สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พิรุธจัดซื้อจัดจ้าง ปภ. แกะรอย2บริษัทรับเหมา วันที่ ถุงยังชีพ ส่งกลิ่น !?

พิรุธจัดซื้อจัดจ้าง"ปภ." แกะรอย2บริษัทรับเหมา วันที่"ถุงยังชีพ"ส่งกลิ่น !?

จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


ตารางที่ 1

หมายเหตุ - ภาย หลังพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ออกมาตั้งข้อสังเกตเรื่องความไม่ชอบมาพากลในการจัดซื้อถุงยังชีพ สิ่งของอุปโภค บริโภค และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ที่อนุมัติโอนเงินบริจาคจำนวน 158 ล้านบาท จากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นผู้ทำการจัดซื้อสินค้าหลายรายการ เฉพาะในรายการถุงยังชีพ จำนวน 1 แสนถุง ราคาถุงละ 800 บาท วงเงิน 80 ล้านบาท มีการจัดซื้อสินค้าหลายรายการเพื่อบรรจุในถุงยังชีพ ปรากฏว่ามีราคาแพงกว่าราคาท้องตลาด และมีบริษัทเพียง 2 รายรับงานคือ ร้านเอื้อธนพัฒน์ รับจัดหา 4 หมื่นถุง วงเงิน 32 ล้านบาท และ หจก.พูนเจริญพาณิชย์ รับจัดการ 6 หมื่นถุง วงเงิน 48 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม พบข้อมูลว่าทั้ง 2 บริษัทประสบปัญหาสภาพคล่อง และมีภาวะขาดทุนสะสมหลายปีติดต่อกัน

ล่าสุดผู้สื่อข่าว "มติชน" ได้ตามแกะรอยที่มาในการเสนอเรื่องจัดซื้อของ ปภ. ก่อนที่บริษัทเอกชนทั้ง 2 แห่ง จะได้งานนี้ไป พบความผิดปกติในขั้นตอนจัดทำใบเสนอราคาและใบเสร็จ นอกจากนี้ ยังพบผู้ถือหุ้นในบริษัทรายหนึ่งมีนามสกุลเดียวกับอดีตผู้บริหารพรรคเพื่อ ไทย (พท.) ด้วย


จากการตรวจสอบเอกสารขออนุมัติจัดซื้อสิ่งของ อุปโภค บริโภค และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จำนวน 8 รายการ ตามบันทึกข้อความของกองคลัง กลุ่มงานพัสดุและการจัดซื้อ เลขหนังสือที่ มท.0603 (พจ.) 6014 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2554 มีความขัดแย้งกับคำพูดของนายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ รองอธิบดี ปภ. ที่ระบุถึงวงเงินในการจัดซื้อถุงยังชีพว่า "ไม่เกิน 80 ล้านบาทแน่นอน" เนื่องจากในบันทึกดังกล่าวได้อ้างถึงบันทึกด่วนที่สุดที่ มท. 06107/6461 ลงวันที่ 17 ตุลาคม 2554 สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย แจ้งให้กองคลังดำเนินการจัดหาสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 9 รายการ (ตัดข้อเสนอให้จัดซื้อสุขามือถือพลาสติกออกไป 1 รายการ) โดยมีกำหนดระยะเวลาในการส่งมอบภายใน 7 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับใบสั่งซื้อ ประกอบด้วย

(ดูตารางที่ 1)

ต่อ มากองคลังได้ประสานกับผู้ที่มีอาชีพขายสิ่งของให้มาเสนอราคา จำนวน 9 รายการข้างต้น แต่ปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาจำนวน 8 รายการ ซึ่งในส่วนของถุงยังชีพมีผู้เสนอราคาเข้ามา 2 รายคือ


ตารางที่ 2



(ดูตารางที่ 2)

เป็น ที่น่าสังเกตว่าการอนุมัติจัดซื้อ ตั้งแต่เอกชนเสนอราคา ส่วนราชการออกใบสั่งซื้อ ล้วนดำเนินการเสร็จสิ้นในวันที่ 19 ตุลาคม 2554 ทั้งหมด ทั้งนี้ ในใบเสนอราคาของร้านเอื้อธนพัฒน์ พบข้อสังเกตคือ ใบเสนอราคาเลขที่ 032/54 รายการข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ และสินค้าอุปโภคอื่น ลงที่อยู่เลขที่ 78 ม. 4 ถ.บางกรวย-ไทรน้อย อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี แต่เมื่อตรวจสอบข้อมูลทะเบียนการค้าจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่าที่อยู่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของบริษัท โรงสีเอกไรซ์ จำกัด ซึ่งดำเนินกิจการให้เช่าโกดังสินค้า ขณะที่ในใบเสร็จรับเงินของร้านเอื้อธนพัฒน์ที่ออกให้ ปภ. หลังรับเงิน เลขที่ A 026/54 กลับลงที่อยู่ 9/12 ม.5 ถ.ราชพฤกษ์ ต.บางรักน้อย อ.เมือง จ.นนทบุรี ซึ่งไม่ตรงกัน

