวาสายล่าง บวกกับน้ำที่มาจากหลักหกจุดตัดระหว่างถนนพหลโยธินกับคลองรังสิตได้ไหลลงมา สมทบกัน ส่งผลให้พื้นที่กรุงเทพฯส่วนเหนือไล่มาตั้งแต่เขตดอนเมือง-หลักสี่-บางเขน- สายไหม/รามอินทรา ไปจนถึงมีนบุรี-คันนายาว ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นวงกว้าง

และน้ำจำนวนนี้ได้ไหลตามแนวถนน วิภาวดีรังสิต เพื่อมาลงคลองเปรมประชากร กับคลองบางบัว/ลาดพร้าว ทำให้เกิดน้ำล้นตามท่อระบายน้ำมาจนถึงสี่แยกรัชโยธิน มุ่งไปทางห้าแยกลาดพร้าว กับตามแนวถนนประชาชื่นจนถึงสี่แยกประชานุกูล และมีแนวโน้มจะขยายพื้นที่น้ำท่วมเข้าสู่กรุงเทพฯชั้นใน

มากยิ่งขึ้น

วิธี การแก้ไขปัญหาดูเหมือนว่า จะเหลืออยู่วิธีเดียวคือ การนำถุงยักษ์บรรจุหินคลุก/ทรายหนัก 2.3 ตัน จำนวน 6,000 ใบ เข้าปิดขวางทางเดินของน้ำบริเวณหลักหกที่ยาวกว่า 4.5 กิโลเมตร โดยเชื่อว่าจะสามารถลดปริมาณน้ำจากตอนเหนือที่ไหลผ่านเข้ามาในถนนวิภาวดีรัง สิตได้ แต่การปฏิบัติการดังกล่าวยังต้องใช้เวลาไปจนถึงปลายสัปดาห์นี้ เพื่อรอเห็นผลในสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายนว่า ระดับน้ำที่ท่วมกรุงเทพฯตอนเหนือจะลดลงหรือไม่

ด้านการระบายน้ำใน พื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพฯ ดูจะย่ำแย่กว่าฝั่งตะวันออก ทั้ง ๆ ที่มีมวลน้ำไหลผ่านน้อยกว่ากันมาก แต่เนื่องจากข้อจำกัดของภูมิประเทศที่มีสันตรงกลางทำให้ปริมาตรน้ำไหลลงสู่ แม่น้ำท่าจีนได้น้อยมาก น้ำจึงไหลย้อนกลับมาในพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบกับน้ำที่ถูกระบายผ่านลำน้ำเจ้าพระยาตามปกติ ส่งผลให้ฝั่งตะวันตกถูกน้ำท่วมเป็นวงกว้าง และมีแนวโน้มว่าอาจจะท่วมทุกเขตในพื้นที่ฝั่งธนบุรี ในระยะเวลาที่ยาวนานกว่าน้ำที่ท่วมในพื้นที่ฝั่งตะวันออก

สุดท้ายมี ความหวังกันไว้ว่า น้ำส่วนใหญ่ที่ท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพมหานครน่าจะถูกระบายอย่างจริงจังใน ช่วงหลังวันที่ 11 พฤศจิกายน โดยสถานการณ์น้ำฝั่งตะวันออกจะเข้าสู่ภาวะปกติในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ส่วนสถานการณ์น้ำฝั่งตะวันตกมีความเป็นไปได้ว่า อาจจะต้องรอไปจนถึงกลางเดือนธันวาคม

บางชัน-ลาดกระบังลุ้นระทึก

ใน พื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร มีนิคมอุตสาหกรรมถึง 3 แห่งที่เสี่ยงต่อการถูกน้ำท่วมเหมือนกับ 7 นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-ปทุมธานี โดยนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ 1) นิคม

อุตสาหกรรมบางชัน พื้นที่ 677 ไร่ มีโรงงาน 91 โรงงาน เงินลงทุน 19,848 ล้านบาท จำนวนคนงาน 13,844 คน การป้องกันนิคมได้มีการสร้างคันกั้นกระสอบทรายสูง 1.20 เมตรจากระดับประตูน้ำ (ประตูน้ำสูง 0.10 เมตร) ระดับน้ำภายนอกต่ำกว่าพื้นดิน 0.27 เมตร ระดับน้ำปัจจุบันต่ำกว่าแนวกระสอบทรายประมาณ 1.57 เมตร

2) นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง พื้นที่ 2,559 ไร่ มีโรงงานตั้งอยู่ 225 โรงงาน เงินลงทุนประมาณ 85,000 ล้านบาท จำนวนคนงาน 45,000 คน การป้องกันมีแนวคันดินเดิมสูง 1.60 เมตร เสริมขึ้นเป็น 2.60 เมตร มีการวางแนวท่อซีเมนต์เสริมตรงพื้นที่ที่เป็นจุดอ่อน พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำ แต่มีข้อน่าสังเกตว่า นิคมแห่งนี้มีลำแตงโมผ่ากลาง กลายเป็นจุดอ่อนที่สำคัญต่อการควบคุมน้ำ ปัจจุบันระดับน้ำภายนอกสูง 0.94 เมตร ซึ่งต่ำกว่าคันดินอยู่ 1.66 เมตร

และ 3) นิคมอุตสาหกรรมอัญธานี พื้นที่ 172 ไร่ มีโรงงานตั้งอยู่ 86 โรงงาน เงินลงทุนรวมประมาณ 10,744 ล้านบาท จ้างงาน 8,561 คน การป้องกันนิคมมีการสร้างระดับคันดินกั้นสูง 1.5 เมตร เพิ่มวีว่าบอร์ด 0.60 เมตร ระดับน้ำภายนอกคลองต่ำกว่าระดับพื้นดิน 0.42 เมตร ซึ่งต่ำกว่าแนวกั้น 2.02 เมตร

นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 3 แห่งนี้จะต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับกับน้ำที่จะไหลมาทางตอนเหนือ เนื่องจากพื้นที่นิคมถูกเลือกให้เป็นพื้นที่รับน้ำฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ มหานคร

 


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

 

Tags : วิกฤตการณ์น้ำ ยังอีกยาวไกล มวลน้ำ 12 360 ล้าน ลบ.ม. รอถล่มกรุงเทพฯ

view