นอกจากนี้ ยังพบว่าในใบเสนอราคาของร้านเอื้อธนพัฒน์ ได้เสนอราคารายการข้าวสารชนิด 100 เปอร์เซ็นต์ ขนาดบรรจุ 5 กิโลกรัม ราคาถุงละ 192 บาท ในใบเสร็จรับเงินกลับระบุเป็นรายการข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ แต่เก็บเงินในราคาเท่ากัน

ส่วน หจก.พูนเจริญพาณิชย์ นอกจากจะได้งานถุงยังชีพไปแล้ว ยังได้ขายเรือไฟเบอร์กลาสกับ ปภ.อีก นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ ปภ.ได้จัดซื้อจากเอกชนหลายราย อาทิ เต็นท์นอนหลายขนาด สุขาเคลื่อนที่ สุขามือถือกระดาษ รวมถึงเรือไฟเบอร์กลาส

ใน ส่วนของการจัดซื้อสุขามือถือกระดาษ 3 หมื่นชุด ราคาชุดละ 245 บาท วงเงิน 7,350,000 บาทนั้น จัดซื้อจากบริษัท เติมคอร์ปอเรชั่น (2008) จำกัด ซึ่งพบข้อมูลทะเบียนการค้า ระบุมีที่ตั้งบริษัทที่เดียวกับ หจก.พูนเจริญพาณิย์ ที่ขายถุงยังชีพและเรือไฟเบอร์กลาสคือ เลขที่ 11/11 ม.9 ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กทม. หมายเลขโทรศัพท์ 0-2457-7467

เมื่อผู้สื่อข่าวลองโทรศัพท์ไปยังหมายเลขดังกล่าว ปรากฏว่าไม่มีใครรับสาย ขณะที่เมื่อโทรศัพท์ไปที่หมายเลข 0-2889-3628 ซึ่งเป็นหมายเลขโทรศัพท์ที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของ หจก.พูนเจริญฯ (www.pooncharoen.com) ปรากฏว่ามีเสียงเครื่องตอบรับอัตโนมัติระบุว่า "สวัสดีค่ะ ห้างหุ้นส่วนจำกัดพูนเจริญพาณิชย์ กด 1 บริษัทเติมคอร์ปอเรชั่น กด 2 ส่งแฟกซ์ กด 3 ติดต่อโอเปอเรเตอร์ กด 0 ค่ะ" แต่ก็ไม่มีใครรับสายเช่นกัน

สำหรับ หจก.พูนเจริญฯ จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยระบุว่าประกอบกิจการให้บริการจำหน่ายพลาสติก-ค้าปลีก ขณะที่บริษัทเติมฯ ระบุว่าประกอบกิจการบดย่อยเศษพลาสติก ซึ่งทั้ง 2 บริษัทปรากฏชื่อกรรมการผู้จัดการเป็นคนเดียวกันคือ นายบุญเติม โนนจันทร์

เมื่อ ตรวจสอบงบการเงินของบริษัทเอกชนที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ตั้งข้อสังเกตว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับทุจริตการจัดซื้อถุงยังชีพ 5 ปีหลังสุด พบสิ่งที่น่าสนใจ ดังนี้

หจก.เอื้อธนพัฒน์ (AUEA THANAPHAT LTD.,PART.) ปี 2549 มีรายได้ 337,630 บาท รายจ่าย (จากต้นทุนขายและ/หรือบริการ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน) 600,903 บาท รวมขาดทุน 263,273 บาท

ปี 2550 มีรายได้ 407,342 บาท รายจ่าย 686,237 บาท รวมขาดทุน 278,895 บาท

ปี 2551 มีรายได้ 511,226 บาท รายจ่าย 779,329 บาท รวมขาดทุน 268,103 บาท

ปี 2552 มีรายได้ 369,317 บาท รายจ่าย 626,864 บาท รวมขาดทุน 257,547 บาท

ปี 2553 มีรายได้ 313,137 บาท รายจ่าย 587,333 บาท รวมขาดทุน 274,196 บาท

จะ เห็นได้ว่า หจก.เอื้อธนพัฒน์ประกอบธุรกิจขาดทุนมาตลอด 5 ปีหลัง และเงินทุนหมุนเวียนในแต่ละปีเพียง 1 ล้านบาทเศษเท่านั้น แต่กลับสามารถจัดหาถุงยังชีพให้กับ ปภ.จำนวน 4 หมื่นถุง มูลค่า 32 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 7 วันตามใบสั่งซื้อของ ปภ.ได้

ขณะที่ หจก.พูนเจริญพาณิชย์ (POON CHAROEN PANICH LIMITED PARTNERSHIP) ปี 2549 มีรายได้ 10,821,450 บาท รายจ่าย 10,019,914 บาท รามกำไร 801,536 บาท

ปี 2550 มีรายได้ 29,098,950 บาท รายจ่าย 30,970,261 บาท รวมขาดทุน 1,874,311 บาท

ปี 2551 มีรายได้ 3,032,366 บาท รายจ่าย 4,020,444 บาท รวมขาดทุน 988,078 บาท

ปี 2552 มีรายได้ 85,709,520 บาท รายจ่าย 82,060,446 บาท รวมกำไร 3,649,074 บาท

ปี 2553 มีรายได้ 100,460,681 บาท รายจ่าย 102,902,198 บาท รวมขาดทุน 2,441,517 บาท

หาก ดูรายรับและรายจ่าย รวมถึงเงินทุนหมุนเวียนของ หจก.พูนเจริญพาณิชย์ พบว่าไม่น่ามีปัญหาในการจัดหาถุงยังชีพให้กับ ปภ.จำนวน 6 หมื่นถุง มูลค่า 48 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 7 วัน แต่สิ่งที่น่าสนใจกลับเป็นรายชื่อผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคือ น.ส.พุฒมาลย์ ศรีสันต์ เพราะมีนามสกุลเดียวกับนายสามชาย ศรีสันต์ อดีตรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทยชุดแรก (20 ก.ย.2550-20 ก.ย.2551)

อย่าง ไรก็ตาม การจัดซื้อถุงยังชีพ สิ่งของอุปโภค บริโภค และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทั้ง 8 รายการได้ดำเนินการเรียบร้อย ภายใต้งบประมาณ 135,877,500 บาท โดยผ่านการตรวจรับพัสดุจากคณะกรรมการ 3 คน มีนายภูมิชาย อินทรวิเชียร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นประธาน มีนายปิยะ วงศ์ลือชา ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองคลัง เป็นผู้เสนอเรื่องต่ออธิบดี ปภ. ก่อนที่นายฉัตรป้อง ฉัตรภูติ รองอธิบดี ปภ. ในฐานะรักษาราชการแทนอธิบดี ปภ. จะเป็นผู้ลงนามอนุมัติในที่สุด

ฉัตรป้อง ฉัตรภูติ

รองอธิบดี ปภ.รักษาการอธิบดี ปภ.

ผู้ลงนามในหนังสือจัดซื้อจัดจ้างถุงยังชีพทุกรายการ

การ จัดซื้อถุงยังชีพของ ปภ.ได้งบประมาณจัดซื้อจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรีจริง แต่ผมจำตัวเลขไม่ได้ว่าเท่าไร แต่ไม่เกิน 80 ล้านบาท แน่นอน และไม่ใช่ 146 ล้านบาท ตามที่ ส.ส.ฝ่ายค้านอภิปราย ซึ่งได้จัดซื้อสิ่งของใส่ในถุงยังชีพ โดยจัดซื้อกับบริษัทเดียวกันกับสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ในสถานการณ์อุทกภัยเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่ประชาชนต้องการความช่วยเหลือ ผมในฐานะผู้อนุมัติจัดซื้อของ ปภ. ยืนยันว่ามีบริษัทไม่กี่บริษัทที่มีความสามารถในการจัดสินค้าได้ในปริมาณ มากๆ ซึ่งเท่าที่ผมเคยซื้ออยู่ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ก็มีไม่เกิน 2 บริษัท แต่ไม่ขอเปิดเผยว่าเป็นบริษัทใด

ส่วนกรณีนายวิลาศ จันทรพิทักษ์ ส.ส.กทม. ปชป. อภิปรายในสภา โดยระบุว่า "ไอ้เบ้" ในกระทรวงมหาดไทย เป็นคนเดินเรื่องทุกขั้นตอน ไอ้เบ้ ไหน ผมไม่รู้จัก แต่ผมเป็นผู้เซ็นเอกสารอนุมัติจัดซื้อ ซึ่งหลังจากนี้ ปภ.จะไม่มีการจัดซื้อเพิ่มเติมแล้ว

หน้า 2,มติชนรายวัน ฉบับวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน  2554


“ยงยุทธ” โยนดีเอสไอสอบทุจริตถุงยังชีพ

 

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

“ยงยุทธ” โยนดีเอสไอสอบทุจริตถุงยังชีพ เผย “ปู” สั่งโอนเงิน 50 ล้านให้ กทม. พร้อมจี้ผู้ว่าฯ สั่ง ผอ.เขตสำรวจยอด ปชช.อุทกภัยน้ำท่วมเริ่มจ่ายได้สัปดาห์หน้า ลั่นไม่ยอมให้รื้อถุงบิ๊กแบ็กเพิ่ม แต่เยียวยาพิเศษ ปชช.เหนือคันกั้นน้ำ
       
       นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีการกล่าวหาทุจริตถุงยังชีพว่า วันนี้ (14 พ.ย.) ปลัดกระทรวงมหาดไทยจะได้นำข้อร้องเรียนไปยื่นให้กับนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อดำเนินการตรวจสอบอย่างตรงไปตรงมา และเป็นที่ยอมรับไม่เกิดข้อกังขา เนื่องจากมีการตรวจสอบโดยหน่วยงานกลาง และหากพบผู้กระทำความผิดก็จะดำเนินการลงโทษ และส่งเรื่องไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น ป.ป.ท. เป็นต้น
       
       นายยงยุทธกล่าวว่า ในส่วนสถานะภาพการปกครองของกรุงเทพมหานคร ซึ่งแตกต่างกับจังหวัดในภูมิภาคอื่นๆ เป็นการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ ดังนั้น ปัญหาเรื่องของเงิน 50 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินงบประมาณประจำจังหวัดที่ใช้จ่ายในกรณีภาวะฉุกเฉินและสามารถขยาย วงเงินต่อไปได้ นายกรัฐมนตรีจึงให้ตนโอนเงินในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ซึ่งเป็นเงินงวดแรก 50 ล้านบาท และหากมีความจำเป็นขอขยายต่อได้อีกเหมือนจังหวัดต่างๆ
       
       นอกจากนี้ ขอให้ กทม.เร่งทำการสำรวจความเสียหายของพี่น้องประชาชนในเขตต่างๆ ของ กทม.ที่ประสบปัญหาอุทกภัย ทั้งในเรื่องปัญหาของเงิน 5,000 บาท และที่พักอาศัยที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงกรณีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากปัญหาอุทกภัย และเนื่องจากสภาพภูมิประเทศของ กทม.ความแตกต่างชุมชนมีความหนาแน่น มีอาคารสูงเป็นจำนวนมาก จึงเป็นปัญหาในเรื่องการช่วยเหลือ ระหว่างบ้านและอาคารสูง จะมีการช่วยเหลือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งจากปัญหาตรงนี้การพิจารณาช่วยเหลือ ก็อาจจะมีความแตกต่างกับในส่วนภูมิภาค ซึ่งตรงนี้ไม่ใช้ความแบ่งแยก แต่สภาพการณ์แตกต่างกัน คณะกรรมการเยียวยาก็จะมีการพิจารณา รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากทาง กทม.ว่าจะมีข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างไร ที่อยากจะเร่งให้ กทม.สำรวจ ซึ่งเบื้องต้นสำรวจพบมีประชาชนเดือดร้อนกว่าแสนราย และงบประมาณที่รัฐบาลช่วยเหลือไปรอบแรกจำนวนเงิน 3 พันกว่าล้านบาท โดยงวดแรกจะสามารถจ่ายได้ในสัปดาห์หน้า
       
       นายยงยุทธกล่าวว่า ส่วนกรณีที่มีชาวบ้านอยู่เหนือคันกั้นน้ำถุงบิ๊กแบ็กบริเวณตรงหน้า สน.ดอนเมือง ได้รับความเดือดร้อนจากปริมาณน้ำที่สูง และได้เข้ารื้อคันบิ๊กแบ็กจนทำให้น้ำเข้า กทม.มากขึ้น นายยงยุทธกล่าวว่า ก็น่าเห็นใจคนที่อยู่เหนือคันบิ๊กแบ็ก โดย ศปภ.จะเข้าไปดูแล จะให้มีการเยียวยา ซึ่งชาวบ้านบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ทำการปลูกหญ้าไว้ขาย ซึ่งตรงนี้รัฐบาลจะเข้าไปรับซื้อ และกทม.ต้องเร่งสำรวจพื้นที่ความเสียหาย และเสนอ ศปภ.ว่าจะต้องใช้งบประมาณ ซึ่งทาง ศปภ.ก็พร้อมจะจ่ายให้ จึงขอเรียนไปยังผู้ว่าฯ กทม.ให้สั่งการไปยังผู้อำนวยการทุกเขต ให้รีบสำรวจความเสียหาย ทางกระทรวงมหาดไทยเองก็ไม่ได้รู้สึกอึดอัดทำงานร่วมกับ กทม.ก็เชื่อว่าต่างคนก็ต่างยุ่งกับการทำงาน แต่ทั้งนี้เราจะลืมคน กทม.ก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะยุ่งสักแค่ไหน เพราะคน กทม.ก็ถือเป็นคนไทยแม้อยู่ภายใต้การปกครองในรูปแบบพิเศษ แต่เป็นคนที่รัฐบาลจะต้องดูแล
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีการรื้อคันบิ๊กแบ็กเป็นการตอบโต้ทางการเมืองหรือไม่ นายยงยุทธกล่าวว่า ไม่ใช่ แต่เมื่อคืนนายกฯ ได้โทร.หาตนเวลา 22.00 น.เศษ ตนก็รีบโทร.หาผู้ว่าฯ กทม.ว่า ขณะนี้มีตัวแทน ส.ส.ในเขตพื้นที่ดอนเมืองไปช่วยเจรจา ก็เลยสั่งให้ ผอ.เขต หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไปร่วมกับการเจรจาด้วย ซึ่งทางผู้ว่าฯ กทม.ก็ตอบตกลงและบอกว่าจะจัดการให้ ซึ่งทางผู้ว่าฯ กทม.เองก็ออกมาให้สัมภาษณ์ในเวลา 23.00 น.เศษ และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะมาโยนกัน แต่เป็นเรื่องร่วมกันทำงาน เพราะถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน แม้หน้าที่จริงๆ แล้วเป็นของ กทม. แต่รัฐบาลก็จะนิ่งเฉยไม่ได้ ปัญหาเรื่องนี้ที่เกิดขึ้นจะต้องใช้การประนีประนอม คงจะต้องเยียวยาเป็นพิเศษ ตั้งครัวในทุกจุด ดูแลเรื่องเรือ สุขภาพ เพราะถือว่าคนเหล่านี้คือผู้เสียสละ
       
       ส่วนที่ชาวบ้านออกมาระบุว่าหากไม่ดำเนินตามข้อเรียกร้องก็จะปิดทาง ด่วนโทลล์เวย์นั้น ไม่มีอะไรไปกว่าการเจรจา และเชื่อว่าจะสำเร็จ และเราก็จะยอมให้รือถอนเพียงแค่นี้ เพราะทุกอย่างก็จะต้องดูข้อเท็จจริงด้วย และข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งประชาชนเหล่านั้นก็ไม่ใช่คนที่คิดร้ายต่อบ้านเมือง เพียงแต่เขาเป็นผู้ที่เดือดร้อน คนไทยด้วยกันอธิบายก็น่าจะเข้าใจด้วยกัน จุดดังกล่าวก็จะต้องยอมรับว่าเป็นจุดที่สำคัญ รวมถึง ส.ส.ในพื้นที่ก็จะต้องดูสภาพความเป็นจริงด้วย ซึ่งเราก็คงยอมให้รื้อถอนไปมากกว่านี้ไม่ได้แล้ว

 


 

มท.1 เตรียมส่งดีเอสไอสอบจัดซื้อถุงยังชีพ


 


 

วิปฝ่ายค้านยังไม่มีมติยื่นถอดรมต.ทุจริตถุงยังชีพ


สำนักงานบัญชีและธุรกิจ พี.เอ.แอล.,สำนักงานสอบบัญชี พีแอนด์อี
ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,จดทะเบียนธุรกิจ,วางระบบบัญชี

 

Tags : พิรุธจัดซื้อจัดจ้าง ปภ. แกะรอย บริษัทรับเหมา ถุงยังชีพ ส่งกลิ่น

view